ลมข้าวเบาพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักเรียน
งานลมข้าวเบาปีนี้ เปิดโอกาสให้เด็กๆ ทุกช่วงชั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นทีมงานส่วนต่างๆ เพื่อเรียนรู้ และ ฝึกตน จนเกิดเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า
งานลมข้าวเบาปีนี้ เปิดโอกาสให้เด็กๆ ทุกช่วงชั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นทีมงานส่วนต่างๆ เพื่อเรียนรู้ และ ฝึกตน จนเกิดเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า
ภาพความประทับใจในงานลมข้าวเบาเงาเดือนเพ็ญ 2566 กับภารกิจจิตอาสาแนะนำการทิ้งขยะ
ในการเตรียมงานลมข้าวเบา เงาเดือนเพ็ญ คณะทำงานปีนี้มีความตั้งใจกันอย่างเต็มที่ ขอบคุณทุกฟันเฟืองที่ทำให้งานลมข้าวเบาเงาเดือนเพ็ญ 2566 ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
ละครสัญจร "นกจิ๊บเที่ยวงานลมข้าวเบา" โดยพ่อโจ และคณะผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงานลมข้าวเบาแก่เด็กๆ
“ประกวดนางนพมาศ ๒๕๖๖” จัดโดยทีมคุณครูการศึกษาพิเศษ ระดับชั้นมัธยมศึกษากิจกรรมการประกวดครั้งนี้มีทั้งรอบของนักเรียน และ รอบของคุณครู
ซึ่งครูปาด - ศีลวัต ศุษิลวรณ์ให้แนวคิดลมข้าวเบาเงาเดือนเพ็ญว่า “ปูรณฆฏะ” จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคิดกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เด็กๆ ได้เห็นคุณค่าของมรดกไทยที่ได้ถูกส่งต่อ คุณค่าของความรักความผูกพันจากรุ่นสู่รุ่น การให้ที่ไม่สิ้นสุด รวมถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆ ในทวีปเอเชีย
“แพรไหม” นักเรียนชั้น 9/2 รร. เพลินพัฒนา คว้ารางวัลการนำเสนอผลงานดีเด่น ในการประกวด “โครงการนวัตกรรมเพื่อลดปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน ภายใต้ธีม Cyberbullying”
ช่วงปิดเทอมภาคเรียนวิริยะที่ผ่านมา ทีมนักกีฬาฟุตบอล ช่วงชั้นที่ 1 ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอล 7 คน หญ้าเทียม รายการ 4 เส้ารุ่นผสม ณ สนาม Music stadium บางใหญ่เก่า
ภาคสนามในภาควิริยะของนักเรียนชั้น 6 เปิดประสบการณ์ให้เด็กๆ ได้ทดลอง สำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ สร้างความเชื่อมโยง และประมวลสรุปว่าข้อมูลเหล่านั้นกำลังบอกอะไร พิสูจน์ว่ากิจกรรมทั้งหมดในสมมติฐานสามารถทำได้จริงในพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านขุนสมุทรจีน
ในวาระครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 วิชามานุษและสังคมศึกษา ช่วงชั้นมัธยม ชวนนักเรียนมัธยมเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นหมุดหมายสำคัญของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของสังคมไทย
ภาคสนาม ชั้น 5 เด็กๆได้ออกสำรวจในแต่ละพื้นที่เพื่อสังเกต เรียนรู้ พิสูจน์สมมติฐาน จดบันทึก รวมถึงได้สัมภาษณ์วิทยากรคุณลุง คุณป้าผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสถานที่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพดั้งเดิมของคนในชุมชน และแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ เพื่อการฟื้นฟูดูแลป่าชุมชน และประโยชน์จากการที่ป่าชุมชนได้รับการฟื้นฟู
ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 2 ในภาคเรียนวิริยะนี้ เด็กๆ แต่ละคนมีวิธีการที่แตกต่างกันทั้งการสืบค้น ศึกษาเปรียบเทียบ ทดลอง มีการออกแบบตารางการเก็บและบันทึกข้อมูลต่างๆ จากแหล่งเรียนรู้ภาคสนาม นำมาประมวลสรุปกับความรู้ในชั้นเรียน จนกระทั่งได้คำตอบของสมมุติฐานที่ตั้งไว้