ห้องเรียนพ่อแม่ : “การอ่าน” โลกที่ 2 ของชีวิตและการนำพาสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง

ห้องเรียนพ่อแม่ “พ่อแม่เพลิน…เรียนรู้” ครั้งที่ 4 ระดับชั้น 1 ปีการศึกษา 2566

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมเพลินพัฒนา โรงเรียนเพลินพัฒนา

หัวข้อ “การอ่าน” โลกที่ 2 ของชีวิตและการนำพาสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง

วิทยากรโดย หมอแพม – พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี (เจ้าของเพจ “หมอแพมชวนอ่าน”) และ ครูใบปอ – อ้อมขวัญ เวชยชัย ผู้ก่อตั้งโรงแรม Cream โรงแรมมหัศจรรย์

สรุปสาระสำคัญในช่วงที่ 1

หมอแพม – พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี (เจ้าของเพจ “หมอแพมชวนอ่าน”)

พัฒนาการของเด็กในวัย 6 – 11 ปี

Cognitive ความฉลาด

  • มีความสนใจหลากหลาย และทำได้พร้อม ๆ กัน เช่น ขณะทำกิจกรรมสามารถฟังสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้
  • สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยความรู้สึก
  • เข้าใจคุณค่าของจำนวนเชื่อมโยงผ่านภาพได้
  • การสะท้อนคิด และการให้เหตุผล สามารถตระหนักรู้ได้ด้วยตนเอง

Social- emotional  ทักษะทางสังคม และอารมณ์

  • มีความมั่นใจ รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง
  • คบกับเพื่อนเพศเดียวกันตามลักษณะของตัวตน
  • การเผชิญปัญหา และการรับมือกับอารมณ์
  • ด้านจริยธรรม สามารถเข้าใจศีลธรรมในสังคมได้ สามารถเข้าใจเรื่องที่ยากและซับซ้อนได้
  • เพื่อนเป็นสิ่งสำคัญ เป็นที่พึ่งพิงทางใจได้ เลือกเพื่อนที่น่าไว้ใจ
  • เพื่อนที่เข้ากันจะนำพามาซึ่งการเป็นเพื่อน”
  • ให้ความไว้ใจและให้คำปรึกษาเสมอเมื่อลูกมาปรึกษาเรื่องเพื่อน

สถานการณ์ปัญหาตัวอย่าง

  • “หากลูกพูดถึงคนอื่นด้วยคำพูดที่ไม่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร”
  • ถามสิ่งที่เกิดขึ้น ให้เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง และฟังอย่างตั้งใจไม่ตัดสิน
  • ชวนสะท้อนคิด ถามเหตุผลให้อธิบาย
  • ถามความรู้สึก และรับฟังอย่างเข้าใจ ไม่ตัดสิน
  • อย่าพึ่งด่วนปลอบใจ ให้ฟังลูกอย่างตั้งใจตั้งแต่ต้นจนจบ
  • “ เราจะเปิดประเด็นคุยกับลูกอย่างไร ?”

ใช้หนังสือเป็นสื่อ เพื่อแทรกซึมคุณค่าผ่านเรื่องราวในหนังสือ

ตัวอย่างหนังสือ ชื่อเรื่อง ทำไมฉันถึงรู้สึกอย่างนี้นะ

ให้เขาได้ทบทวนความรู้สึกจากตัวอย่างเหตุการณ์ที่หลากหลายที่ได้พบในหนังสือ

และสุดท้ายเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ว่า…

  • Self – control เนื้อหาที่อยู่ในหนังสือ
  • สามารถเรียนรู้กระบวนการทางความคิดของมนุษย์ผ่านเรื่องราวได้
  • เด็ก ๆ จะสามารถควบคุมตนเอง และสะท้อนคิด เรียนรู้ผ่านเรื่องราวในหนังสือได้อย่างแนบเนียน

          ดังนั้น หนังสือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เขาได้เรียนรู้ทักษะทางความคิด ภาวะอารมณ์ และการแก้ปัญหาความรู้สึกด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถสอนเขาได้โดยไม่ตัดสินแต่ให้เขาได้หาคำตอบผ่านการอ่าน

Self-esteem Attachment

Metacognition – ความคิดอย่างละเอียดลึกซึ้งของมนุษย์ (ฉันรู้…ว่าฉันคิด)

Coping – การเผชิญปัญหา และ การจัดการอารมณ์ของตนเอง

Empathy –  หนังสือช่วยในเรื่องมิติด้านความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง

ตัวอย่างหนังสือ นิทานเสนอการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย ชื่อเรื่อง หนูนิดไม่อยากแปรงฟัน

  • กระตุ้นเด็กด้วยความกลัว และเด็ก ๆ จะเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
  • นิทานที่เสนอมุมมองความกลัว จะกระตุ้นความรู้สึกให้เกิดแรงกระทำ และ ความสุขก็สามารถทำให้เกิดแรงกระทำได้เช่นกัน แต่ต้องทำในระยะยาว
  • ในเรื่องที่จำเป็น ความกลัวสามารถกระตุ้นเด็ก ๆ ได้ดี แต่ในบางเรื่องอาจให้เหตุผลพูดคุยกันได้

ส่วนประกอบของการอ่าน

การอ่าน กับ การสะกดคำ ไม่เหมือนกันแต่สุดท้ายจะนำไปสู่การเข้าใจ “ความหมาย”

ทำไมเราถึงอ่านออกแต่ไม่เข้าใจ?

  • ความเข้าใจไม่ได้มาจากการสะกดคำ แต่เกิดจากประสบการณ์ที่หลากหลาย เมื่อเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ สามารถดึงประสบการณ์เก่ามาใช้ได้ เป็นการสะสมประสบการณ์อย่างหลากหลายไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สุด
  • การอ่าน เป็นการสะสมประสบการณ์ ที่มีค่ามากกว่าการสะสมทรัพย์ เราเรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของคำผ่านการได้ยินคำนั้นบ่อย ๆ
  • ความงดงามทางภาษาที่เกิดขึ้นการอ่านนิทาน ไม่ได้เป็นคำที่เกิดขึ้นจริงในการใช้ชีวิต ดังนั้น ลูกจึงจำเป็นต้องสะสมประสบการณ์ และสะสมคลังคำผ่านการอ่าน
  • การอ่านสะกดคำอาจยังไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในตอนนั้น แต่สิ่งสำคัญ คือ เด็ก ๆ ต้องเข้าใจและเกิดการตีความ
  • การอ่านให้ฟังเป็นเรื่องที่พิเศษ อาจไม่ต้องเลิกอ่านให้ฟังเมื่อลูกสะกดคำได้แล้ว เพราะชั่วโมงการอ่านเป็นช่วงเวลาในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว หนังสือในแต่ละหน้ามีเรื่องราวต่าง ๆ มากมายที่คุณพ่อ คุณแม่สามารถชวนลูกพูดคุยได้
  • หากเด็ก ๆ มีประสบการณ์เยอะจะสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว

“ช่องว่างที่ไม่มีวันตามทัน”

          คำศัพท์ที่เด็กรู้อยู่แล้ว จะเป็นตัวกำหนดว่า เขาจะเข้าใจที่ครูพูดมาก น้อยแค่ไหน

          เด็กจะมีทัศนคติและพฤติกรรมการอ่านเหมือนกับพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่อ่านหนังสือเพื่อความบันเทิง ลูกก็จะทำสิ่งเดียวกัน

“สัจธรรมเกี่ยวกับการอ่าน”

มนุษย์จะทำสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขซ้ำๆ

ㆍการอ่านเป็นทักษะที่เพิ่มพูนได้

ㆍดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อให้เด็กที่เราเลี้ยงดู อ่านออกเขียนได้ คือ สอนให้พวกเขาอ่าน และแสดงให้เค้าเห็นว่าการอ่านเป็นกิจกรรมที่มีความสุข

สรุปสาระสำคัญในช่วงที่ 2

ครูใบปอ – อ้อมขวัญ เวชยชัย ผู้ก่อตั้งโรงแรม Cream โรงแรมมหัศจรรย์

กิจกรรม เล่านิทาน TIBO

กิจกรรมพิพิธภัณฑ์ข้าวของประหลาดแห่งโรงเรียนเพลินพัฒนา

“ถ้าจะชวนกันมองให้ลึกลงไป หัวใจของนักอ่านอาจเริ่มต้นจาก หัวใจที่หลงใหลในเรื่องเล่า”

  • หัวใจของนักอ่าน ไม่ใช่หัวใจของเด็กที่ชอบอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว หัวใจนักอ่าน คือหัวใจที่หลงใหลในเรื่องเล่า ชอบที่จะสำรวจ ฟังเรื่องเล่า
  • เรื่องเล่า สามารถทำให้มหัศจรรย์มากขึ้น เช่น มีเสียงดนตรี มีตุ๊กตา หรือเล่าผ่านเสียงที่ตื่นเต้น ทำให้ช่วงเวลาของการอ่านเป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์ที่สุดสำหรับเด็ก เพื่อให้เขาอยากกลับมาหาช่วงเวลานี้เสมอ เพราะว่าเด็กชอบเรียนรู้ผ่านความมหัศจรรย์อยู่ตลอดเวลา
  • เด็ก ๆ ชอบเรียนรู้ผ่านการสำรวจ เรียนรู้ผ่านการสังเกต และพยายามทำความเข้าใจ ตีความสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

ดังนั้น…. ต่อให้เด็กที่เล็กที่สุดก็มีความหลงใหลในเรื่องเล่า และชอบเล่าเรื่องได้

ความมหัศจรรย์กับการเรียนรู้

‘ความมหัศจรรย์’ เป็นสารตั้งต้น เป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับเรื่องเล่าในหัวใจเด็กๆ มากมาย

เด็ก ๆ ชอบเรียนเรียนรู้ผ่านการสำรวจ และเรียนรู้ผ่านการสังเกต และทำความเข้าใจตีความสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และเด็ก ๆ ยังสามารถ… เล่าเรื่องราวผ่าน ร้อยภาษา ของตนเอง

                       หากไม่สามารถเขียนได้เด็กๆ จะมีความเข้าใจทางภาษาของตันเอง เช่น เล่าเรื่องราวผ่านการปั้น หรือการวาด ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้คุณค่ากับการสื่อสารของเด็ก ๆ

ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจกับ ‘ธรรมชาติของเด็ก’ เพื่อทำงานกับ ‘พลังความกระหายใคร่รู้’ ที่เด็ก ๆ มีอยู่แล้วในเนื้อในตัวเพื่อสร้างหัวใจที่รักในการอ่านอย่างยั่งยืน

การอ่าน ควรเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ

การอ่าน เกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง

มองไปทางไหนก็ อ่าน ได้เสมอ

                   …. เด็ก ๆ จะอยากอ่านได้เมื่อเราสื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน ….

การสะสมคลังคำจากการอ่าน จะทำให้เด็ก ๆ

มีประสบการณ์คลังคำที่หลากหลายและน่าสนใจ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดการเรียนรู้

หลังจบห้องเรียนพ่อแม่ในวันนี้ ทางโรงเรียนเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกท่าน จะได้รับความรู้ สาระดีๆ และประโยชน์ ที่สามารถนำไปต่อยอด และปรับใช้กับบุตรหลานของตนไม่มากก็น้อย สิ่งสำคัญคือการได้ตระหนักอย่างแท้จริงว่า “การอ่าน” นั้นเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ เป็นดั่งโลกใบที่ 2 ของเขา ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง พัฒนา และเติบโตอย่างสมบูรณ์

แล้วพบกันอีกครั้งในห้องเรียนพ่อแม่ครั้งต่อไป

——————–

ประมวลสรุปความรู้จากห้องเรียนพ่อแม่ โดย

ทีมคุณครูภูมิปัญญาภาษาไทยชั้น 2

  • ครูกิ๊ฟ จิตตินันท์ มากผล
  • ครูเป้ ทยาภา ฆารบุญ
  • ครูดาว วิลาวัณย์ คลังทอง

โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2566