เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
โรงเรียนเพลินพัฒนาให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและคุณครูจากโรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่นกว่า 180 คน เข้าเยี่ยมชมบรรยากาศของโรงเรียน และร่วมสังเกตการณ์การเรียนการสอนในช่วงชั้นประถม และมัธยมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ที่ผานมา โรงเรียนของเรารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน
“ เพลินพัฒนา โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาล ประถม ต่อยอดจนจบมัธยม เรามีการขยายห้องเรียนประถมมากขึ้น ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 1,400 คน โรงเรียนทางเลือกในแบบเพลินพัฒนา (Alternative School) จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่น เพื่อให้บรรลุสิ่งที่โรงเรียนต้องการ ทั้งหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และการประเมินผล ทำอย่างไรจึงจะสร้างเด็กที่มีคาแรคเตอร์ที่ต้องการได้โดยไม่เกินกำลังครู ได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย ที่นี่ไม่มีห้องเรียน Ep หรือห้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเราเชื่อว่าเด็กทุกคนควรมีโอกาสได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเท่าเทียมกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังช่วยเป็นครูผู้สอน ช่วยทำกิจกรรมชมรม และกิจกรรมต่างๆ เราต้องการให้โรงเรียนของเรามีการส่งต่อแรงบันดาลใจ และมีบรรยากาศของความมีชีวิตชีวา ”
“ เพลินพัฒนา โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาล ประถม ต่อยอดจนจบมัธยม เรามีการขยายห้องเรียนประถมมากขึ้น ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 1,400 คน โรงเรียนทางเลือกในแบบเพลินพัฒนา (Alternative School) จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่น
เพื่อให้บรรลุสิ่งที่โรงเรียนต้องการ ทั้งหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และการประเมินผล ทำอย่างไรจึงจะสร้างเด็กที่มีคาแรคเตอร์ที่ต้องการได้โดยไม่เกินกำลังครู ได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย ที่นี่ไม่มีห้องเรียน Ep หรือห้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเราเชื่อว่าเด็กทุกคนควรมีโอกาสได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเท่าเทียมกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังช่วยเป็นครูผู้สอน ช่วยทำกิจกรรมชมรม และกิจกรรมต่างๆ เราต้องการให้โรงเรียนของเรามีการส่งต่อแรงบันดาลใจ และมีบรรยากาศของความมีชีวิตชีวา ”
บางช่วงตอนจากการสะท้อนของ คุณทนง โชติสรยุทธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของท่านอาจารย์หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยาที่ว่า
“ พ่อแม่ก็สำคัญ มีส่วนที่จะจรรโลงลูกในฐานะครูแน่นอน ช่วยคนละไม้คนละมือ ปัจจุบันพ่อแม่เป็นหุ้นส่วนกับครู ไม่ใช่เป็นแต่ผู้อุปถัมภ์ ช่วยให้เด็กกล้า และดีได้ถึงขีดสุดศักยภาพของตน ”
นอกจากนี้ทางคณะดูงานยังได้ร่วมสะท้อนคิด หลังจากได้ร่วมสังเกตการณ์ชั้นเรียน สอบถามถึงการวัดและประเมินผล รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักเรียน ซึ่งคณะดูงานรู้สึกประทับใจมากหลังจากได้ชมวิดีโอแนะนำโรงเรียนภาษาอังกฤษ
ขณะเดียวกันเรายังได้เรียนรู้วิถีปฏิบัติจากเพื่อนครูชาวญี่ปุ่น การให้เกียรติ การแสดงความเคารพ ความนอบน้อม รวมถึงความมีระเบียบวินัยที่สัมผัสได้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ ที่มีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็รู้สึกประทับใจในมิตรไมตรี นับเป็นช่วงเวลาดีๆ ที่มีคุณค่า และมีความหมาย