เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
วิทยากร: ศ. คลินิก พญ. วินัดดา ปิยะศิลป์
ห้องเรียนพ่อแม่ โรงเรียนเพลินพัฒนา
Zoom Meeting: 2 กุมภาพันธ์ 2564
การเรียนรู้ในโรงเรียนมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นมานานกว่า 400 ปีแล้ว แต่การเรียนรู้ออนไลน์เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง และสืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID ที่ยืดเยื้อและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเร็วๆ นี้ ทำให้ “บ้าน” มีโอกาสกลับมาเป็นฐานของการเรียนรู้ของเด็กๆ อีกครั้ง ส่งให้เกิดผลกระทบทั้งในแง่บวกและลบ อาจรวมไปถึงการเกิดสภาวะ “Burnout” ทั้งพ่อแม่ เด็ก และคุณครูได้ อย่างไรก็ตาม.. ในวิกฤตยังมีโอกาสหากเรามีทักษะและความสามารถมากพอที่จะใช้เป็นกุญแจเพื่อไขประตูแห่งโอกาสนั้นให้เปิดขึ้น ⛳
การเป็นคุณครูนั้นยาก เพราะต้องใช้ทั้งความมุ่งมั่นและอดทน เป้าหมายต้องชัดเจน การที่พ่อแม่ต้องพลิกบทบาทมาเป็นครูด้วยนั้น จึงต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ เพราะเรามีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย >> หากครูเชื่อมโยงอารมณ์กับนักเรียนได้ มีสัมพันธภาพที่ดี ก็จะนำพาเด็กๆ ไปสู่ความสำเร็จได้แบบไม่ยากนัก >> ฐานอารมณ์จึงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้โดยตรง ในสถานการณ์ที่พ่อแม่ต้องมีบทบาทของการเป็น “ครู” ด้วยนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องแยกแยะอารมณ์ของตนเอง รวมถึงประสบการณ์เก่าๆ ที่มีต่อลูกออกมาก่อนด้วย
เวลาที่เด็กเกิดความหงุดหงิดใจ โกรธ โมโห หากแม่อยู่ใกล้ อารมณ์ของเด็กก็อาจทำให้แม่หงุดหงิดตามได้ ปัญหาคือ แม่ดับไฟให้ตัวเองได้หรือไม่ หรือปลอบกันไปมา แม่พร้อมจะระเบิดตามไปด้วย😅 แต่หากแม่ฝึกฝนจนดับไฟตัวเองเป็น จะช่วยส่งต่อทักษะนั้นไปถึงลูกได้ด้วย
อย่างไรก็ดี หากเราแปลสัญญาณที่ลูกส่งออกมาไม่ถูก >> ดุว่ากลับ เช่น ช่วงเรียน online ลูกมีงานค้าง ลูกกำกับตัวเองให้เรียนไม่ได้ “ทำไมทำแบบนี้!” “ขี้เกียจนี่นา” >> เราไปว่า signal แต่เราไม่ทำความเข้าใจ >> กลายเป็นศึกแม่ vs. ศึกลูก >> สุดท้ายสัมพันธภาพก็ค่อยๆ เสียไปทีละนิด >> ลูกถอยห่างจากพ่อแม่😥
ทางแก้ >> ถ้าเรายังจะตะแบงไปเหมือนเดิม >> เรื่องยิ่งแย่😭 | แต่ถ้าเราแบ่งเวลาลงไปหาสาเหตุของปัญหา (Root Cause Analysis : RCA) + แม่ upgrade ตัวเอง เปลี่ยนตัวเองใหม่ พูดบ่นให้น้อยลง >> การเปลี่ยนแปลงของพ่อแม่ในทางที่ดีขึ้น จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูกด้วย🎉
เมื่อเป็นครอบครัว สมาชิกในบ้านสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกกันได้ แต่เมื่อมาโรงเรียน เด็กจะฟังก์ชั่นตัวเองอีกแบบ อาจจะไม่แสดงออกทางอารมณ์มากนัก สภาวะแวดล้อมจึงมีผลต่อการเรียนรู้เช่นกัน ยกตัวอย่าง หากโต๊ะเรียนหนังสือที่บ้านอยู่ในที่ที่มีสมาชิกเดินไปมาตลอด มีทีวี มีเสียงรบกวน เด็กก็จะรู้สึกเหมือนอยู่บ้านในวันหยุด การเรียนรู้ก็อาจจะเป็นไปในแบบที่ไม่ต้องตั้งใจมากนัก😅 หรือการที่พ่อแม่เปิดโอกาสให้มีของล่อตาล่อใจ..ในเด็กที่ยังไม่สามารถกำกับ ยับยั้งชั่งใจตัวเองได้ ก็อาจทำให้การฝึกและการเรียนรู้เป็นไปอย่างยากลำบาก
💓 เด็กจะเป็นสุข..เมื่อได้ทำสิ่งที่ชอบ
💗 เด็กจะเป็นสุขยิ่งขึ้น..เมื่อทำสิ่งที่ชอบสำเร็จได้
❤ เด็กจะเป็นสุขมากกว่า..หากทำสิ่งที่ไม่ชอบจนสำเร็จได้ด้วย!!!
👍 เปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูก >> เด็กเริ่มต้นจากผิดมากกว่าถูก
👍 การสะท้อนของพ่อแม่ในเชิงบวก >> มองเห็นข้อดีของความพยายามของเด็ก สะท้อนจากจุดเล็กๆ เชียร์อัพด้านบวก ปริมาณวันต่อวันที่ feedback ลูก ด้านบวกต้องมากกว่าด้านลบ!!
ในการฝึกฝน ช่วงที่เด็กทำได้น้อยลง เราชื่นชมและเชียร์มากขึ้น เด็กต้องมีต้นแบบของคนที่ล้มแล้วลุก เราเป็นต้นแบบของคนที่สู้ไม่ถอยหรือไม่ หรือเราเป็นต้นแบบของคนที่ล้มเลิกง่ายๆ ยากปุ๊บเลิก ซับซ้อนปั๊บหยุดทำ แบบนี้สิ่งที่พูดสอนกับสิ่งที่เป็นจริงไม่ไปด้วยกัน!
ความสุขกับความสนุกเป็นคนละเรื่องกัน😊 เราสุขแบบกลางๆ ได้ นิ่งๆ ได้ สุขแต่ลำบากได้ เช่น งานหนักยากลำบากแต่ก็ไม่ได้รู้สึกแย่ ยิ่งงานยาก งานซับซ้อนก็ต้องตั้งมั่นที่จะผ่านอุปสรรคไปให้ได้
“Grit” หรือ “ความเพียร” คือการมี Passion และ Perseverance ความอึดในการต่อสู้เพื่อเป้าหมายระยะยาว เราพากเพียรทำมันอย่างหนักเพื่อให้เป้าหมายนั้นกลายเป็นความจริง ให้การใช้ชีวิตแบบนี้เป็นเหมือนการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งแบบ sprint – Angela Lee Duckworth, Professor, Psychology, Univ. of Pennsylvania
เวลาพูดถึงเป้าหมาย เราฝึกลูกโดยเริ่มจากเป้าหมายระยะสั้นก่อน แก้ไปทีละเปลาะ >> ฝึกจนเป้าหมายระยะสั้นสำเร็จ >> ชื่นชม >> แล้วขยับไปเป้าหมายระยะกลาง และระยะยาวตามลำดับ อย่าพูดถึงเป้าหมายบ่อยครั้งมากจนเกินไป และเป้าหมายที่ดีต้องเกิดจากตัวลูกเอง ไม่ใช่..เป้าหมายที่เกิดจากความต้องการหรือการยัดเยียดของพ่อแม่
การฝึกฝนแบบเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ >> จะมองหาจุดอ่อน >> แล้วฝึกฝนซ้ำๆ >> ดู Feedback >> ทำอีก ฝึกอีก >> จนกว่าจะแก้ไขและพัฒนาจุดอ่อนนั้นๆ ได้
มีความหวัง ไม่เคยล้มเลิกแม้ครั้งนี้จะล้มเหลว จะเฝ้ามองหาโอกาสและวิธีการที่จะพัฒนา หากสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในตัวพ่อแม่ เด็กจะเรียนรู้ผ่านการซึมซับจากพ่อแม่ มากกว่าการที่พ่อแม่เฝ้าบอกเพียงอย่างเดียว!!
สุดท้ายนี้ การมีลูกจะทำให้เราพ่อแม่เก่งขึ้น อดทนขึ้น มีความสามารถมากขึ้นนะคะ ขอให้คุณพ่อคุณแม่อย่ากลัวปัญหา ปัญหามีไว้ให้แก้ไข เป็นกำลังใจให้ทุกบ้านค่ะ
ขอบคุณสรุปบทความ โดย คุณจันทิมา ตั้งวณิชกุล (แม่บิว)
คุณแม่น้องพุฒิ ชั้น 5 น้องพีค น้องพราว ชั้น 2
ข้อมูล ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564