เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
กล่าวได้ว่าไส้เดือนคือตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ในพื้นที่ ไม่ชอบสารเคมี และเป็นผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ หลังจากที่เด็กๆได้เคยทำความรู้จักกับไส้เดือนมาบ้างแล้ว วันนี้คุณครูพาเด็กๆลงลึกกับความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ นี้ ผ่านฐานกิจกรรมสนุกๆ เริ่มต้นจากรับชมวิดีโอ และสไลด์ความรู้
.
“ผ่านภาพวาด ผ่านเรื่องเล่า ผ่านการเขียนบอกค่ะ / ครับ… “ เด็กๆช่วยกันสะท้อน
.
คุณครูเปิดภาพชิ้นงานเกี่ยวกับเรื่องราวของไส้เดือน ชวนนักเรียนสังกตและพูดคุยจากภาพ ให้นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับไส้เดีอนกับระบบนิเวศ นอกจากนี้เด็กๆยังได้รู้จักสายพันธุ์ไส้เดือนที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ วงจรชีวิต และประโยชน์ของไส้เดือน ต่อจากนั้นคุณลงุจุ๋ม เจ้าหน้าที่ อป. ของโรงเรียนได้มาให้ความรู้ในการเลี้ยงไส้เดือนและสาธิตวิธีการผสมดินเข้ากับส่วนประกอบอื่นๆ ทั้งมูลวัว ขุยมะพร้าว น้ำ เพื่อ่ใช้ในการสร้างบ้านให้ไส้เดือนด้วย เมื่อเจ้าไส้เดือนมีบ้านพร้อมแล้ว ก็ถึงเวลาที่เด็กๆจะได้ทดลองเลี้ยงไส้เดือนดูบ้างโดยตั้งต้นกับคำถามที่ว่า ไส้เดือนช่วยย่อยเศษผักและผลไม้ให้ลดลงได้มากกว่าปล่อยเอาไว้เฉยๆ จริงหรือไม่ ?
.
จากนั้นจึงทดลองปล่อยเศษผักลงในกระถางที่มีไส้เดือน และไม่มีไส้เดือน เป็นระยะเวลา 5 วัน แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง หลังจบการทดลองนี้เด็กๆ คาดเดาว่ากระถางที่มีไส้เดือนเศษผักจะลดลงและมีมูลไส้เดือนเพิ่มขึ้น … จริงหรือไม่… ต้องรอสังเกตและบันทึกผลการทดลอง
.
โดยส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565