เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กๆกับค่าย F1 in School
ในช่วงปิดภาคเรียนนี้ (7-11 ตุลาคม 2567 ) ทาง KX: Knowledge Exchange ได้มาจัดค่าย F1 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองรถแข่ง Formula 1 ขนาดจิ๋ว...
บรรยากาศงาน ชื่นใจ … ได้เรียนรู้ ภาคเรียนจิตตะนี้ นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ต่างเตรียมพร้อมสื่อนำเสนอ และพร็อพต่างๆกันมาอย่างดี และแบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกัน สามารถพูดนำเสนออย่างลื่นไหล ทั้งยังได้สะท้อนตัวตนผ่านการทำโครงงาน บอกเล่าจุดดี จุดด้อย และจุดที่ต้องพัฒนาปรับปรุง เมื่อต้องสลับเป็นผู้ฟังก็ตั้งใจฟังและตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์
การนำเสนอครั้งนี้ เด็กๆ ได้นำความรู้ในชั้นเรียน ร่วมกับการเรียนรู้ภาคสนามมาทำโครงงานวิจัยประจำภาคเรียนจากสิ่งที่เด็กๆ สนใจภายใต้โจทย์โครงงานแตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น โดยคุณครูชวนเด็กๆ ตั้งคำถามที่สงสัยก่อนจะตั้งสมมุติฐานเพื่อลองคาดเดาคำตอบ จากนั้นจึงหาข้อมูลเพิ่มเติม ลงมือทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน หลายๆเรื่องได้ผลตามที่คาดไว้ และบางเรื่องก็ยังไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน จากนั้นจึงทำการสรุปและอภิปรายผล เหตุใดจึงได้ผลเช่นนั้น โดยแต่ละระดับชั้นมีหัวข้อโครงงานวิจัยแตกต่างกัน
เด็กๆได้เรียนรู้เรื่อง โลกของสัตว์ มาตั้งแต่ภาคเรียน ฉันทะเรื่อยมาจนถึงภาคเรียนจิตตะ ได้เรียนรู้ภายใต้แนวคิด “โลกของสรรพชีวิต” เรียนรู้ลักษณะโครงสร้างร่างกายของสัตว์ที่ส่งผลต่อการเลือกดำรงชีวิตในพื้นที่ต่างๆ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเลือกพื้นที่เช่นนั้น ความสัมพันธ์ของสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ดิน บนดิน อากาศ ในน้ำ ที่มีต่อคน พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างงานวิจัยหนึ่งของเด็กๆ คือการเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำยุงลาย โดยเลือกปลาแต่ละชนิดที่สามารถกินลูกน้ำ ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลาเทวดา ปลาสอดแดง แล้วนำมาบันทึกผลการทดลองโดย
“นำปลาชนิดต่างๆ มาแข่งกันดูว่าปลาชนิดไหน กินลูกน้ำ ได้เร็วกว่ากัน” ไอเดียสร้างสรรค์นี้อาจต่อยอดไปสู่แนวทางใหม่ๆเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ผลดีอีกทางหนึ่งก็เป็นได้ สีสันของการนำเสนอยังอยู่ที่การแต่งตัวเป็นปลาชนิดต่างๆ ซึ่งยังคงความน่ารัก สดใส ในแบบฉบับเด็กๆ
เป็นการพัฒนาต่อยอดจากเมนูอาหารที่เพื่อนๆชื่นชอบ ซึ่งเด็กๆได้เก็บข้อมูลจากเพื่อนๆในห้องเรียน ว่ามีความชื่นชอบเมนูอาหารกลางวันชนิดใดบ้าง แล้วมาตั้งโจทย์งานวิจัยเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้มีสารอาหารครบถ้วน โดยผลิตมาจากวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้เด็กๆได้วางแผน และลงมือทำในการออกภาคสนามที่ผ่านมา ทั้งการไปดูแหล่งปลูกผัก ผลไม้ ณ แปลงเกษตรอินทรีย์ บ้านคลองโยง และนำหลักการที่ได้มา เลือกซื้อ ผัก เนื้อสัตว์และวัตถุดิบ ประกอบอาหารเป็นเมนูที่เพื่อนชื่นชอบ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหาร รสชาติถูกปากเพื่อนๆ เช่น
สปาเกตตี้คาโบนาร่า ปลาดอลลี่ผักสามสี เพราะในเมนูคาโบนาร่ไม่มีผัก จึงใส่บรอคโคลี่เมื่อลองทำออกมาแล้ว มีความเข้ากัน และกินได้ อร่อยด้วย
หมูผัดเปรี้ยวหวานผักกรอบ (ทอดเอง) พัฒนาเมนูนี้ให้มีสีสันน่ากิน และสารอาหารครบ 5 หมู่ ทั้งยังได้ความกรุบกรอบ ถูกปาก ถูกใจ
ไข่ตุ๋นอุด้งแฮมเห็ด เมนูไข่ตุ๋นเป็นเมนูที่ขาดแป้ง จึงเพิ่มเส้นอุด้ง และ ผักตำลึง เพื่อให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่
ในการนำเสนอครั้งนี้เด็กๆ สามารถบอกเล่าขั้นตอนของการเลือกซื้อวัตถุดิบรวมไปถึงวิธีการทำอาหารได้อย่างครบถ้วน
เป็นการนำประโยชน์จากพลังงานรูปแบบต่างๆ มาใช้ประโยชน์กับบ้าน หรือที่พักอาศัยของตนเอง อาทิพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานกล พลังงานความร้อน เด็กๆได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานทดแทน ที่สามารถนำมาตอบข้อสงสัยของตนเองและเพื่อนๆ ได้ เช่น
หม้ออบจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการ เปรียบเทียบหม้ออบสีดำ กับ สีขาว ว่าสีไหน จะสามารถอบ ผัก ผลไม้จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากว่า และ ดีกว่ากัน
การปลูกต้นไม้ในบ้าน เพื่อเพิ่มความเย็นให้กับบ้าน เป็นการประหยัดไฟฟ้าที่ต้องมาเปิดแอร์ หรือพัดลมในบ้าน
การทาสีบ้านโทนไหน ช่วยให้บ้านเย็นมากกว่ากัน
การตั้งสมมติฐานเหล่านี้เด็กๆได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากห้องเรียน และภาคสนาม ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคลอง เป็นการออกไปเรียนรู้ถึงต้นกำเนิดของพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย และได้รับประสบการณ์เรื่องพลังงานทดแทนแบบต่าง ๆ ผ่านการสังเกต การทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการวิจัยของตนเอง
ชื่นใจ…ได้เรียนรู้ครั้งนี้เด็กๆช่วงชั้นที่ 1 ได้นำเสนอให้กับคุณครูและเพื่อนต่างห้องฟัง บรรยากาศของการชมงานในช่วงชั้นที่ 1 จึงเต็มไปด้วยความสนใจไฝ่รู้กับชิ้นงานที่หลากหลาย อีกทั้งการแสดงของเด็กๆแต่ละคน แต่ละกลุ่มต่างก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2566