การสำรวจความปลอดภัยอาคาร หลังเหตุแผ่นดินไหว และหลัง After Shock
เมื่อวานนี้ (31 มีนาคม 2568) โรงเรียนได้สำรวจผลกระทบต่อความปลอดภัยอาคาร หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม
หลังจากการนำเสนอ PBL ในรอบ Oral Presentation บนเวทีจบลงไปแล้ว วันนี้ก็เป็นการแสดงผลงานที่นักเรียนจะได้มานำเสนอ prototype ข้อค้นพบ และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ผู้สนใจได้เข้ามาร่วมพูดคุย ถึงแนวคิดการทำชิ้นงาน ปีนี้เรามีบูธนำเสนอมากถึง 110 บูธ โดยหัวข้อ PBL มาจากความสนใจของนักเรียนจากหลากหลายหัวข้อแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
PBL เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของช่วงชั้นมัธยมจัดให้เป็นการทำงานอิสระ “นอกเวลาเรียน” การทำงาน PBL ครั้งนี้มีระยะเวลาทำงาน 17 สัปดาห์ตลอดภาคเรียนจิตตะ และวิมังสา โดยนักเรียนตั้งโจทย์จากชีวิตจริงและหาคำตอบด้วยตัวเองผ่านกระบวนการ Design Thinking เพื่อให้เกิดกระบวนการที่ชัดเจน และเน้นไปที่ปัญหาหรือการเข้าใจกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้น ทำให้นักเรียนสามารถออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานอย่างแท้จริง อีกทั้งยังช่วยจัดระบบการเรียนรู้และสิ่งที่เรียนรู้ในโครงงานอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ Empathize สำรวจปัญหา Define / Ideate สรุปประเด็นปัญหา หรือวิธีแก้ปัญหา และขั้น prototype จนถึง test สร้างชิ้นงานต้นแบบและทดสอบ
เรียกได้ว่างานนี้คือตลาดนัดไอเดียให้นักเรียนได้นำเสนอความคิดผ่านกระบวนการ Design Thinking ขณะเดียวกันก็ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อน พี่ น้อง เปิดมุมมองใหม่ๆ ต่อปัญหาที่หลากหลายช่วยจุดประกายความคิดให้แต่ละคนได้ไม่น้อยเลย
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566