เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กๆกับค่าย F1 in School
ในช่วงปิดภาคเรียนนี้ (7-11 ตุลาคม 2567 ) ทาง KX: Knowledge Exchange ได้มาจัดค่าย F1 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองรถแข่ง Formula 1 ขนาดจิ๋ว...
เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมานักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายซึ่งในเทอมนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดของอำนาจ การเมือง และกฎหมายที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนและสังคม ได้เดินทางไปเรียนรู้ ณ รัฐสภาและศาลฎีกา ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในทางการเมืองการปกครองของประเทศไทย เป็นสองในสามของสถาบันทางการเมืองที่ทำหน้าในการใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย
ที่รัฐสภา หรือสัปปายะสภาสถาน นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของรัฐสภาในฐานะสถาบันทางการเมืองที่ทำหน้าฝ่ายนิติบัญญัติแทนปวงชนชาวไทย นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐสภาในการทำงานด้านนิติบัญญัติคือการตรากฎหมายต่างๆ ที่จะบังคับใช้กับคนไทย ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ทำหน้าที่สะท้อนปัญหาแทนพี่น้องประชาชนเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไข นอกจากนั้น นักเรียนยังได้สัมผัส ชื่นชม กับงานสถาปัตยกรรมของอาคารรัฐสภาซึ่งแฝงไปด้วยแนวคิดต่างๆ คติความเชื่อแบบไทยด้วย และมีโอกาสได้เข้าไปชมห้องประชุมสุริยันซึ่งเป็นห้องประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยมีเจ้าหน้าที่บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านด้วย
จากนั้น ได้เดินทางต่อไปยังศาลฎีกา เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและการทำงานของศาล ซึ่งถือเป็นองค์กรฝ่ายตุลาการที่ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีความต่างๆ เพื่อสร้างความยุติธรรมในกับผู้คนและสังคม นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาลชำนัญพิเศษต่างๆ เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับเส้นทางการเป็นผู้พิพากษา การเตรียมตัว การเรียน การสอบ จนกระทั่งได้มาเป็นผู้พิพากษา ซึ่งทำให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพผู้พิพากษามากขึ้น และนักเรียนยังได้ชื่นชมกับสถาปัตยกรรมของอาคารศาลฎีกา ได้ชมนิทรรศการ “ศาลฎีกานิทรรศน์” ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาและเกียรติภูมิของศาลฎีกาของประเทศไทยด้วย
การไปเรียนรู้ยังสถานที่สำคัญทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยทั้งสองที่นี้ นอกจากได้เรียนรู้เกี่ยวกับเกี่ยวบทบาทหน้าที่ความสำคัญแล้ว ยังทำให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของตนเองด้วย ดังที่นักเรียนได้เขียนสะท้อนความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ว่า…
ขอบคุณบทความโดย คุณครูสิปปกร จันทร์แก้ว (ครูแอร์) คุณครูสังคมศึกษา
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 14 มีนาคม 2567