ห้องเรียนพ่อแม่ : สร้างทุนชีวิต สร้างวิถีคุณธรรม

ห้องเรียนพ่อแม่ “พ่อแม่เพลิน…เรียนรู้” ครั้งที่ 5 ปีการศึกษา 2566

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมเพลินพัฒนา โรงเรียนเพลินพัฒนา

หัวข้อ “สร้างทุนชีวิต สร้างวิถีคุณธรรม”

วิทยากรโดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตรี

สรุปสาระสำคัญ

หลังจากรับชมคลิป คุณหมอชวนสะท้อนการเรียนรู้ – บ้านไหนให้ลูกทำงานบ้านเองบ้าง ?

ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยกมือแสดงตนว่าได้ให้ลูกช่วยทำความสะอาดบ้าน
คุณหมอขยายความว่า จิตวิญญาณสำคัญในการเลี้ยงลูกคือให้ช่วยงานบ้าน เนื่องจากจะได้ฝึก EQ
ฝึก Resilience หรือการล้มแล้วลุกเร็ว

สรุปเนื้อหา

การเจอกับความลำบากขั้นพื้นฐานของเด็กวัยเรียน ร่วมสู้ชีวิตกับผู้ปกครองโดยการทำงานบ้าน เพื่อเป็น
เด็กไทยหัวใจแกร่ง โดยที่ไม่ใช่การให้ลูกลงมือสู้ชีวิตด้วยตนเองเลย แต่ผู้ปกครองควรสนับสนุนให้ลูกเอาชนะ
อุปสรรคด้วยตนเอง ให้มีทักษะชีวิต รู้คิด จิตสำนึกก่อนเรียนเก่ง

Keyword สำคัญ “รู้คิด จิตสำนึกก่อนการเรียนเก่ง”

คุณหมอเสนอความคิดว่าให้ช่วงชั้นเลิกตัดเกรด ให้ใช้ฐานสมรรถนะแทน อาจส่งผลให้ผู้ปกครองอวดเกรดลูก และ
แชร์เกรดใน Social media จนทำให้ลูกรู้สึกกดดัน การทำงานบ้านสร้างวิถีคุณธรรมให้เด็กโดยที่ไม่จำเป็นต้องตัด
เกรด

  • แม่สู้ชีวิต เลี้ยงเด็กอย่างไรให้เป็นเด็กไทยหัวใจแกร่ง
  1. บ้านไหนที่พ่อแม่ทำดีให้ลูกดูอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นวิถีชีวิต ซึ่งเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ลูก พบว่าลูกมีจิตสำนึก
    เด็ก ๆ จะเรียนรู้โดยการซึม (ซับ) ทราบ
  2. จงนำลูกสู้ชีวิตไปด้วยกัน ตามพัฒนาการของลูก เช่น การปัดกวาดเช็ดถู ซึ่งเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิต
จากภาพสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ในขณะที่เด็กรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยี

ประเด็นที่คุณหมอชวนคิด : อยู่อย่างไรให้มีความสุข ในยุคที่มี Generation gap

กติกา VS กฎ

กติกาในการอยู่ร่วมกัน ต่างจาก กฎ อย่างไร

กติกากับกฎแตกต่างกันตรงที่กติกาเกิดจากความคิดของทั้งสองฝ่ายเป็นข้อตกลงกัน แต่กฎเกิดความคิด
ของฝ่ายเดียว เช่น กฎของโรงเรียน บุคลากรทุกคนในโรงเรียนต้องใช้ทุกคน โดยไม่มีใครใช้อำนาจหรือปฏิบัติ
ต่างกัน แต่เรื่องเครื่องแบบเป็นกติกาที่ใช้เพื่อป้องกันเรื่องความปลอดภัย เรื่องการลดความเหลื่อมลํ้า โดยที่ให้ใส่
เฉพาะนักเรียน ผู้อำนวยการไม่ต้องใส่ด้วย ทั้งนี้การใส่ชุดไปรเวท หากคนที่เตรียมใส่เครื่องแบบคือพ่อแม่แทนที่จะ
ให้ลูกเตรียมเอง ลูกจะไม่ได้ฝึกความรับผิดชอบ ก็ไม่ต่างอะไรจากการใส่เครื่องแบบ

เมื่อลูกลืมนำของมาโรงเรียน หากพ่อแม่วนรถกลับมาส่งลูก นอกจากจะส่งผลกระทบให้รถติดแล้ว
ลูกก็ไม่ได้วินัยและความรับผิดชอบของตนเองด้วย

ภาพถ่ายที่โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงที่ Pokemon Go กำลังเป็นที่นิยม

สะท้อนให้เห็นเมืองที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีคนแก่เดินข้ามถนน คนญี่ปุ่นหยุดรถให้คนแก่ข้ามก่อน
เป็นจุดเปลี่ยนคำนิยามของคำว่า “คุณธรรม” สร้างดัชนีชี้วัดคุณธรรม

เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี ปลูกฝังคุณธรรมให้เด็กได้จริงหรือไม่?

เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี ให้เด็กเรียนรู้วิถีคุณธรรมผ่านการท่องจำ เด็กจำได้เพราะต้องการล่ารางวัลในช่วงวัน
เด็ก จึงไม่ได้เข้าใจคุณค่าของวิถีคุณธรรม ไม่ได้เข้าใจหรือเห็นแนวทางการปฏิบัติจริงจากผู้ใหญ่ ในขณะที่บ้านเมือง
ยังมีผู้คนมากมายที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ แต่บังคับให้เด็กทำตามกฎเด็กจึงโตไปไม่ได้มีวิถีคุณธรรมติดตัว

เพราะอะไร เป็ดถึงเดินเป็นระเบียบได้?

เป็ดมีก้านสมองต่อเข้าไขสันหลัง จึงเรียนรู้เป็นเงื่อนไข ส่วนมนุษย์มีสมองส่วนอารมณ์ (Limbic) และมี
Brain executive function

ดัชนีชี้วัดคุณธรรม (Moral index)

หลักการสร้างเครื่องมือดัชนีชี้วัดคุณธรรม

  • คุณธรรมถูกถอดรหัสมาเป็นกลุ่มพฤติกรรมที่จับต้องได้ (Behavior)
  • กลุ่มพฤติกรรมถูกสะท้อนด้วยพฤติกรรมตามช่วงวัยในวิถีชีวิต (in the way of life)
  • เป็นแบบสำรวจด้วยการประเมินตนเองจากภายใน (Self-reflection)

ถอดบทเรียนการเลี้ยงลูกจากพี่เลี้ยงชาวพม่า

  1. ใช้ใจในการเลี้ยงลูก
  2. เป็นผู้ฟังที่ดี
  3. รับรู้และสะท้อนความรู้สึก
  4. ไม่มีอคติในการตัดสินเข้าข้าง
  5. เหลาความคิดให้ลูก โดยการถามว่า ถ้าเราโดนทำแบบนี้จะรู้สึกอย่างไร

ภาษาพาที

  • การกินไข่ต้มอย่างมีความสุข ยังไม่สามารถสะท้อนความพอเพียง ความพอเพียงคือต้องรู้จักประมาณตน
    หักห้ามใจตนเองได้ ไม่ไหลไปตามสังคม
  • เด็กป. 5 ยังไม่เข้าใจ Death perception ที่อยู่ในหนังสือภาษาพาที

คุณหมอเน้นยํ้าว่า

วิถีคุณธรรม ไม่เป็นนามธรรม ดูจากพฤติกรรม มีข้อตกลงร่วมกัน ไม่ใช่ข้อตกลงจากฝ่ายเดียว

คุณธรรมไม่ได้มีไว้ท่องจำ ให้แทรกในวิถีชีวิต

ตอนที่เด็กก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง มีเด็กโตที่กว่ายอมถอยให้น้องเล็กกว่าเดินไปก่อน พอน้องขาติด พี่ก็ช่วย
และจูงมือน้องมา เมื่อผ่านสิ่งกีดขวางมาได้น้องขอบคุณพี่ แสดงให้เห็นถึงความกตัญญู ส่วนเด็กคนโตที่ยอมสละให้
น้องไปก่อน ครูสะท้อนให้เด็กคนโตเห็นว่าเค้ามีความเสียสละ เป็นการสร้างคุณธรรมในชีวิตจริง

แนวทางการฝึกเด็กให้กำกับอารมณ์ตนเอง

การที่เด็กวาดรูปบนพื้นหรือขึงกระดาษไว้กับเชือก ทำให้วาดรูปยากขึ้น อาจจะมีเด็กที่โมโหเนื่องจากเจอ
สถานการณ์ที่ตนเองควบคุมได้ยาก ระเบิดอารมณ์ แต่เมื่อฝึกได้ เด็กจะได้ฝึกกำกับอารมณ์ตนเอง ทำให้เกิดความ
อ่อนโยน ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น

เด็กสามารถพัฒนาคุณธรรมได้ตั้งแต่เด็กเล็ก แต่ต้องชื่นชมให้ฟังด้วยว่า การที่ลูกช่วยแม่ทำงานบ้านช่วยเบา
แรงแม่ไปเยอะ แสดงถึงความกตัญญู เพื่อให้เด็กซึมซับความกตัญญู เป็นการแทรกคุณธรรมผ่านวิถีชีวิตโดนไม่ต้อง
ท่องจำ

การเตรียมระบบนิเวศให้พร้อมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม

กรณีเด็กท้องในวัยเรียน ถูกบีบออกนอกระบบ เมื่อต้องกลับมาก็จะถูกบูลลี่ ทำให้ไม่อยากกลับเข้าระบบ
สะท้อนให้เห็นระบบนิเวศที่ล้มเหลว หากเพื่อนอยู่ข้างกัน ไม่ล้อกัน เด็กจะพร้อมกลับมาในระบบ ทำให้คนดีมีที่ยืน
อย่าให้จนตรอก และใช้กฎหมายจัดการคนชั่ว เพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยงในการเปลี่ยนแปลงสังคม ใช้ Soft power เพื่อ
เปลี่ยนแปลงสังคม

คำถามแลกเปลี่ยน

  1. หากเด็กไม่มีบรรทัดฐานในสังคม คือ ไม่ได้ใส่เครื่องแบบแต่จอดรถเมื่อไฟเขียว ไม่ได้เรียงตามลำดับ
    คุณธรรม
    คำตอบ ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับคุณธรรม
  2. ที่ญี่ปุ่นมี 2 คนยังข้ามถนนไม่ได้ เราหยุดรอให้เค้าข้าม แต่คนอื่นไม่ยอม โดยจริยธรรมไปได้ ถือว่ามี
    คุณธรรมหรือไม่
    คำตอบ หากเป็นแบบนี้แสดงว่าสังคมเสื่อม เราจึงควรเริ่มวิถีคุณธรรมในครอบครัวก่อน ยังไม่ต้องกังวลถึง
    ระดับสังคม
  3. คนมีคุณธรรมอยู่ข้างหน้า คนไม่มีคุณธรรมบีบแตรอยู่ข้างหลัง เราควรสอนลูกหรือไม่
    คำตอบ ต้องผ่านสถานการณ์นั้นมาก่อน แล้วค่อยสอนลูกด้วยการชวนสะท้อนเหลาความคิดด้วย 3
    คำถาม คือ ลูกรู้สึกอย่างไร คิดเห็นอย่างไร ถ้าเกิดอีกจะแก้ไขอย่างไร
  4. การสอดแทรกคุณธรรมไปในระบบการศึกษาผ่านกระทรวงศึกษาธิการ ทำได้ยากหรือไม่
    คำตอบ ทำได้ยาก คุณหมอสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทำงานในช่วงพัฒนาดัชนีชี้วัดว่ามีเครื่องมือการๆ
    วัดคุณธรรมแล้ว หากนำไปใช้ในทุกจังหวัดจะได้เห็นว่าพฤติกรรมไหนของคนไทยเป็นปัญหาสังคม จะได้
    พัฒนายุทธศาสตร์พัฒนาชาติให้ดีขึ้น แต่สำนักงบฯ ไม่อนุมัติ

เมื่อลูกสาวต้องเรียนออนไลน์ในบ้าน เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างแม่กับลูก คุณแม่ได้เข้าร่วมหลักสูตร
ค่ายครอบครัวพลังบวก เปลี่ยนมุมมองการสร้างสัมพันธภาพท่ดี กี บั ลกู สร้างความแปลกใจให้ลูกเมื่อสังเกตเหน็ แม่ที่
เปลี่ยนไป เข้าใจลูกและคอยสนับสนุนมากขึ้น รวมไปถึงพ่อที่เปลี่ยนไปด้วย เมื่อนำคำแนะนำจากหลักสูตรมาใช้ที
ละนิด เมื่อพ่อแม่เปลี่ยนแปลง ลูกสาวก็เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เห็นอกเห็นใจเมื่อพ่อแม่ต้องทำงานหนัก และมีน้อง
คนเล็ก และพ่อแก่ที่ต้องดูแล ลูกสาวคนโตจะหุงหาอาหาร คอยดูแลพ่อแก่และน้อง ทำให้ครอบครัวนี้กลับมารักกัน
และเป็นครอบครัวที่อบอุ่น

สรุปสาระความรู้และเรียบเรียง โดย

คุณครูอรกช ไมตรี (ครูอิ่ม)

โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2566