แนวคิดและปรัชญา​

SCHOOL CONCEPT & PHILOSOPHY

ก้าว…พอ…ดี เพลินพัฒนา

ก้าว…พอ…ดี
เพลินพัฒนา

คือ ความเจริญงอกงามของชีวิตอย่างพอเหมาะพอดี มีกรอบที่ยืดหยุ่น แต่ไม่ติดยึดอยู่ในกรอบ สามารถคิดทะลุนอกกรอบ เพื่อการเติบโตอย่างงดงามบนรากฐานของความเป็นไทย

Plearnpattana_2.webp
Plearnpattana_4.webp
AnyConv.com__Plearnpattana_1.webp
Plearnpattana_8.webp
Plearnpattana_9.webp
Plearnpattana_7.webp
Plearnpattana_3.webp
Plearnpattana_5.webp
Plearnpattana_6.webp

สัญลักษณ์

สีพื้นหลักของงานจิตรกรรมไทย เพื่อสื่อถึงความเป็นไทย ก้าวพอดี…ก้าวย่างที่งอกงามบนทางสายกลาง สื่อด้วยลายเส้นรูปแบบไทย ส่วนปลายทะลุออกนอกกรอบที่ยืดหยุ่น​

หลักสูตรและแนวการสอน

โรงเรียนเพลินพัฒนาเป็นโรงเรียนที่มีวิธีการจัดการเรียนรู้ และจัดหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม มีพื้นฐานความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี มีศักยภาพในการประยุกต์ใช้และต่อยอดความรู้ได้ตามความสนใจ มีความสามารถในการจัดการงานของตนได้ดี มีทักษะที่จำเป็นต่อโอกาสในการประสบความสำเร็จในชีวิต รวมถึงมีทักษะที่สำคัญๆ เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่น พร้อมที่จะเผชิญกับความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตอย่างมีความสุข

เด็กๆ ควรได้เรียนรู้และพัฒนาไปตามธรรมชาติแห่งช่วงวัย
โรงเรียนจึงมีหลักคิดในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนแต่ละช่วงชั้น คือ

เด็กๆ ควรได้เรียนรู้และพัฒนาไปตามธรรมชาติแห่งช่วงวัย
โรงเรียนจึงมีหลักคิดในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนแต่ละช่วงชั้น คือ

สนุก...ในวัยอนุบาล

สนุก
ในวัยอนุบาล

ชวนสืบค้น...ในวัยประถม

ชวนสืบค้น
ในวัยประถม

ท้าทายศักยภาพ...ในวัยมัธยม

ท้าทายศักยภาพ
ในวัยมัธยม

นำหลักธรรมสร้างวิถีการเรียนรู้
การจัดแบ่งช่วงเวลาในแต่ละปีการศึกษา

โรงเรียนเพลินพัฒนาจัดเวลาให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ 40 สัปดาห์ต่อ 1 ปีการศึกษา หลักคิดในการจัดภาคการศึกษา 4 ภาค

รอบการเรียน 10 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสร้างกระบวนการเรียนรู้หรือโครงงานที่มีความกระชับ รัดกุม และยังสามารถขยายผลเป็นกระบวนการหรือโครงงานใหญ่ โดยการผนวกกระบวนการเรียนรู้หรือโครงงาน เป็น 2 ภาค 3 ภาค หรือ 4 ภาค ได้ตามความเหมาะสม

รอบการเรียน 10 สัปดาห์ ทำให้นักเรียนได้มีการประมวล สรุป สังเคราะห์ การเรียนรู้ได้เร็วขึ้น สามารถประสบ ความสำเร็จในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้เร็วขึ้น เกิดกำลังใจและได้ชื่นชมในความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น การประเมินผลพัฒนาการนักเรียนก็มีความถี่มากขึ้น

‘การพัฒนานักเรียนจาก 3 ฝ่าย คือ โรงเรียน นักเรียน และบ้าน ก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น’

รอบการทำงานของครูและบุคลากรที่สั้นลงจะทำให้ระบบการวิจัยและพัฒนาในการทำงานมีความกระชับ รัดกุม และมีประสิทธิภาพสูงในการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง องค์กร และแผนการทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลโดย ตรงต่อพัฒนาการของนักเรียน

นอกจากนี้ ชื่อภาคทั้ง 4 ยังได้นำแนวคิดมาจากหลักธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่า “อิทธิบาท ๔ “ หลักธรรมอันเป็นรากฐานแห่งความสำเร็จ ที่โรงเรียนได้นำมากำหนดไว้เป็นหลักการและเป้าหมายการเรียนการสอนในแต่ละภาคเรียน เพื่อการจัดบรรยากาศ การจัดตารางการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ และการวางเป้าหมายกว้างๆ ของการพัฒนานักเรียนในแต่ละภาค ให้ร้อยเรียง สอดประสานกันอย่างมีเอกภาพตลอดปีการศึกษา

ช่วงชั้นอนุบาล – ช่วงชั้นที่ 2

แบ่งปีการศึกษาออกเป็น 4 ภาค ภาคละ 10 สัปดาห์ ซึ่งมีชื่อภาคและช่วงเวลาเปิด-ปิดภาค ดังนี้

ภาคที่ 1

ภาคฉันทะ

จะเปิดราวต้นสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม และปิดราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม

พฤษภาคม - กรกฎาคม

ภาคที่ 2

ภาควิริยะ

จะเปิดราวสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม และปิดราวต้นเดือนตุลาคม

กรกฎาคม - ตุลาคม

ภาคที่ 3

ภาคจิตตะ

จะเปิดราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม และปิดราวสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม

ตุลาคม - ธันวาคม

ภาคที่ 4

ภาควิมังสา

จะเปิดราวสัปดาห์ที่ 1 หรือ 2 ของเดือนมกราคม และปิดราวกลางเดือนมีนาคม

มกราคม - มีนาคม

ช่วงชั้นมัธยม

แบ่งปีการศึกษาออกเป็น 2 ภาค ภาคละ 20 สัปดาห์ ซึ่งมีชื่อภาคและช่วงเวลาเปิด-ปิดภาค ดังนี้

ภาคที่ 1

ภาคฉันทะ - ภาควิริยะ

จะเปิดราวต้นสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม และปิดราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม

พฤษภาคม - ตุลาคม

ภาคที่ 2

ภาคจิตตะ - ภาควิมังสา​

จะเปิดราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม และปิดราวสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม

ตุลาคม - มีนาคม