เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กๆกับค่าย F1 in School
ในช่วงปิดภาคเรียนนี้ (7-11 ตุลาคม 2567 ) ทาง KX: Knowledge Exchange ได้มาจัดค่าย F1 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองรถแข่ง Formula 1 ขนาดจิ๋ว...
แต่พอจริงๆแล้วมันก็เหมือนวันปิดเทอมธรรมดาๆวันหนึ่ง เพียงแต่ว่าวันเปิดเทอมนั้นจะไม่วนกลับมาอีกก็เท่านั้น
ข้อความที่ศิษย์เก่าของเราคนหนึ่งโพสต์ไว้หน้าเฟสบุ๊คส่วนตัว ทำให้อดไม่ได้ที่จะทักไป ถามไถ่ถึงสารทุกข์ สุขดิบ ความเป็นไป
และกับคำตอบที่ได้จากหลายประเด็นคำถามทำให้รู้สึกว่า “มุมคิดแบบนี้แหละที่อยากให้มีในเด็กๆของเรา”
ขอแบ่งปันเรื่องธรรมดาๆ ที่ไม่ธรรมดาของศิษย์เก่าเพลินพัฒนารุ่นที่ 4 “นายนภนต์ เยาวลักษณ์ (จิงโจ้)” หลังสำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ 1
ตอนนี้ทำงานที่บริษัท Atos IT Solutions & Services ในตำแหน่ง ABAPer (โปรแกรมเมอร์) ครับ เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม SAP ซึ่งเป็นโปรแกรมทางด้าน ERP ที่ใช้ในการบริหารองค์กร ข้อดีคือข้อมูลของแต่ละหน่วยงานในองค์กรจะเชื่อมต่อกันหมด เช่น บัญชี บริหาร คลัง ฝ่ายผลิต ส่วนมากจะใช้ในบริษัทใหญ่ๆ เพราะมีค่าลิขสิทธิ์ค่อนข้างสูงครับ บริษัทที่ใช้ในไทยก็เช่น Betagro Siemens รพ.ศิริราช ในส่วนที่ผมทำอยู่ตอนนี้จะอยู่ในทีมที่ดูแลให้กับลูกค้าต่างประเทศ หลักๆคือเยอรมันครับ ซึ่งในบริษัทจะซัพพอร์ตทั้งลูกค้าในประเทศและต่างประเทศครับ
ที่เลือกที่นี่เพราะเคยมีรุ่นพี่มาแนะนำเกี่ยวกับ SAP ให้ฟังครับ แล้วผมอยากได้งานที่ผสมระหว่าง business กับ สายที่เรียนมาอย่างเขียนโปรแกรมแล้วงานนี้เป็นอย่างนั้น รวมถึงเป็นงานที่เทคโนโลยีไม่เปลี่ยนไวเกินไปนัก เลยมาจบที่ตรงนี้ครับ
พอมาทำงานก็ไม่ต้องปรับอะไรมากนะครับเพราะในมหาวิทยาลัยเราก็ต้องรับผิดชอบในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แค่พอมาทำงานเราต้องรับผิดชอบมากขึ้นเพราะมีลูกค้ารองานเราอยู่ ก่อนส่งมอบก็ต้องเช็คให้ดี ต้องจดว่าต้องทำงานอะไรบ้างเพื่อไม่ให้ตกหล่น และงานมีเดทไลน์ชัดเจนขึ้น ห้ามเกินเพราะจะไปกระทบกับเวลาของส่วนอื่นๆ ที่คนอื่นต้องทำต่อหรือกระทบต่อความน่าเชื่อถือหรือร้ายแรงถึงบริษัทโดนปรับเงินครับ
เรื่องเรียนต่อที่มองไว้ก็สายการเงินครับ แต่ขอทำงานเก็บประสบการณ์ก่อนว่ามีช่องทางไหนให้ไปต่อ ถ้าต้องใช้ความรู้พวกนี้ก็คงไปเรียนต่อแต่ถ้ายังไม่จำเป็นก็คงยังครับ ส่วนเรื่องงานก็อยากจะเติบโตเป็น specialist ของ tool สักตัวหนึ่งใน sap ที่ปัจจุบันคนที่ทำได้มีไม่มากครับ
สิ่งที่ปรับใช้ได้ดีจากเพลินพัฒนาผมว่าตรงแนวคิดที่ให้ยอมรับความแตกต่างและรับฟังความคิดเห็นที่ต่างครับ ซึ่งมันสามารถเอามาใช้ได้ทั้งในรั้วมหาวิทยาลัยและการทำงาน เพราะเวลาทำงานไปย่อมมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน อย่างสายงานผมเส้นทางที่นำไปสู่ผลลัพธ์เดียวกันนั้นสามารถทำได้หลายวิธี บางทีเราก็คิดไม่เหมือนคนในทีมเราก็ต้องมีการมาถกกันว่าวิธีนั้นดียังไง ข้อเสียเป็นยังไง ถ้ามีข้อเสียทั้งคู่จะทำยังไงเพื่อรับความเสี่ยงนั้นได้ดีที่สุด คุยกันด้วยเหตุผลครับ
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2560