จดหมายข่าว “บ้านฉัน”
ภาษาและลีลาการเขียน "จดหมายข่าวบ้านฉัน" ที่เด็กๆ ชั้น 6 ได้ฝึกฝนในหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย นอกจากทักษะภาษา การลำดับเรื่องราวที่เด็กๆ ได้เรียนรู้
ภาษาและลีลาการเขียน "จดหมายข่าวบ้านฉัน" ที่เด็กๆ ชั้น 6 ได้ฝึกฝนในหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย นอกจากทักษะภาษา การลำดับเรื่องราวที่เด็กๆ ได้เรียนรู้
ผลงานวิจัยพาเพลินในการเรียนรู้ HBLC ของน้อง "มะลิ - ด.ญ. อมินฎา อิ่มผล" ชั้น 4/3 ในช่วงสถานการณ์ Covid - 19
ในช่วง 6 สัปดาห์ต่อจากนี้การเรียนรู้ HBLC ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 กำลังจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ มีความสนุก ท้าทายให้เด็กๆ ได้ทดลอง ได้คิดได้ทำไปบนสถานการณ์โควิด 19
"มีพอ" คว้ารางวัล "ยอดเยี่ยม" ในการประกวดผลงานภาพวาดประกอบคำบรรยายของเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 6 -12 ปี จากทั่วประเทศจำนวนคนละ 5 ภาพ ในหัวข้อ "นี่คือชีวิตของฉัน" Here is my life
สำหรับช่วงวัยนี้การพาเปิดประสบการณ์ ออกท่องเที่ยวโลกกว้าง หรือให้โอกาสได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายโดยไม่เคี่ยวเข็ญ ไม่มุ่งหวังความเป็นเลิศ
หลักคิดของหน่วยวิชากีฬามีเป้าหมายการพัฒนาที่ไม่ใช่เพียงด้านร่างกาย แต่ยังรวมถึง ความรู้ เจตคติ คุณธรรม และค่านิยมของผู้เรียนด้วย
นี่คือเหรียญทองแห่งความภาคภูมิใจของ "แทน - ด.ช.ธัญณินทร์ อุตมโท" ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเพลินพัฒนาในฐานะตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันกับเพื่อนๆ
แรงบันดาลใจ…สุข…เหงา…เศร้าถูกถ่ายทอดผ่าน “กลอนเปล่า” ที่กลั่นจากความรู้สึกยามได้หยุดนิ่งกับตัวเองซึมซับธรรมชาติรอบกายดั่งเพื่อน ถ้าฉันได้เป็นต้นไม้สักต้นฉันคงเลือกไม่ได้ที่จะเกิดมาเป็นแบบไหนแต่ถ้าเลือกได้ฉันจะตั้งถิ่นฐานริมน้ำลำตัวของฉันก็กว้างพอที่คนจะโอบกอดให้คลายเหงาแตกกิ่งก้านสาขาไปทั่ว มีรากหยั่งลึกลงในดินอันอุดมสมบูรณ์ พรั่งพร้อมไปด้วยต้นไม้อื่นๆ หรือสัตว์อื่นๆ แก้เหงาคอยมีแดดสาดแสงมาทักทายฉันเสมอยามเช้า และเที่ยงถึงฉันจะมีดูมีเพื่อนมากมายพอ ฉันก็ยังตามหาคนมาดูแลฉัน โอบกอด และคลายความเหงาของฉันซึ่งฉันก็อยากตอบแทนพวกเขาโดยการให้ร่มเงา และอากาศ สดชื่นฉันจะนับว่าเขาเป็นเพื่อนดีที่สุดที่ฉันเคยมีมาเลยเมื่อไหร่ฉันจะเจอเขาคนนั้นนะ จินจิน – อรณิชา ศิริอุดมเศรษฐ ชั้น 5/3
เสียงดนตรีโมสาร์ท บรรเลงเบาๆ ภายใต้บรรยากาศผ่อนคลายในคาบเรียน “แสนภาษา” คุณครูแตน – พรรณธร โภคสุวรรณ ชวนเด็กๆ ชั้น 6 เปิดมุมมองด้วยผลงานสร้างสรรค์ของ “ปิกัสโซ” จิตรกรเอกของโลกกับการสร้างภาพที่มีการจัดวางแบบผสมผสานแปลกใหม่ ไม่เน้นกฎเกณฑ์ ชวนให้เด็กๆ กล้าคิดนอกกรอบ หยิบเอาการ์ตูนที่คุ้นเคยมาเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ต่อขาให้ยาวบ้าง วาดตาให้โตกว่าปกติบ้าง วาดขาให้สั้นลงบ้าง ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องเหมือนต้นแบบ แต่เมื่อมองในภาพรวมสามารถสื่อแนวความคิดของเจ้าของภาพได้… พอให้อิสระทางความคิด ความสนุกก็ตามมา เด็กๆ เริ่มกล้าสร้างสรรค์งานตามแนวทางของตัวเอง ไม่ซ้ำแบบกัน ไม่อยากให้เขามองว่าศิลปะเป็นเรื่องของความถูกผิด ทุกคนมีสิทธิ์แสดงออกทางความคิด เชื่อว่าเมื่อเขาได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ จะส่งผลกับการเรียนรู้ในทุกวิชา เพราะสมองเขาจะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น ความคิดต่างๆ ที่เข้ามานี่แหละ จะเกิดแนวคิดใหม่ๆ ได้อีกเยอะเลย คุณครูแตน – พรรณธร โภคสุวรรณ