เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
ห้องเรียนพ่อแม่ “พ่อแม่เพลิน…เรียนรู้” ครั้งที่ 3 ปีการศึกษา 2566
วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมเพลินพัฒนา
หัวข้อ “Positive discipline ในวัยเรียนรู้ประถมต้น / จับมือเชื่อมใจ ด้วยวินัยเชิงบวก”
วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล)
ประวัติวิทยากร : รศ.ดรปนัดดา ธนเศรษฐกร นักวิจัย และนักการศึกษาในเรื่องกระบวนการเรียนรู้ สมอง จิตวิทยา และดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ศึกษาวิจัยเผยแพร่ความรู้เรื่อง 101s Positive discipline ร่วมทำการศึกษาวิจัยกับสถาบันพัฒนาสมองและพัฒนาศักยภาพเด็กด้วยวินัยเชิงบวก เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง Executive function รวมถึงการร่วมงานเพื่อพัฒนาเด็กกับสถาบันรักลูก
…
ในมุมของพ่อแม่ไม่ใช้ความรุนแรง คนที่โตแล้วจะไม่ตีกัน คนที่ยังไม่โตจะใช้การตี
คำถามแรก เรารู้จักตัวเองมากน้อยแค่ไหน / ฉันรู้จักตัวเองมากแค่ไหนกันนนนน ?
คำถามต่อไป ถามปุ๊บ ตอบปั๊บ
1. IOS Android 2. ข้าว ก๋วยเตี๋ยว 3. ดูหนัง ฟังเพลง
4. ปิ้งย่าง ชาบู 5. ล้างจาน รีดผ้า 6. หมา แมว
7. น้ำไม่ไหล ไฟดับ 8. แท็ปเลต โน๊คบุ๊ค 9. ถูกต้อง ถูกใจ
10. บ้าน คอนโด 11. จีน อเมริกา 12. หนู แมลงสาบ
13. เสียงดัง ความมืด 14. หน้าตา รูปร่าง 15. สายเปย์ สายย่อ
16. สวย/หล่อ ตลก 17. เหงา อกหัก 18. อกหัก รักไม่เป็น
19. จีบ โดนจีบ 20. มีลูก ไม่มีลูก
21. ฉันเป็นพ่อแม่สายไหน (สายโหด สายปล่อย สายฮา สายชิล สายตามใจ สายเสมอ)
22. ถ้าฉันเป็นลูกตัวเอง 1 วัน ฉันจะเจอกับอะไร
สรุปกิจกรรมการรู้จักตัวเอง มีทั้งคิดเร็ว คิดนาน ไม่อยากเลือก / เลือกไม่ถูก เช่นเดียวกับการเลี้ยงลูก เช่น การคิดเองเออเอง อยากได้ทั้ง 2 อย่างแต่ต้องเลือก เราอาจจะไม่ชอบทั้ง 2 อย่างแต่เราต้องเลือก ต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง “ฉันทำได้” จึงควรมีเทคนิคมาใช้ ไม่ใช้ความเชื่อ / ความจริง เพื่อเป็นพ่อแม่เชิงบวก “พ่อแม่เป็นบุคคลที่ไม่ยาก เราสามารถสร้างเองได้”
– คุณพ่อแลกเปลี่ยนว่า “ถ้าเป็นลูกคงอึดอัด เพราะไม่รู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ พ่อใช้วิธีการสะท้อน ซึ่งลูกอาจจะมองต่าง”
– คุณพ่อแลกเปลี่ยนว่า “เหมือนที่ตั้งคำถามว่าทำไมบางวันลูกนิสัยดี ทำไมบางวันพ่อเกเร น่าจะมีคำถามทั้งพ่อและลูกว่าคืออะไร (ลูกก็คงงง ๆ กับพ่อเช่นกัน)”
– คุณพ่อแลกเปลี่ยนว่า “อึ้งกับคำถามตอนแรก เหมือนเป็นการประเมินตนเองว่าเราทำดีแล้วหรือยัง”
*คำถามสะท้อนคิด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ครูหม่อมไม่อยากให้รู้สึกผิด เพราะสิ่งเหล่านี้ปรับกันได้ เช่น ถ้าเราสะท้อนว่าเรางงลูกก็จะงง แต่ถ้าเราสะท้อนให้เคลียร์ ลูกก็จะเคลียร์
…
มิติที่ 1 ตัวตน
มิติที่ 2 พัฒนาการ 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา
มิติที่ 3 EF
มิติที่ 2 พัฒนาการ 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา
– องค์ความรู้แรก เพื่อให้พ่อแม่ทำใจและยอมรับ (สามารถศึกษาในอินเทอร์เน็ตเพื่อดูพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุ) เช่น 9 ขวบ ลูกจะมีแฟน
– เด็กชั้น 1 สถานที่เปลี่ยน วิธีการเรียนรู้เปลี่ยน (เพื่อนใหม่ วิธีการใหม่) ลูกเกิดความขับข้องใจเป็นธรรมดา
– องค์ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะปรากฏข้อมูลอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1. เกณฑ์พัฒนาการ *ลูกจะทำได้ต้องสอนเท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอายุ*
2. ความเปลี่ยนแปลง เช่น ฮอร์โมน รูปร่าง ความสูง น้ำหนัก อารมณ์
หากลูก 6 ขวบโกรธพ่อแม่มาก แล้วลงไปดิ้นลง กรี๊ด และทำร้ายตัวเอง (คิดว่าพฤติกรรมนี้ปกติ ไม่ปกติ หรือไม่แน่ใจ
สรุปคือพัฒนาการนี้ปกติ แต่ลูกยังไม่มีทักษะ
แต่หากลูก 6 ขวบโกรธพ่อแม่มาก แล้วยืนหัวเราะ (ลูกไม่ปกติ)
1. การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้น *ข้ามขั้นไม่ได้*
2. การเปลี่ยนแปลงแต่ละขั้นมีระยะเวลา (วันไหนลูกทำไม่ได้ให้ลองใหม่ วันไหนลูกทำได้ให้ชื่นชม)
3. พัฒนาการขั้นแรกเป็นพื้นฐานของครั้งต่อไปเสมอ
*ลูกอยากเล่นกับพ่อแม่ แต่ลูกถูกปฏิเสธบ่อยครั้ง เช่น ยุ่งอยู่ ไม่ว่าเรายุ่งแค่ไหน ลูกมีเวลาให้เราเสมอ*
คุณพ่อแลกเปลี่ยนว่าสิ่งที่ทำถูกหรือไม่ “แม่กับลูกบ่นกันไปมา แต่ไม่มีผลลัพธ์อะไร” คุณพ่อจึงต้องเข้าไปเป็นอำนาจนิยม เช่น ทานยาเดี๋ยวนี้ ถ้า 1 – 5 ไม่ทาน จะเจออะไรบางอย่างกับพ่อ
-ครูหม่อมไม่สามารถฟันธงได้ว่าถูกหรือผิด ให้ดูผลลัพธ์ที่ตามมา ไม่ต้องติดใจอะไร
– การจะให้ลูกกินยา ให้ใช้การสื่อสารด้วยวิธีการที่ครูหม่อมกำลังจะสอน
ครูหม่อมยกตัวอย่าง ลูกกินเข้าไป 5 คำ แต่ลูกบอกว่าอิ่ม จะมีวิธีการอย่างไร
เช่น กินอีกนิดนะ อีก 5 คำแต่แกล้งนับผิด พ่อแม่อยากให้ลูกกินอิ่ม อยากให้ลูกโต แข็งแรง ซึ่งอาจจะมี 3 – 5 มื้อ ถ้าอยากให้ลูกกินข้าวให้หมด ใครต้องตักข้าว ? (ให้ลูกตักข้าวเพื่อให้คิดและกะประมาณ พร้อมทั้งให้ลูกเรียนรู้ เช่น ตักมากจะอิ่ม ตักน้อยจะหิวในมื้อถัดไป) พ่อกับแม่ยังตักข้าวให้ตัวเองไม่เท่ากัน แต่ตักข้าวให้ลูกเท่ากันทุกวัน !วงจรของลูกจะหมดไปในช่วงของวัยรุ่น
…
มิติที่ 1 ตัวตน (ตัวตน คือ ความรู้สึกนึกคิด)
1. ขั้นวัตถุมีอยู่จริง “พ่อแม่มีอยู่จริง”
2. ขั้นสร้างความผูกพันกับวัตถุ
3. ขั้นแยกตัวตนออกจากวัตถุ “ขั้นหนูมีอยู่จริง”
1. ขั้นวัตถุมีอยู่จริง “พ่อแม่มีอยู่จริง”
คือ ช่วง 6 เดือน ซึ่งวัตถุแรกที่เด็กต้องรู้ว่าวัตถุแรกมีอยู่จริง คือ แม่ที่มีอยู่จริงเช่น การมองหน้า สัมผัส ลิ้มรสนม เมื่อวางลูกลงแล้วเดินไปล้างขวดลม ลูกจะรู้สึกกำพร้า ไม่มีแม่ / หิวร้องไห้ กลัวร้องไห้ เห็นพ่อแม่ในสายตา ช่วง 6 เดือนเด็กหิวนม แต่เมื่อได้ยินหรือเห็นคุณแม่ จะหยุดร้องไห้แล้วรอได้ (เสียงนี้มา คือ เดี๋ยวแม่จะมาอุ้ม ปลอบประโลม ลิ้มรสนม)
2. ขั้นสร้างความผูกพันกับวัตถุ เกิดในช่วง 8 เดือน
3. ขั้นแยกตัวตนออกจากวัตถุ “ขั้นหนูมีอยู่จริง”
เกิดในช่วง 2 ขวบ รู้แล้วว่าพ่อแม่กับตนเองเป็นคนละคนกัน
✔ ความคิดเด็ก ตัวตนเด็ก ความสามารถของเด็ก พ่อกับแม่มีหน้าที่แค่บอกว่าอะไรได้ไม่ได้ อะไรควรไม่ควร
*จำมิติตัวตนเป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ เช่น การมีแฟน การทานข้าวครั้งแรก จากวันแรกที่ทานด้วยความระมัดระวัง/เรียบร้อย ซึ่งยังไม่มีอยู่จริง แต่หลังจากคบหากันจึงถึงขั้นมีแฟนมีอยู่จริง “เป็นตัวของตัวเอง”*
ที่บ้านเป็นครอบครัวใหญ่ ที่บ้านเหมือนโรงทาน อยากทานตอนไหนก็ได้ อยากทำอะไรก็มีคนทำให้ ทำให้มีกลุ่มคนที่รักเค้ามาก ๆ เค้าจะไม่ค่อยแคร์เท่าไหร่ จึงเกิดความสนใจมากเกินไป (Over) หรือไม่ ?
– ครูหม่อมตอบว่า ลูกฉลาดและเรียนรู้ว่าทำแบบนี้เค้าจะได้รับและทำเป็นวิธีการ เค้าเรียนรู้รูปแบบว่าทำแบบนี้แล้วมีตัวตน จึงไม่ใช่การ Over แต่แทนการตีแล้วมีวิธีอื่นไหม, ดูแลและให้วิธีการด้านอารมณ์
“วิธีการของพวกเรากำลังตัดสินว่าลูกเราจะใช้กลไกปกป้องตนเองจะเป็นนิสัย บุคลิกภาพ จึงควรปรับเปลี่ยนวิธี”
“พ่อแม่เป็นผู้ประคองไม่ใช่ผู้ปกครอง”
มิติที่ 3 EF “วิธีการสอนลูกด้วยวินัยเชิงบวก
*ทำอะไรซ้ำ ๆ จะเก่ง*
– EF คือ กระบวนการทำงานของสมองขั้นสูง ใช้กำกับความคิด กำกับอารมณ์ เพื่อไปสู่เป้าหมาย (การกำกับความคิด การกำกับอารมณ์)
– ครูหม่อมยกตัวอย่างการกินข้าว คือ เรากำลังจะฝึกเรื่องกินข้าวเป็นมื้อ กินข้าวให้หมด มีอะไรก็กินได้ “อิ่มกินน้อย หิวกินเยอะ อร่อยกินเยอะ ไม่อร่อยกินน้อย”
1. การตั้งเป้าหมาย (กินข้าวเป็นมื้อ กินข้าวให้หมด มีอะไรก็กินได้)
2. ให้มีวิธีการ คือ ให้ลูกตักข้าวเอง
– พ่อแม่ซีนเข้มงวด
– พ่อแม้ซีนปล่อย
– พ่อแม่ซีนแสดงความเข้าใจ (สื่อสารเชิงบวก) เช่น ไหวไหม? อีก 4 ชั่วโมงจะกินมื้อต่อไป ลองถามเจ้าท้องว่าไหวไหม ?
ถ้าพ่อแม่คิดแทนลูก EF สมองพ่อแม่จะดีมาก ทุกครั้งที่พ่อแม่คิดแทน เหมือนการขโมยโอกาสที่ลูกจะฝึกคิดเอง ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรคิดแทน ควรฝึกให้ลูกมี Self
คำถามครูหม่อม
“ลูกโตแล้ว พ่อแม่โตหรือยัง ?”
โจทย์ 1: หากเราเห็นลูกกำลังโกรธ แล้วตีเพื่อนจะเข้าไปพูดกับลูกว่าอย่างไร
1. ตีเพื่อนไม่ได้นะลูก เพื่อนเจ็บ
2. ตีเพื่อนทำไม
3. เกิดอะไรขึ้น เราทำร้ายคนอื่นไม่ได้นะ
4. อื่น ๆ
ทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มี 2 อย่างเกิดขึ้นเสมอ
1. อารมณ์ของเด็ก (ไม่ตีตราอารมณ์ของลูก) โฟกัสไปที่อารมณ์ก่อนแล้วค่อยสอนทีหลัง
2. พฤติกรรมของเด็ก (ตีตรา ตัดสินว่าเหมาะสม/ไม่เหมาะสม)
“ปลอบก่อน สอนทีหลัง”
…
พ่อ/แม่เข้าใจ + ชื่ออารมณ์ + พฤติกรรมที่แสดงออก
– เช่น พ่อแม่เข้าใจว่าหนูโกรธ หนูเลยตีเพื่อน.
– ใช้คำศัพท์กลาง ๆ
– ร้องไห้ อาจจะเกิดจากเสียใจ โกรธ ไม่ได้ดั่งใจ
ให้เราไปที่อารมณ์ของลูกก่อน เพราะนั่นคือ
การตอบสนองพื้นฐานทางจิตใจ
(หากนำสถานการณ์เป็นตัวตั้ง นั่นคือการสร้างการรับรู้)
1. ตั้งเป้าหมาย
2. ตั้งคำถาม
“ไม่สอนลูก เมื่อไม่พร้อม”
…
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2566