เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
เด็กๆ ในยุคนี้เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นโลกยุคใหม่ที่มาพร้อมกับความรวดเร็วและสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลหรือติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ด้วยเพียงปลายนิ้วสัมผัสหน้าจอ แต่ในระยะหลังเรามักได้ยินข่าวเกี่ยวข้องกับความอันตรายของโลกอินเตอร์เน็ตที่นำพาความเสียหายมาถึงผู้ที่ไม่รู้เท่าทันกลโกงของผู้ไม่ประสงค์ดี ดังนั้นแม้แต่เด็กเล็กๆ เองก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัยและเพื่อให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีของน้องชั้น 3 ที่ได้เข้าร่วมการอบรมในหัวข้อ “เตรียมพร้อมท่องโลกไชเบอร์อย่างปลอดภัย” เป็นหัวข้อที่มาจากโครงการความร่วมมือจาก สกมช. และ Plato Alto Networks Thailand และถูกนำมาถ่ายทอดให้กับเด็กๆ โดยคุณแม่ฤทัยรัตน์ พัดฉวีวรรณ หรือแม่อุ๋ย ผู้ปกครองโรงเรียนเพลินพัฒนาของเรานี่เอง
ในการอบรมช่วงก่อนปิดภาคเรียนวิมังสา ปีการศึกษา 2566 เด็กๆ ชั้น 3 ได้เรียนรู้เนื้อหาสาระดีๆ หลายหัวข้อพร้อมการลงมือปฏิบัติ เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “เราใช้อินเตอร์เน็ตทำอะไรกันบ้าง และ อันตรายอย่างไรบ้าง” เว็บไซต์ แอพลิเคชั่น และเกมมากมายที่เด็กๆ รู้จักถูกฉายขึ้นจอ เรียกเสียงฮือฮาจากทุกคนได้เป็นอย่างดี
“แล้วรู้ไหมว่า…ใครแอบดูเราอยู่ ?”
เสียงฮือฮาเริ่มเงียบลง เมื่อเด็กๆ เริ่มไม่แน่ใจว่าในการเข้าเว็บไซต์หรือแอพลิเคชั่นที่ตัวเองชอบเหล่านี้ จริงๆ แล้วมีใครแอบคอยดูหรือขโมยข้อมูลของเด็กๆ ไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่
“ดังนั้น เราต้องระวังตัวเอง ไม่ให้แฮกเกอร์มาเอาข้อมูลไปได้!”
แฮกเกอร์ทำอะไรได้บ้าง แม่อุ๋ยเล่าให้เด็กๆ ฟังว่า แฮกเกอร์ไม่ได้อยู่แค่ในโลกอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างความวุ่นวายได้แม้แต่กับไฟจราจรบนถนน กล้องวงจรปิด และตู้ATM ดังนั้นเด็กๆ ต้องรู้วิธีรับมือกับผู้รายเหล่านี้ด้วยการเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องในการปกป้องข้อมูลของตัวเองบนโลกอินเตอร์เน็ต
กิจกรรมแรกที่เด็กๆ ได้ร่วมกันทำคือ การออกแบบชื่อ username และ password ของตัวเองในรูปแบบที่ถูกต้อง โดยเราไม่ควรใช้ข้อมูลส่วนตัวของตัวเองมาเป็นชื่อผู้ใช้งาน หรือ รหัสผ่าน ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิดใดๆ เมื่อคุณแม่ถามเด็กๆ ว่าเราควรเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยแค่ไหน เด็กๆ ก็พร้อมใจกันตอบเสียงดังฟังชัดว่า
“เปลี่ยนทุกวัน!!”
วิทยากรถึงกับหัวเราะออกมา เพราะว่าคงจะเป็นการเหนื่อยเกินไปหากเราจะต้องเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ทุกวัน แต่ก็ทำให้ได้เห็นถึงสปิริตการอยากป้องกันข้อมูลส่วนตัวของตนเองของเด็กๆ ชั้น 3
ต่อมาแม่อุ๋ย วิทยากรของเราก็ได้พาเด็กๆ เรียนรู้เกี่ยวกับมิจฉาชีพรูปแบบต่างๆ และลักษณะพฤติกรรมของคนเหล่านี้ โดยเฉพาะ ‘Groomers’ หรือคนที่ล่อลวงเด็กด้วยการเข้ามาตีสนิทให้เด็กตายใจเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ เพื่อให้เด็กๆ รู้จักสังเกตและระมัดระวังตัวจากคนลักษณะนี้
สุดท้ายก่อนจากกัน เด็กชั้น 3 ได้เรียนรู้และลงมือเขียนข้อตกลงการใช้งานออนไลน์สำหรับครอบครัว โดยเป็นข้อตกลงร่วมกันของเด็กๆ และ ผู้ปกครอง เพื่อให้การใช้งานโลกออนไลน์นั้นปลอดภัยมากขึ้นในระดับครอบครัว แต่ถึงอย่างไรเสีย ผู้ใช้งานโลกอินเตอร์เน็ตนั้นควรมีความรู้เพื่อป้องกันตัวเอง ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ และจะเป็นการดีที่สุด หากเราเรียนรู้เรื่องสำคัญเหล่านี้ตั้งแต่อายุยังน้อย
ขอขอบคุณแม่อุ๋ยและคณะวิทยากรที่ได้มามอบภูมิคุ้มกันจากโลกไซเบอร์แก่เด็กๆ ชั้น 3 เพลินพัฒนา
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 23 เมษายน 2567