เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
“ชีวิตสัมพันธ์”
แนวคิดภาคสนามชั้น 1 ในภาคเรียนจิตตะ 2566
พาเด็กๆ เรียนรู้เรื่องราวชีวิตพืชและสัตว์ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ณ แหล่งเรียนรู้ใน จังหวัดสมุทรปราการ และ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเวลา 2 วัน 1 คืน
โครงการลำพูบางกระสอบ (รักษ์คุ้งบางกะเจ้า) จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์อันเกิดจากการสะสมของดินตะกอนแม่น้ำ ทำให้สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยพืชหายาก และพืชพรรณกว่า 110 ชนิด นอกจากนี้ยังมีการทำแปลงวนเกษตร เพื่อเป็นแหล่งอาหารของชุมชน เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์พืชเดิมให้คงอยู่ และพืชที่เคยสูญหายจากพื้นที่ได้กลับคืนมาอย่างยั่งยืนเด็กๆ ได้เรียนรู้พืชพรรณในสวนลำพู อาทิ ต้นเกด พืชเด่น โกงกาง ลำพู ต้นเหงือกปลาหมอ ตีนเป็ด อินทผลัม เต่าร้าง ต้นหวายลิง ต้นจามจุรี ต้นหูกวาง ต้นมันปู ต้นยอ สะเดา ขี้เหล็ก ฟ้าทลายโจร และชะพลู ทั้งยังได้เรียนรู้ ลักษณะ และส่วนต่างๆของต้นไม้ที่เป็นที่อยู่ของหิ่งห้อยด้วย
สวนสมดุล อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ และมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนได้เรียนรู้ สิ่งมีชีวิตมีการกินอยู่อย่างเกื้อกูลกัน เด็กๆได้เรียนรู้การพึ่งพาของพืชสวนกับสัตว์ เช่น ผึ้งจิ๋วนักผสมเกสร เรียนรู้การใช้ประโยชน์เพื่อการขยายพันธุ์หรือผสมพันธุ์พืช การเลี้ยงชันโรงเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงความสัมพันธ์ของสัตว์กับพื้นที่ เด็กๆสามารถนำความรู้จากภาคสนามมาต่อยอดงานวิจัยของตนเองเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าสู่การดูแลธรรมชาติ
การลงพื้นที่เรียนรู้ภาคสนามไม่เพียงความรู้ที่ได้ เด็กๆ ยังได้ฝึกทักษะการเขียนบันทึกในหลากหลายรูปแบบ ฝึกการกำกับดูแลตนเอง เคารพกติกาของการอยู่ร่วมกัน ก้าวข้ามอุปสรรคด้วยความมุ่งมั่น เพียรพยายามจนสำเร็จ และยังได้นำผลงานวิจัยไปแลกเปลี่ยนและนำเสนอแก่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำไปพัฒนางานวิจัยของตนเองด้วย
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 8 มกราคม 2567