เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
“ห้องเรียนเลขที่ไม่น่าเบื่อ” วัยเด็กของใครหลายๆ คนที่เคยผ่านบทเรียนคณิตศาสตร์ที่ยุ่งยาก การบวกเลขด้วยวิธีต่างๆ อาจไม่ง่ายนักสำหรับการเริ่มต้นเรียนเลข ยิ่งคนที่ไม่ชอบ ก็ยิ่งทำให้ไม่อยากเรียน วันนี้พามาสนุกกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ผ่านการ “ร้อยมาลัย” ที่ช่วยฝึกกระบวนการคิด การสร้างประโยคสัญลักษณ์ เพื่อนำไปต่อยอดในบทเรียน
“นักเรียนคิดว่าพวงมาลัยพวงนี้ใช้ดอกไม้กี่ดอก”
คำถามง่าย ๆ ช่วยกระตุ้นให้เด็ก ๆ พากันยกมือตอบ เด็กๆ สนุกกับการได้ตอบคำถามและสนุกกับการได้แลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ที่ตนเองได้เรียนรู้มากับเพื่อนๆ การตั้งคำถามในการเรียนเรื่องการบวกกับการทำกิจกรรม “ร้อยมาลัย” ทำให้เด็ก ๆ สามารถเข้าใจในบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
“กิจกรรมการร้อยมาลัย” ยังนำพาคณิตศาสตร์เข้ามาสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเด็กๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นการคิดจากการได้ลงมือทำ ได้รู้จักการบวกแบบเพิ่ม คือ มีอยู่แล้ว นำจำนวนมาเพิ่ม ทำให้ปริมาณมากขึ้น โดยคุณครูมีดอกไม้จำนวนแตกต่างกัน 2 ชนิด ดอกกุหลาบจำนวน 2 ดอก และดอกรักจำนวน 8 ดอก หลังจากที่เด็ก ๆ ร้อยมาลัยเป็นพวงเรียบร้อยแล้วได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้างบอกจะนำไปให้คุณยาย บางคนจะนำไปไหว้พระ คุณครูสอดแทรกคุณค่าความดี ความงามเข้าไว้ในวิถีชีวิตผ่านบทเรียนเลขไปพร้อมกัน
“จากกิจกรรมพิเศษสู่บทเรียนหลักภายในชั้นเรียน” หลังเด็กๆ ได้ทำกิจกรรมการ “ร้อยมาลัย” คุณครูให้เด็กๆลองคาดเดา “นักเรียนคิดว่าวันนี้เราจะเรียนเกี่ยวกับอะไรกัน” เด็กๆ ตอบได้อย่างไม่ลังเลเรื่อง “การบวกเพิ่มนั่นเอง” เด็กๆ สามารถเชื่อมโยงหลักคิดที่ได้จากการร้อยมาลัยมาสู่โจทย์รูปปลาที่อยู่ในตู้จำนวน 6 ตัว และในโหลจำนวน 2 ตัว ซึ่งใช้หลักคิดการบวกแบบเพิ่ม “นักเรียนคิดว่ามีปลาทั้งหมดกี่ตัว” แน่นอนว่าเด็กๆ สามารถตอบคำถามได้ผ่านวิธีคิดที่หลากหลาย ทั้งการวาดบล็อคใช้การบวกแบบเพิ่ม วาดปลาทั้งหมดแล้วใช้การนับ มากไปกว่านั้นคือความเข้าใจ มองเห็นภาพการเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
บทความโดย
คุณครูสุนิสา บุญชม (ครูน้อง)
“ทุกย่างก้าวคือการเรียนรู้ ทุกการเรียนรู้คือการเติบโต”
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2566