เราคือสิ่งแวดล้อมของกันและกัน
ตั้งใจเข้ามาช่วยงานโรงเรียน เพราะเชื่อว่าเราคือสิ่งแวดล้อมของกันและกัน และเพราะเด็กคนหนึ่งต้องใช้คนทั้งหมู่บ้านช่วยกันเลี้ยงดู (It takes a village to raise a child.)
เปิดชั้นเรียน “หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย” ชั้น ๕ โดยคุณครูสาธิตา รามแก้ว เพื่อให้เพื่อนครูได้ร่วมสังเกตวิธีจัดกระบวนการเรียนการสอนในงานชื่นใจ…ได้เรียนรู้(ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ ๑๒
เสือ แสวง โค เสือ
โจม จับ เคี้ยว ซุ่ม
กระ หยับ ขบ คอย
เสือ ยอบ ย่อง เสือ
เสือแสวงโคเคี้ยวขบ หยับจับ
เสือซุ่มคอยขบหยับ จับคี้ยว
เสือย่องยอบหยับจับ เคี้ยวขบ
เสือกระโจมจับเคี้ยว ขบหยับ จับเคี้ยว
กิจกรรมที่คุณครูนำพาเด็กๆ ให้เรียนรู้ คำซ้อน คำซ้ำ คลังคำไพเราะ รวมไปถึงวีธีการลำดับการสร้างกลโคลงโดยเริ่มจากคิด ลงมือทำก่อนสรุปความรู้ด้วยตัวเอง เมื่อเข้าใจฉันทลักษณ์ “โคลงประดิดเดกเหล้น” ก็ถึงเวลาที่เด็กๆได้ท้าทายแต่งโคลงจากโจทย์ที่คุณครูให้
“ตื่นเต้น สนุก แต่งยาก ต้องคิดคลังคำ เหมือนได้กลับเป็นคนสมัยก่อนได้เล่นอะไรที่ไม่เคยเล่น คนโบราณมีความละเอียดกับวิธีคิดมากกว่าสมัยนี้ ยากกว่าเกมส์ยุคนี้ จะนำทักษะที่ได้ไปใช้ แต่งโคลงที่สละสลวย นำไปใส่ในชิ้นงานต่างๆ ….”
“เป็นตัวอย่างกระบวนการที่ครูไม่ได้สอนตัวโคลง… ในอดีตเราเรียนรู้จากทฤษีแล้วค่อยมาสู่การปฏิบัติ แต่กระบวนการนี้คือการลงมือปฏิบัติแล้วค่อยสรุปเป็นทฤษฎี โดยเด็กคิดทฤษฎีเองด้วย การเรียนจากของจริงก่อนจึงจะทำให้คนคิดเป็น”
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2560