เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
“สองมือน้อย ๆ ที่บรรจงรับกะลา และประคองส่งต่อให้เพื่อนอย่างช้าๆ”
เป็นภาพที่เกิดขึ้นขณะเด็ก ๆ และคุณครูทำกิจกรรม “เวียนน้ำ” ร่วมกันในยามเช้า ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการปลุกตื่นเพื่อให้เด็ก ๆ มีความพร้อมเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในแต่ละวัน
ในกิจกรรม “เวียนน้ำ” นี้ เราจะได้เห็นความตั้งใจของเด็ก ๆ ในทุกขณะ เมื่อเป็นผู้ส่งก็ต้องประคองกะลาใบน้อยที่มีน้ำอยู่อย่างระมัดระวัง เมื่อเป็นผู้รับก็พนมมือไหว้ขอบคุณ และรับมาพร้อมจ้องมองดูสิ่งต่าง ๆ ที่ลอยอยู่ในน้ำอย่างตั้งใจ (ถึงตอนนี้ EF ในเรื่องการยับยั้งชั่งใจของเด็ก ๆ เกิดขึ้นแล้วล่ะค่ะ เพราะต้องอดใจที่จะบอกเล่าสิ่งที่ได้เห็นไว้ก่อน )
เมื่อยังไม่ถึงตนเอง ก็ต้องอดทนรอคอยอย่างใจเย็น และเมื่อส่งต่อจนครบทุกคนแล้ว ก็ถึงเวลาที่เด็ก ๆ ทุกคนรอคอย เพราะจะได้บอกเล่าถึงสิ่งที่ตนเองได้สังเกตเห็นจากในกะลา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้ยินเสียงเด็ก ๆ ช่วยกันตอบอย่างสนุกสนาน
สุดท้ายนี้ เราลองมาฟังเสียงสะท้อนของเด็ก ๆ หลังจากที่ได้ทำกิจกรรม “เวียนน้ำ” ว่าเป็นอย่างไรกันนะคะ
มิริน : รู้สึกภูมิใจที่ส่งน้ำไม่หก
ซอน : รู้สึกชอบตอนที่เพื่อนขอบคุณ แล้วก็ได้ขอบคุณเพื่อนด้วย
แมงปอ : ชอบที่เวลาส่งน้ำ มีเพลงให้ฟัง
เอริ : หนูชอบส่งน้ำ เพราะหนูมีสมาธิและตั้งใจส่งให้เพื่อน
เมเม่ : หนูภูมิใจที่ได้รับน้ำจากเพื่อน
ภาม : รู้สึกอารมณ์ดี เพราะได้ยิ้มและขอบคุณเพื่อน
พันวา : ชอบเวลานั่งเป็นวงกลม เพราะได้เห็นหน้าเพื่อนทุกคน
ของขวัญ / เพิร์ล / หลิน : ชอบที่เห็นได้ดอกไม้ในน้ำ
ขอบคุณบทความจากคุณครูช่วงชั้นอนุบาล
คุณครู ชุตินารถ ชัชอานนท์ (ครูเจี๊ยบ )
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2567