เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
เมื่อทีมคุณครูคณิตศาสตร์ ชั้น 3 เกิดแรงบันดาลใจจากการร่วมสังเกตการณ์ชั้นเรียนของเพื่อนครูด้วยกัน ทำอย่างไรให้เด็กๆ มีทัศนคติในการสร้างการเรียนรู้ แก้ปัญหา เกาะติดการเรียนรู้ของตัวเอง จนสุดท้ายมองเห็นการเรียนรู้ของตัวเองและของเพื่อน เป็นโจทย์ให้ทีมครูร่วมคิด วางแผนการสอนเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ซึมซับคุณค่าของการเรียนคณิตศาสตร์ที่มีความหมายต่อชีวิต
กิจกรรมที่เด็กๆได้ทำวันนี้คุณครูต่อยอดจากวิชามานุษกับโลกที่เด็กๆ ได้เรียนรู้หลักการทำงานของ “รอก” เชื่อมมาสู่การลงมือปฏิบัติเรื่อง “การตวง” โดยนำเข้าสู่บทเรียนด้วยเรื่องเล่าวิถีชีวิตพอเพียงของผู้คนในชนบทที่อาศัยน้ำจากบ่อใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งมีวิธีตักน้ำโดยอาศัยหลักการทุ่นแรงของรอก
เด็กๆ สังเกตเห็นค่า 1 ขีดใน 10 ขีด สามารถอ่านค่าได้จากการตวง ได้เรียนรู้การอ่านค่าลิตรและ เดซิลิตร ทั้งยังได้ออกแบบโจทย์ แลกเปลี่ยนวิธีคิด และสร้างความรู้ด้วยตัวเอง ช่วยสะท้อนความรู้เดิม และความรู้ใหม่ที่เด็กๆ ได้เรียนรู้
“กิจกรรมที่เด็กๆ ได้ลงมือทำ ได้สัมผัส ได้พิสูจน์ ได้ทดลอง ได้ค้นหา สุดท้ายจะเกิดความรู้ชุดหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงให้เขาเห็นภาพของหน่วยย่อย และหน่วยใหญ่ เมื่อหน่วยย่อยอยู่ในหน่วยใหญ่ จะเขียนในรูปของทศนิยม ซึ่งเด็กๆ จะทำความเข้าใจได้ไม่ยาก และเมื่อเด็กๆ มีความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ก็จะเกิดความสนใจกับประสบการณ์ที่เขาเพิ่งได้รับมา เมื่อใส่ความท้าทายเข้าไปอีกนิดเด็กๆก็จะมีการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง
ในส่วนของคุณครูทำหน้าที่ประเมินการเรียนรู้ขณะที่เด็กๆ ลงมือออกแบบโจทย์และแสดงวิธีคิด เรียนรู้ว่าเด็กต้องการการช่วยเหลือสนับสนุนอะไร กระบวนการและวิธีการแบบไหนที่ช่วยให้เด็กเข้าใจ” คุณครูสุภาพร กฤตยากรนุพงศ์ (ครูสุ) หัวหน้าส่วนพัฒนาหน่วยวิชาคณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 1 บอกเล่า
ขอขอบคุณผลงาน “รอก” จากการเรียนรู้ HBLC ของ ด.ญ. พิมพ์คุณัชญ์ สุวรรณโยธิน (มีนา) ชั้น 2/2 กับคำถามที่ว่าจะยกของที่มีน้ำหนักจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้อย่างไร จึงทำการศึกษาข้อมูลเรื่องรอก ซึ่งคุณพ่อได้จัดทำรอกแบบต่างๆ มอบให้โรงเรียนเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ให้เด็กๆ ด้วย
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563