จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
ห้องเรียนพ่อแม่ “พ่อแม่เพลิน…เรียนรู้” ครั้งที่ 4 ระดับชั้น 1 ปีการศึกษา 2566
วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมเพลินพัฒนา โรงเรียนเพลินพัฒนา
หัวข้อ “การอ่าน” โลกที่ 2 ของชีวิตและการนำพาสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง
วิทยากรโดย หมอแพม – พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี (เจ้าของเพจ “หมอแพมชวนอ่าน”) และ ครูใบปอ – อ้อมขวัญ เวชยชัย ผู้ก่อตั้งโรงแรม Cream โรงแรมมหัศจรรย์
หมอแพม – พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี (เจ้าของเพจ “หมอแพมชวนอ่าน”)
Cognitive ความฉลาด
Social- emotional ทักษะทางสังคม และอารมณ์
สถานการณ์ปัญหาตัวอย่าง
ใช้หนังสือเป็นสื่อ เพื่อแทรกซึมคุณค่าผ่านเรื่องราวในหนังสือ
ตัวอย่างหนังสือ ชื่อเรื่อง ทำไมฉันถึงรู้สึกอย่างนี้นะ
ให้เขาได้ทบทวนความรู้สึกจากตัวอย่างเหตุการณ์ที่หลากหลายที่ได้พบในหนังสือ
และสุดท้ายเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ว่า…
ดังนั้น หนังสือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เขาได้เรียนรู้ทักษะทางความคิด ภาวะอารมณ์ และการแก้ปัญหาความรู้สึกด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถสอนเขาได้โดยไม่ตัดสินแต่ให้เขาได้หาคำตอบผ่านการอ่าน
Self-esteem Attachment
Metacognition – ความคิดอย่างละเอียดลึกซึ้งของมนุษย์ (ฉันรู้…ว่าฉันคิด)
Coping – การเผชิญปัญหา และ การจัดการอารมณ์ของตนเอง
Empathy – หนังสือช่วยในเรื่องมิติด้านความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง
ตัวอย่างหนังสือ นิทานเสนอการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย ชื่อเรื่อง หนูนิดไม่อยากแปรงฟัน
ส่วนประกอบของการอ่าน
การอ่าน กับ การสะกดคำ ไม่เหมือนกันแต่สุดท้ายจะนำไปสู่การเข้าใจ “ความหมาย”
ทำไมเราถึงอ่านออกแต่ไม่เข้าใจ?
“ช่องว่างที่ไม่มีวันตามทัน”
คำศัพท์ที่เด็กรู้อยู่แล้ว จะเป็นตัวกำหนดว่า เขาจะเข้าใจที่ครูพูดมาก น้อยแค่ไหน
เด็กจะมีทัศนคติและพฤติกรรมการอ่านเหมือนกับพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่อ่านหนังสือเพื่อความบันเทิง ลูกก็จะทำสิ่งเดียวกัน
“สัจธรรมเกี่ยวกับการอ่าน”
มนุษย์จะทำสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขซ้ำๆ
ㆍการอ่านเป็นทักษะที่เพิ่มพูนได้
ㆍดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อให้เด็กที่เราเลี้ยงดู อ่านออกเขียนได้ คือ สอนให้พวกเขาอ่าน และแสดงให้เค้าเห็นว่าการอ่านเป็นกิจกรรมที่มีความสุข
ครูใบปอ – อ้อมขวัญ เวชยชัย ผู้ก่อตั้งโรงแรม Cream โรงแรมมหัศจรรย์
กิจกรรม เล่านิทาน TIBO
กิจกรรมพิพิธภัณฑ์ข้าวของประหลาดแห่งโรงเรียนเพลินพัฒนา
“ถ้าจะชวนกันมองให้ลึกลงไป หัวใจของนักอ่านอาจเริ่มต้นจาก หัวใจที่หลงใหลในเรื่องเล่า”
ดังนั้น…. ต่อให้เด็กที่เล็กที่สุดก็มีความหลงใหลในเรื่องเล่า และชอบเล่าเรื่องได้
ความมหัศจรรย์กับการเรียนรู้
‘ความมหัศจรรย์’ เป็นสารตั้งต้น เป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับเรื่องเล่าในหัวใจเด็กๆ มากมาย
เด็ก ๆ ชอบเรียนเรียนรู้ผ่านการสำรวจ และเรียนรู้ผ่านการสังเกต และทำความเข้าใจตีความสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และเด็ก ๆ ยังสามารถ… เล่าเรื่องราวผ่าน ร้อยภาษา ของตนเอง
หากไม่สามารถเขียนได้เด็กๆ จะมีความเข้าใจทางภาษาของตันเอง เช่น เล่าเรื่องราวผ่านการปั้น หรือการวาด ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้คุณค่ากับการสื่อสารของเด็ก ๆ
ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจกับ ‘ธรรมชาติของเด็ก’ เพื่อทำงานกับ ‘พลังความกระหายใคร่รู้’ ที่เด็ก ๆ มีอยู่แล้วในเนื้อในตัวเพื่อสร้างหัวใจที่รักในการอ่านอย่างยั่งยืน
การอ่าน ควรเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ
การอ่าน เกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง
มองไปทางไหนก็ อ่าน ได้เสมอ
…. เด็ก ๆ จะอยากอ่านได้เมื่อเราสื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน ….
การสะสมคลังคำจากการอ่าน จะทำให้เด็ก ๆ
มีประสบการณ์คลังคำที่หลากหลายและน่าสนใจ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดการเรียนรู้
…
หลังจบห้องเรียนพ่อแม่ในวันนี้ ทางโรงเรียนเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกท่าน จะได้รับความรู้ สาระดีๆ และประโยชน์ ที่สามารถนำไปต่อยอด และปรับใช้กับบุตรหลานของตนไม่มากก็น้อย สิ่งสำคัญคือการได้ตระหนักอย่างแท้จริงว่า “การอ่าน” นั้นเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ เป็นดั่งโลกใบที่ 2 ของเขา ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง พัฒนา และเติบโตอย่างสมบูรณ์
แล้วพบกันอีกครั้งในห้องเรียนพ่อแม่ครั้งต่อไป
——————–
ประมวลสรุปความรู้จากห้องเรียนพ่อแม่ โดย
ทีมคุณครูภูมิปัญญาภาษาไทยชั้น 2
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2566