ดาวเรืองยังเรืองรองปีที่ 4
คณะครู นักเรียน ร่วมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
คณะครู นักเรียน ร่วมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หนูน้อยเตรียมอนุบาลเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ หลังฟังนิทาน “ขันเงินรักเมืองไทย”
เด็กๆ ชั้น อ.3 ได้ไปหาความรู้เรื่องต้นไม้หลากหลายชนิดที่ปลูกในดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย กับคุณพ่อคุณแม่ในช่วงวันหยุดแล้ว ก็นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ผ่านภาพวาดต้นไม้ที่ตนเองประทับใจ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยเฉพาะในวัยที่ทรงพระเยาว์ ได้รับการปลูกฝังในเรื่อง ‘การเล่น’ เรียนอย่างมีความสุข จะเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล่นดิน เล่นทราย ได้สัมผัสของจริง ส่งผลให้พระองค์ท่านเป็นคนที่เรียนรู้จากประสบการณ์จริง รู้จักสังเกต… รศ.เยาวพา เดชะคุปต์ อาจารย์ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ซึ่งปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งในงานเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการศึกษาไทย’ ดิน ไม้ ทราย น้ำ ธรรมชาติที่รายล้อมรอบตัว คือคลังความรู้อันมหาศาล การได้สัมผัส จับต้อง รับรู้ได้ถึงความ แข็ง นุ่ม เปียก ชุ่ม ร้อน เย็นโดยไม่ต้องอธิบายให้ยืดยาว…ยิ่งเล่น… ยิ่งสนุกยิ่งสนุก…ยิ่งซึมซับจะสอนการเขียนอ่าน การนับ หรือภาษา เพียงสอดแทรกเข้าไปให้กลมกลืนกับธรรมชาติเด็กๆ ก็เรียนรู้ เข้าใจได้ ง่ายๆ
“สีสันของเช้าวันอังคาร ที่มองไปมุมไหนก็มีแต่ความสุข” ภายใน “ห้องสมุด” ที่แวดล้อมไปด้วยหนังสือ และนิทานสนุกๆ หลากหลายเรื่องราวคุณครูให้อิสระเด็กๆ ในการเลือกหนังสือได้ตามใจชอบบ้างหามุมสงบ .. นั่งอ่านตามลำพัง บ้างหามุมสงบ .. นั่งอ่านตามลำพังบ้างขอจับคู่นั่งอ่านกับครู .. กับเพื่อนบ้างล้อมวงดูภาพ .. เล่าเรื่องตามจินตนาการ บรรยากาศผ่อนคลาย… ยิ่งชวนให้เด็กๆ สนใจใฝ่รู้หน้าทุกหน้าที่พลิกไป … ล้วนมีความหมาย หันไปอีกมุมหนึ่ง…พบกับ “ห้องเรียนธรรมชาติ” ที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ ทราย และน้ำ น้องเล็กเตรียมอนุบาลกำลังง่วนอยู่กับการต่อเติม “บ้าน” ในจินตนาการจาก “ตัวฉัน และครอบครัวของฉัน” นำไปสู่บ้านอันแสนอบอุ่น ถัดออกไปไม่ไกล …พี่ใหญ่อนุบาล ๓ กำลังนั่งล้อมวงระลึกคุณข้าวกับ “อาหารปิ่นโต” ที่นำมาจากบ้าน เตรียมพร้อมก่อนออกภาคสนาม “วัดป่าเชิงเลน” ในอีกไม่ช้า
ก้าวเล็กๆ บนคานไม้ทรงตัว การข้ามผ่านตาข่ายใยแมงมุม หรือแม้แต่การเคลื่อนตัวไปกับพื้นเพื่อรอดสิ่งกีดขวาง และสัมผัสพื้นผิวที่แตกต่าง ฯลฯ ก่อนจบลงด้วยกิจกรรมสร้างสมาธิอย่างการร้อยลูกปัด หรือต่อจิ๊กซอว์ บางส่วนจากฐานกิจกรรมยามเช้าสำหรับเด็กๆ ช่วงชั้นอนุบาลที่ให้อะไรมากกว่าที่คิด… สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยของอาจารย์หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา ซึ่งมีแนวคิดถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมของร่างกาย ใจความตอนหนึ่งว่า… ในวัยอนุบาลการประมวลข้อมูลของระบบรับความรู้สึก (Sensory Integration : SI) เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ช่วยกระตุ้นระบบรับประสาทสัมผัสเพื่อให้ฐานกายมีความมั่นคง และรับรู้ให้คมชัด ฉับไว เชื่อมโยงต่อการทำงานของสติปัญญา และทักษะภาษา มีองค์ประกอบสำคัญ เช่น การสัมผัส หากเด็กๆ ได้สัมผัสกับผิวสัมผัสต่างๆ ที่หลากหลาย จะช่วยส่งเสริมให้การรับรู้พัฒนาได้สมบูรณ์มากขึ้น ส่งผลต่อความมั่นคงทางอารมณ์ รู้จักการควบคุมอารมณ์ ระบบการทรงตัว ช่วยสร้างสมาธิในการจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนที่ดีด้วย ระบบการรับรู้ข้อต่อ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเอง ขณะเล่นไม่ล้มง่าย กระโดดได้อย่างคล่องแคล่ว ส่งผลให้เด็กๆ เกิดความมั่นใจในการเล่นร่วมกับเพื่อนๆ สนุกเรียน… สนุกเล่น… ในขณะทำกิจกรรม SI คุณครูได้บูรณาการการเรียนรู้เพื่อเสริมประสบการณ์ให้เด็กๆ อาทิ เรียนรู้พยัญชนะ โดยเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว “ให้เด็กๆ กระโดด ๆ ตามหาพยัญชนะต้นของชื่อตัวเอง” พยัญชนะที่มีผิวสัมผัสตะปุ่มตะป่ำจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือ ตา ประสานสัมพันธ์ หรืออาจให้จับคู่พยัญชนะกับวัตถุ จับคู่ภาพกับภาพ จับคู่ภาพกับคำ จับคู่คำกับคำ เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อพัฒนาความคิดของเด็กๆ ตามช่วงวัย *SI หรือ Sensory Integration
4 นักปั่นรุ่นจิ๋วโชว์ฝีมือในการแข่งขันจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่