เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
การลงพื้นที่เรียนรู้ “นาลุงพวง สุขเกษม” ท้องทุ่งนาศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร พาให้เด็กๆ ชั้น 2 ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตชาวนาได้แจ่มชัด ตั้งแต่การการดำนาปลูกข้าว ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวนา เช่น การทำขวัญข้าว การทำขนมไทยจากวัตถุดิบที่หาได้ในพื้นที่ ทั้งยังได้เรียนรู้พืช สัตว์ และสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศนาข้าว รวมทั้งการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ประสบการณ์ที่เด็กๆได้รับจากการไปภาคสนามคือคลังข้อมูลสำคัญให้เด็กๆได้นำไปประกอบการทดสอบสมมติฐานงานวิจัยของตนเองประจำภาคเรียนวิริยะนี้ด้วย
“ การดำนา ” คือช่วงเวลาที่เด็กๆทุกคนรอคอย แม้จะมีกลัวๆกล้าๆ แต่ก็มีสายตาของความอยากลองอยากรู้อยู่ไม่น้อย เด็กๆ หลายคนกลับมาเล่าอย่างสนุกสนานว่าก่อนลงในนาข้าวก็รู้สึกกลัวว่าในโคลนจะมีตัวอะไรหรือไม่ จะเดินได้หรือเปล่า ต้องทรงตัวให้ดีเพราะอาจล้มหรือลื่น ถึงแม้จะมีความยากในการดำนาอยู่บ้าง เด็กๆ ก็สนุกสนานกับกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก
ข้อควรระวังและการปฏิบัติ ที่ลุงพวงได้ย้ำกับเด็กๆ
เหยียบ : ระวังการเหยียบต้นข้าวที่เราปักดำลงไปในดินแล้ว ขณะก้าวเดิน ต้องใช้สายตาคอยมองดูว่า มีต้นข้าวอยู่หรือไม่ และดำนาอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้ต้นข้าวขึ้นมาอย่างสวยงาม และใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า
ถอย : การดำนา จะเป็นการปักดำ และเดินถอยหลังไปเรื่อยๆ โดยชาวนาต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะได้ไม่เหยียบต้นข้าวที่ ปักดำแล้ว
ลอย : การปักต้นข้าวลงในดิน ต้องปักให้ลึกพอสมควรเพื่อรากของข้าวจะได้เจริญเติมโตอย่างเต็มที่ หากต้นข้าวลอยขึ้นมา ต้นข้าวก็จะไม่โต ทำให้การปลูกข้าวในครั้งนั้นไม่สำเร็จ
ภาคสนามนอกสถานที่ครั้งแรกของเด็กๆชั้น 2 หลังเผชิญสถานการณ์โควิดกันมา ไม่เพียงเด็กๆ ที่ตื่นเต้น คุณพ่อ คุณแม่ รวมไปถึงคุณครูผู้จัดกิจกรรมก็พลอยตื่นเต้นไปด้วย ตลอดการออกภาคสนามเด็กๆ สามารถบันทึกการเรียนรู้ผ่านตัวอักษร และการวาดภาพออกมาได้ตรงตามหัวข้อที่ตนเองเรียนรู้ การได้เห็นพื้นที่การทำนาจริง ทั้งยังได้ดำนาปลูกข้าวช่วยสร้างภาพจำให้เด็กๆได้อย่างไม่มีวันลืม
ขอขอบคุณ คุณลุงพวง สุขเกษม และครอบครัว ที่ช่วยสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ นะคะ
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 27 กันยายน 2565