เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
งานนำเสนอบทความวิชาการปลายภาคการศึกษาของนักเรียนกลุ่มวิชาสังคมเพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนเพลินพัฒนา ภายใต้หัวข้อ วิเคราะห์โลกผ่านมิติสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนได้นำเสนอบทความจากการศึกษาประเด็นทางสังคมที่ตนเองสนใจ
นักเรียน ชั้น 10 (ม.4) ศึกษาประเด็นทางสังคมภายใต้วิชา Social Issues ในเทอมนี้เน้นศึกษาความเปลี่ยนแปลงของชุมชนในหลากหลายมิติ ทำให้ได้เห็นหัวข้อการนำเสนอที่มุ่งเน้นอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ของชุมชน เช่น สังคมสมัยใหม่กับความเเปลกแยกของคนกับชุมชน, ปัญหาขยะ, ความเหลื่อมล้ำ, การท้องก่อนวัยอันควร, อาชญากรรม, ชุมชนแออัด และอื่นๆ อีกหลายหัวข้อ
นักเรียน ชั้น 11 (ม.5) ศึกษาประเด็นทางสังคมภายใต้วิชา Sustainable Development ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา ความยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ หัวข้อการนำเสนอของนักเรียนจึงมุ่งเน้นตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น ต้นทุนทางการศึกษา, ความเหลื่อมล้ำทางเพศ, ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากปัญหาCOVID-19, ความรุนแรง และอื่นๆ อีกหลายหัวข้อ
นักเรียน ชั้น 12 (ม.6) ศึกษาประเด็นทางสังคมภายใต้วิชา Social Innovation ซึ่งศึกษาโจทย์ทางสังคมและแนวทางการแก้ปัญหาหรือวิธีการ(นวัตกรรมทางสังคม)ที่จะตอบโจทย์ทางสังคมในมิติต่างๆ ได้ หัวข้อการเสนอของนักเรียนจึงมุ่งเน้นไปที่การอธิบายสภาพทางสังคมในมิติต่างๆ และนำเสนอแนวทางหรือวิธีการที่จะตอบโจทย์ทางสังคมที่ตั้งไว้ผ่านตัวแบบกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เช่น สังคมผู้สูงอายุ, พื้นที่สาธารณะ, ความมั่นคงทางอาหาร, คนไร้บ้าน และอื่นๆ อีกหลายหัวข้อ
ในครั้งนี้มีนักเรียนนำเสนอทั้งหมด 27 หัวข้อ โดยแบ่งหัวข้อการนำเสนอออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มการศึกษา กลุ่มทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กลุ่มประชากร และกลุ่มพื้นที่
การนำเสนอของนักเรียนในแต่ละหัวข้อ จะได้รับข้อคิดเห็น คำแนะนำจากวิทยากรภายนอกที่มาร่วมรับฟังด้วย และต้องขอบคุณ คุณพงศธร จันทร์แก้ว, คุณศุภวิชญ์ เเก้วคูนอก, คุณชยพฤกษ์ กองจันทร์ วิทยากรทั้ง 3 เป็นอย่างยิ่งที่มาร่วมรับฟังและให้ข้อคิดเห็นกับนักเรียน เพื่อเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในด้านสังคมต่อไป
ในช่วงท้ายของกิจกรรมจึงได้เปิดวงเสวนาเล็กๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้วิทยากรและนักเรียนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นต่างๆ โดยชวนให้วิทยากรอธิบายว่าหัวข้อการนำเสนอเหล่านี้มีความเป็นการเมืองอย่างไร, ทำไมเราต้องยืนอยู่บนฐานคิดแบบประชาธิปไตย, ในฐานะพลเมืองและเยาวชนจะทำอะไรได้บ้าง และประเด็นสุดท้าย เนื่องจากเราจัดงานนี้ในวันที่ 6 ตุลาคม จึงตั้งคำถามให้กับวิทยากรว่า “เรา(สังคมไทย)ควรเรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19”
ท้ายที่สุด บทบาทของโรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเปิดให้เสียงของนักเรียนได้ดังขึ้นทั้งเพื่อตัวเขาเองและเพื่อสังคมและคนรอบข้างที่พวกเขาสัมพันธ์ด้วย ร่วมกันสร้างโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เพื่อสร้างพลเมืองให้กับสังคมประชาธิปไตยค่อยๆ เติบโตต่อไปอย่างแข็งแรง
ข้อมูล ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2563