การสำรวจความปลอดภัยอาคาร หลังเหตุแผ่นดินไหว และหลัง After Shock
เมื่อวานนี้ (31 มีนาคม 2568) โรงเรียนได้สำรวจผลกระทบต่อความปลอดภัยอาคาร หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม
หลังจากได้เรียนรู้เรื่องส่วนประกอบ และประสาทสัมผัสต่างๆ ในร่างกายแล้ว มาถึงสัปดาห์นี้คุณครูพาเด็กๆ ชั้น อ.2 ทำความรู้จักกับอวัยวะที่เรียกว่า “ข้อต่อ” กันบ้าง
เริ่มต้นคุณครูชวนเด็กๆ เคลื่อนไหวร่างกาย กำมือ กวักข้อมือ พับแขน ยกไหล่ หมุนแขน ขยับคอ หมุนเอว ก้ม งอขา ยกขา เตะขาไปข้างหน้า หมุนข้อเท้า ลุกนั่ง … เด็กๆทุกคนทำตามได้แบบสบายๆ ความคุ้นชินกับการเคลื่อนไหวที่อยู่ในวิถีชีวิต อาจทำให้เด็กๆ มองไม่เห็นหน้าที่สำคัญบางอย่างของร่างกายที่เรียกว่า “ข้อต่อ”
“ ให้เด็กๆ เคลื่อนไหวไปรอบห้อง โดยไม่ชนกัน โดยไม่พับแขน และไม่งอขา เคลื่อนไหวไปหยิบของ โดยไม่พับแขน ไม่งอขา /ยกขา และไม่กำมือ เคลื่อนไหวไปหยิบของ โดยไม่งอส่วนใดของร่างกายเลย ”
จบกิจกรรมนี้เด็กๆ รู้ได้ทันทีว่าข้อต่อมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตจริงๆ ทั้งช่วยหยิบจับ เคลื่อนไหว งอได้ หมุนได้ ขยับได้ พับได้ ถ้าไม่มีข้อต่อเราต้องแย่แน่ๆ
“ฐานมือขยับมหัศจรรย์” เด็กๆ สังเกตมือ และนิ้วมือตนเอง ลองขยับทีละนิ้ว สังเกตว่าตรงไหนคือข้อนิ้วมือ คุณครูชี้ให้เด็กๆสังเกต ตรงที่งอได้เรียกว่าข้อนิ้วมือ ลองนับว่าแต่ละนิ้วมีกี่ข้อ รวมทั้งมือมีกี่ข้อ และได้ทำมือขยับมหัศจรรย์
จบคาบเรียนนี้เด็กๆ ได้เรียนรู้เข้าใจ เห็นความสำคัญของ “ข้อต่อ” ง่ายๆ ผ่านคำถามชวนคิดและได้ทดลองลงมือทำด้วยตนเอง
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษ๓าคม 2565