การงานเพื่อชีวิต ชั้น 1
ภาคเรียนนี้หน่วยการงานเพื่อชีวิตในระดับชั้น 1 เป็นการต่อยอดการเรียนรู้จากภาคเรียนที่ผ่านมาเกี่ยวกับอาชีพที่เด็กๆ สนใจซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น
ภาคเรียนนี้หน่วยการงานเพื่อชีวิตในระดับชั้น 1 เป็นการต่อยอดการเรียนรู้จากภาคเรียนที่ผ่านมาเกี่ยวกับอาชีพที่เด็กๆ สนใจซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น
จากคำแนะนำของครูใหม่ (วิมลศรี ศุษิลวรณ์) กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ครูหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ชั้น ๓ คิดออกแบบแผนการสอนหลักภาษาเรื่องคำควบกล้ำ ที่จะทำให้เด็ก ๆ สนุก ได้ความรู้ และได้อรรถรสไปพร้อม ๆ กัน
เด็กๆ ชั้น อ.1 เรียนรู้เรื่องอาชีพใกล้ตัว อาชีพของคุณพ่อคุณแม่ และคนรู้จักผ่านเพลง เกม นิทาน บทบาทสมมติ และบอกเล่าอาชีพที่ชื่นชอบ มีคุณพ่อคุณแม่มาเป็นวิทยากรชวนพูดคุยเกี่ยวกับอาชีพว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง พร้อมแต่งกายเป็นอาชีพนั้นๆ นำอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานมาแนะนำให้เด็กๆ รู้จัก จากกิจกรรมนี้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ สนใจในอาชีพต่างๆได้ไม่น้อยจึงนำไปสู่กิจกรรม “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร…” ให้เด็กๆ แต่งกายที่สื่อถึงอาชีพที่สนใจนำเสนอให้เพื่อนๆ รับชม พื้นที่เล็กๆ ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ฝึกความกล้าแสดงออก และได้ร่วมกันร้องเพลง ทำท่าทางประกอบเพลงอาชีพต่างๆ อย่างสนุกสนาน ขอขอบคุณผู้ปกครองที่สละเวลามาให้ความรู้กับเด็กๆ ดังนี้ค่ะ คุณสมชาติ สาบุตร ครูฝึกสอนกีฬาฟุตบอล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์(น้องมาดี ห้องอนุบาล 1/1) พญ.ศิริรัตน์ คุณวุฒิดี แพทย์ปฏิบัติการ กลุ่มงานประสาทรังสีวิทยา สถาบันประสาทวิทยา(น้องภูมิใจ ห้องอนุบาล 1/2) นพ.ปรัชญา ผดุงพรรค โรงพยาบาลรามาธิบดี และ พญ.วราลี ผดุงพรรค โรงพยาบาลนครธน(น้องอัลฟ่า ห้องอนุบาล 1/3) คุณกันต์ วนานุพงษ์ นักบินผู้ช่วยการบินไทย และคุณพรรษพร วนานุพงษ์ อดีตพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินไทย ( น้องไมล์ส 1/4) โดย ส่วนสื่อสารองค์กรข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563
เรียนรู้แบบเพลินๆ .. หน่วยวิชาเพลินเรียนรู้วิจัยพาเพลิน ระดับชั้น ๑ เรื่องเล่าโดยครูโอ่ง - นฤนาถ สนลอย ผู้ช่วยหัวหน้าช่วงชั้นที่ 1
ธีมงานชื่นใจได้เรียนรู้ช่วงชั้นที่ 2 ในภาคเรียนวิริยะ 2563 นี้ คุณครูมีโจทย์ให้เด็กๆ "ถอดการเรียนรู้ของตนเองผ่านโครงงานวิจัยประจำภาค"
ทีมคุณครูฝ่ายมัธยมเข้าร่วมอบรม Visual Thinking “คิดเป็น...เห็นภาพ” เพื่อฝึกการคิดเชื่อมโยง สามารถจับประเด็น เข้าใจเรื่องราวได้อย่างรวดเร็ว
เป็นอีกหนึ่งวันที่สร้าง “ความชื่นใจ” ให้คุณพ่อ คุณแม่ และคุณครู เผยให้เห็นศักยภาพของเด็กๆ ชั้น 3 พี่ใหญ่ประถมต้นที่พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
“ไหว้ครู” กิจกรรมส่งท้ายของช่วงชั้นอนุบาลก่อนปิดภาคเรียนวิริยะ
สมการรอคอยกับเทศกาลแห่งความสุข "ลมข้าวเบา...เงาเดือนเพ็ญ 2562" จุดนัดพบของชาวเพลินพัฒนา
ชื่นใจ…ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ 18 (28 ตุลาคม 2563) กับธีมงาน N2 KM – New Normal Knowledge Management ใช้การถ่ายทอดสดจากห้องประชุมเพลินพัฒนาไปที่ช่วงชั้นที่ 1 เพื่อลดการรวมตัวกัน เว้นระยะห่างภายใต้มาตรการโควิด -19 ที่ยังคงการเรียนรู้ได้ครบถ้วน เป็นอีกหนึ่งวันเต็มที่คุณครูช่วงอนุบาล และช่วงชั้นประถมร่วมเรียนรู้ สร้างพลังทีม เติมพลังจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูให้กันและกัน เตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนจิตตะ We shall overcome ขับร้องโดยคุณครูช่วงชั้นอนุบาล ประถม “เราจะก้าวถึงชัยแน่นอน เราจะก้าวสู่ชัยร่วมกันวันหนึ่ง” คำร้องแปลไทยโดยครูปาด – ศีลวัต ศุษิลวรณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการเรียนรู้ไปบนความแตกต่างของเด็กแต่ละคน ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช สะท้อนการเรียนรู้โรงเรียนแห่งนี้เรียกว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ (Learning organization) มีการเรียนรู้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติเป็น Interactive learning through action หัวใจสำคัญไม่ได้เรียนอยู่คนเดียว การพัฒนางานไม่ได้ทำเพียงคนเดียว แต่ทำร่วมกันเป็นทีม คุณครูมีลักษณะเป็น “บุคคลเรียนรู้” (Learning person) มีทักษะการเรียนรู้ มี “ฉันทะ” ชอบและมีความสุขกับการเรียนรู้ โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้ของลูกศิษย์ภายใต้ความแตกต่างของแต่ละคนเป็นตัวตั้ง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของความเป็นครู การทำงานที่มีไม้บรรทัดตลอดเวลา ไม้บรรทัดนี้เรียกว่า“ไม้บรรทัดวัดเจตคติ” เพื่อวัดว่านักเรียนอยากเรียนไหม เรียนได้ดีไหมในความรู้สึกของเขา เพื่อเป็น feedback เป็น formative assessment ให้กับครูเพื่อให้ครูนำไปปรับตัว ปรับวิธีการเรียน เป็นเครื่องมือให้ครูได้เรียนรู้ เป็นวงจรของการปรับตัว (PDCA) ทั้งหมดนี้คือการสร้าง platform การทำงาน และมีวิธีการเข้าถึงการเรียนรู้ของเด็กอย่างแท้จริง วิจัยพาเพลิน…สนุกตั้งคำถาม หาคำตอบ รศ.ดร. ชาติชาย กฤตนัย (คุณพ่อน้องจูล ชั้น 11) สะท้อนการเรียนรู้และให้กำลังใจคุณครู เด็กๆ เพลินพัฒนาโชคดีมากที่มีครูที่ตั้งใจ และเอาจริงเอาจังที่จะพัฒนาตัวเอง … คีย์เวิร์ดที่พูดกันบ่อยวันนี้คือคำว่า “วิจัย” ที่ฟังดูซับซ้อน เข้าใจยาก เป็นการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ขณะที่วิจัยที่เพลินฯ เรียกว่า “วิจัยพาเพลิน” ซึ่งเราตั้งใจให้เพลินอยู่แล้ว จึงไม่ซับซ้อนแบบนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สร้างการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถาม และหาคำตอบ หากเรายึดสิ่งที่ง่ายๆ แบบนี้ก็จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย การที่จะโค้ชเด็กก็ไม่ใช่เรื่องยาก การทำวิจัยในโรงเรียนเพลินพัฒนาถือว่ามีความก้าวหน้ามากๆ ในระดับประเทศและระดับโลกเลยที่ทำวิจัยตั้งแต่เล็กๆ เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยสามารถทำให้ทุกคนสามารถสร้างความรู้ได้ตลอดเวลา เป็นความรู้ที่จริง เชื่อถือได้ เป็นกำลังใจให้คุณครูทุกคนที่กำลังทำสิ่งที่ก้าวหน้ามากๆ ในวงการการศึกษาบ้านเรา หากรู้สึกเครียด และเหนื่อย ให้คิดว่าวิจัยพาเพลินจะได้รู้สึกสบายใจขึ้น เพราะคำถามวิจัยจริงๆ มีอยู่ตลอดเวลา คำตอบจึงไม่จำเป็นต้องซับซ้อน เพียงแต่กระบวนการในการหาคำตอบต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้องก็จะตอบคำถามวิจัยได้ ============== ชื่นใจ…ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ 18 28 ตุลาคม 2563 I 8.00 -17.00 น. • ร้องเพลง “ให้” ร่วมกัน • ข้อค้นพบจาก Home-Based Learning Community (HBLC) • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ • ส่วนงานวิชาการนำเสนอภาพรวมเจตคติครึ่งปีแรกของปีการศึกษา 2563 • ความเพียรของครูนัท • นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ : กรณีศึกษาโครงงาน “หนังสือเดินทาง” หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ชั้น ๖ • กระบวนการแก้ปัญหาเจตคติผ่านกระบวนการ PDCA : กรณีศึกษาหน่วยวิชาพัฒนาชีวิต ช่วงชั้นที่ 2 • การเอาชนะปัญหาและข้อจำกัดของการเล่นกีฬา เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางกายในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 : กรณีศึกษาหน่วยวิชากีฬา ช่วงชั้นที่ 1 • ความรู้และข้อค้นพบจากงาน KM ของช่วงชั้นอนุบาล • แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสร้างหัวข้อวิจัยและการออกแบบวิธีวิจัย ที่จะเริ่ม ดำเนินการในภาคเรียนจิตตะ – วิมังสา • อ.วิจารณ์ กล่าวสะท้อนการเรียนรู้ • ตัวแทนกลุ่ม R2R สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ • ครูบันทึกการเรียนรู้ของตนเองลงในสมุดบันทึก KM • สะท้อนการเรียนรู้ และความประทับใจในวันนี้ จากห้องย่อย • ร้องเพลง “ We shall overcome” ร่วมกัน โดย ส่วนสื่อสารองค์กรข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2563
ในคาบเรียนนี้เด็กๆ ชั้น อ.2 ได้สำรวจ สัมผัส สังเกต วาดภาพ เรียนรู้การเจริญเติบโต และส่วนประกอบต่างๆของกล้วย ตั้งแต่ราก ลำต้น ใบตอง ปลี ผล หวี เครือ กาบ หยวกกล้วย หน่อกล้วย ก้านกล้วย ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน