เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
ขอแสดงความยินดีกับ ด.ช. ภูฟ้า สัจจวโรดม ชั้น 7/1 กับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ INTERNATIONAL YOUTH METAVERSE ROBOT CHALLENGE (IYMRC 2022) ประเภท Robot creation รุ่น senior ( 13 – 18 ปี ) จัดโดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประสานงานการส่งตัวแทนเข้าแข่งขันออนไลน์ในนามประเทศไทย ในฐานะของสมาชิกสมาคมหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ IYRA (International Youth Robot Association) ณ ประเทศเกาหลีใต้ ปีนี้มีผู้ร่วมการแข่งขันจากประเทศต่างๆ รวม 17 ประเทศ โดยมีโรงเรียนที่ร่วมส่งผลงานเข้าแข่งขันจากไทยทั้งสิ้น 36 ทีม โดยผลงานของน้องภูฟ้าที่สามารถเอาชนะใจกรรมการได้ในการแข่งขันครั้งนี้เกิดจากการผสมผสาน 3 สิ่งนี้เข้าด้วยกัน
โดยการใช้ลำโพงอัจฉริยะ หรือ Google Nest Mini ( ทำหน้าที่คล้ายสิริ) และอุปกณ์ Internet of Things Smart switch สั่ง เปิด – ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน จากคำสั่งเสียงได้จริงด้วยชุดสายไฟแบบธรรมดา
โดยการใช้ลำโพงอัจฉริยะ หรือ Google Nest Mini ( ทำหน้าที่คล้ายสิริ) และอุปกณ์ Internet of Things Smart switch สั่ง เปิด – ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน จากคำสั่งเสียงได้จริงด้วยชุดสายไฟแบบธรรมดา
จากฉากที่ภูฟ้าบันทึกเสียงตัวเองไว้ด้วยเทปคาสเซ็ท แล้วต่อสวิตช์แยกออกมาเพื่อให้ Robot วิ่งเข้าไปผลัก Switch ตัวที่ว่านั้น วิทยุเทป จะเปล่งเสียง หลอก AI ของเจ้าลำโพงอัจฉริยะ ว่าเป็นเสียงของภูฟ้าจริง และ ยินยอมให้อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เซ็ตไว้สามารถทำงานได้จริง รายละเอียดตามในคลิปนำเสนอของภูฟ้า
คุณพ่อวิวัฒน์ สัจจวโรดม ในฐานนะของผู้ควบคุมทีม ที่คอยเป็นที่ปรึกษาให้น้องภูฟ้าอย่างใกล้ชิดสะท้อนว่า
“ เนื่องจากภูฟ้าลงแข่งขันในรุ่น senior (อายุ 13 – 18 ปี) แต่อายุน้อยที่สุด จึงคิดว่าทักษะทางหุ่นยนต์และทักษะการนำเสนออาจจะสู้พี่ๆ ม.ปลายไม่ได้แน่ การแข่งปีนี้จึงหวังแค่มีผลงาน ดีๆ สักชิ้น ส่งเข้าร่วมแข่งขัน ประสบการณ์จากวิชาโครงงาน PBL จากโรงเรียนช่วยให้ภูฟ้ามีลำดับความคิด และการใช้จินตนาการที่มีความซับซ้อนหลายชั้นและสามารถเชื่อมโยง ความซับซ้อนเหล่านี้ไปสู่ผลการทดลองที่มี outputs ที่ดีและสามารถนำไปใช้งานได้จริงครับ
80 – 90% ความคิดริเริ่มรวมทั้งการจัดการรวมหลายๆ แอปพลิเคชั่นเข้าไว้ ในวงของ Google Home เพื่อจะใช้งานในแบบ Google Assistant มาจากความสนใจของภูฟ้าที่ศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง สำหรับขั้นตอนประกอบอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า จะอยู่ในการดูแล ใกล้ชิดจากคุณพ่อครับ ”
โดยคลิปผลงาน (ความยาว 5 นาที) จะถูกส่งไปที่แทจอน ประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ตัดสิน
รายชื่อโรงเรียน (จากประเทศไทย) ที่ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขัน
3 ทีมในรายชื่อนี้ ( รวมทั้งเพลินพัฒนา) ได้เหรียญทอง
1 ทีมได้เหรียญเงิน
ที่เหลือจะเป็นทีมที่ได้เหรียญทองแดง
ขอชื่นชมน้องภูฟ้ากับความตั้งใจพยายามในการศึกษาเรียนรู้ ต่อยอดในสิ่งที่ตนเองสนใจจนคว้ารางวัลมาได้สำเร็จ และขอขอบคุณครอบครัวที่คอยเป็นแรงสนับสนุนทุกย่างก้าวให้ภูฟ้าด้วยนะคะ
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 2ตุลาคม 2565