เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
• เด็กปฐมวัยเรียนรู้ได้ตลอดเวลาผ่านการเล่น เด็กเห็นทุกอย่างในวิถีชีวิตเป็นการเล่น เพียงแต่ย้ายฐานการเรียนรู้มาอยู่ที่บ้าน
• เด็กต้องการเรียนรู้ชีวิตจากพ่อแม่คนใกล้ตัว ชีวิตที่สุขง่ายๆ
• เด็กอยู่ที่ไหนการเรียนรู้อยู่ที่นั่น พ่อแม่คือเพื่อนร่วมจัดการเรียนรู้ จึงมีความยืดหยุ่นไม่ต้องเคร่งเครียดกับการจัดการเรียนรู้ที่เป็นรูปแบบมากเกินไป
• คุณครูคือนักออกแบบการเรียนรู้ ทำให้วัสดุ อุปกรณ์รอบตัวภายในบ้านเป็นเรื่องเรียนรู้ที่พ่อแม่สามารถจัดหาได้ง่ายร่วมกับการใช้สื่อในกล่องเพลินเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับลูก
• HBLC มีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะชีวิต ในบทเรียนที่คุณครูออกแบบจึงฝึกให้เด็กๆ รับผิดชอบชีวิตประจำวันทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
เด็กปฐมวัย เมื่อชวนทำกิจกรรมใดๆ ควรเริ่มจากความรัก อย่าเพิ่งบังคับ เพราะเด็กเล็กๆ เห็นทุกอย่างป็นเรื่องเล่น แม้แต่เรื่องทำงานบ้านก็เป็นเรื่องเล่น คำว่าเล่นของเขาไม่ใช่แค่เล่นสนุก แต่เบื้องหลังของความสนุกคือธรรมชาติของเด็ก เด็กอยากทดลองทำเหมือนผู้ใหญ่ นี่คือพลังการเรียนรู้ของเด็ก เด็กชอบทำอะไรกับพ่อแม่ เวลาของงานบ้านจึงเป็นโอกาสที่จะชวนมาทำอะไรด้วยกัน ส่งผลดีต่อเด็กหลายๆ ด้าน
– หัวใจพ่อแม่ต้องยืดหยุ่น
– หัวใจของเด็กต้องมีพลังการเรียนรู้
– หัวใจของคุณครูต้องเข้าใจสถานการณ์พ่อแม่
หัว และ ใจของเด็กต้องขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้วยพลังอยากลอง อยากรู้ อยากลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โอกาสช่วยสร้างใจ ให้มีพลังการเรียนรู้ และพลังรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ บางครั้งถ้าเราตั้งใจจัดการเรียนรู้มากเกินไป จะพบว่าแม้คุณครูจะใส่กล่องเพลินไปให้เต็มกล่อง ทำไม่นานก็หมด แต่ถ้าเราเริ่มด้วยให้เด็กเกิดความสงสัยในสิ่งนั้น ตั้งโจทย์ให้ตัวเอง อยากลองทำอะไรดูบ้าง จะพบว่าเด็กจะเล่นไม่เบื่อ เขาจะใช้เวลาเล่นกับตัวเองโดยไม่มีพ่อแม่ได้ หากพ่อแม่ต้องคอยประกบช่วยจะรู้สึกเหนื่อย เกิดความกังวลว่าจะทำถูกไหม ไม่เก่งเหมือนครู ซึ่งจะเกิดความเครียดตามมา
คุณครูมีโจทย์ให้พ่อแม่ชวนลูกๆ จัดวางขวดที่หาง่ายๆ ภายในบ้านให้มีระยะห่างเท่าๆ กันพอดีกับจังหวะก้าวของลูก เมื่อเริ่มต้นกิจกรรม สมองต้องคิดทันทีเพื่อกะระยะ ใจทำอย่างไรให้รู้สึกเชื่อมั่นเพื่อพาตัวเองกระโดด ในกระบวนการทำคุณครูอาจมีการสอดแทรกความรู้ เช่น ให้กระโดด 5 ขวดเมื่อมั่นใจแล้วเพิ่มอีก 2 ขวดรวมแล้วได้เท่าไหร่ เด็กๆ จะได้ประเมินความสามารถของตัวเองอาจปรับเพิ่มหรือลดได้ พ่อแม่สามารถชวนลูกทำ คิดวางแผน สรุปการเรียนรู้ ทำแล้วรู้สึกอย่างไร ได้เรียนรู้อะไร พ่อแม่ต้องวางใจให้ลูกทำเอง คิดเอง เพื่อฝึก EF ให้ลูกด้วย นอกจากขวดแล้ว อาจเป็นสิ่งต่างๆ รอบตัวที่หาได้ง่ายภายในบ้านก็สามารถสร้างการเรียนรู้ได้ เมื่อเด็กๆ เรียนรู้อย่างมีความสุขโดยมีพ่อแม่ร่วมสนุกด้วย จะค่อยๆ พัฒนาให้ลูกทำได้ด้วยตัวเองในที่สุด
สำหรับเรื่องยากที่ไม่คุ้นเคย และทักษะใหม่ๆ พ่อแม่อาจทำให้ดู พาทำ จากนั้นจึงให้ลูกได้ทดลองทำ โดยมีเราคอยเชียร์ ตั้งคำถาม ทำอะไรต่ออีก เมื่อคล่องแล้วจึงปล่อยให้ลูกได้ทำด้วยตัวเอง
การทำงานศิลปะกับวิทยาศาสตร์ เช่น เล่นสีน้ำบนกระดาษเปียก เมื่อเด็กหยดสีลงไป จัดบทบาทให้เด็กลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ไม่ต้องนำใจด้วยการพยายามสอนการผสมสีโดยไปวางเป้าที่ความรู้ แต่ควรเน้นเป้าคือ “กระบวนการ” หลอมรวมพลังความอยากรู้ อยากทดลอง สงสัย ลงมือทำด้วยตัวเอง ไม่นำใจและตามดูเขาเล่น เด็กจะพยามทดลอง เล่นสีเดียวอาจจะใช้เวลานานมาก ปล่อยให้ลูกได้ค้นหาคำตอบด้วยมือเขา ตัวเขา ใจเขา เมื่อเรามีเป้าเพื่อนำเขาไปอาจทำให้สูญเสียเป้าในตัวเขาอีกหลายๆอย่าง
บทบาทของพ่อแม่ ให้ใช้คำถามปลายเปิดให้เป็น นั่งเฝ้าดูลูกให้เป็น ตื่นเต้น ชื่นชม ให้เป็น ฝึกเป็นพ่อแม่ที่ตามดูลูกเล่นแล้วเราจะได้ยินเสียงของเด็ก ลูกอาจจะดีใจที่ผสมสีแล้วได้สีดำแต่ไม่ใช่เป้าของเราเลย นี่คือสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง โดยมีเรานั่งข้างๆ คอยเป็นกำลังใจ รับรู้สิ่งที่ลูกตื่นเต้น ค้นพบ สร้างโอกาสให้ลูกค้นคว้า ทดลอง โดยมีขอบเขตความปลอดภัย ไม่ทำให้ตัวเองบาดเจ็บ ไม่ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ ไม่ทำให้ข้าวของเสียหาย
เด็กวัยนี้ยังไม่ค่อยเข้าใจอารมณ์ของตนเอง พ่อแม่ควรชวนคุยเมื่อเสร็จกิจกรรม รู้สึกอย่างไร … ตื่นเต้น เบื่อ ยากจัง ทำไม่ได้ ไม่มั่นใจ ทำพลาด ทำไม่ได้ เพราะอะไร ทำแล้วรู้สึกดีกับตัวเองในเรื่องอะไรบ้าง เกิดคุณค่าอะไรบ้าง มีความเพียรพยายามไหม ต้องทำตามกติกา ตั้องยับยั้งใจ นี่คือต้นทุนสำคัญให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ และกำกับอารมณ์ของตนเอง เมื่อพ่อแม่เข้าใจลูก รับฟัง ความรู้สึก ในที่สุดลูกจะเชื่อฟัง พูดอะไรก็อยากทำตาม เมื่อลูกเข้าสู่วัย pre- teen ลูกจะกล้าแบ่งปันความรู้สึก ลูกวางแผนอย่างไร ลูกจะค่อยๆ สะท้อน เป็นการใช้ EF คู่ขนานไปกับ self
ระหว่างพ่อแม่ก็ต้องรับฟังกัน Reflection จึงมีประโยชน์ทั้งเด็กและพ่อแม่ เด็กจะจำได้ว่าพ่อแม่ฟังเขา เมื่อโตขึ้นเขาจะยอมรับความรู้สึกที่แท้จริงเสมอ ไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดที่พ่อแม่คาดหวัง ไม่ต้องกดความรู้สึกที่แท้จริง เราคือ“พ่อแม่ที่มีอยู่จริง” ที่อบอุ่น มีความมั่นคงปลอดภัย ฟังลูกได้ทุกความรู้สึก ทุกความคิด เป็นที่พึ่งพิงทางใจให้ลูก
A : หากพบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ส่งสัญญาณเงียบๆ ด้วยสายตา แตะเบาๆ ให้เขารู้สึกไม่เสียหน้า อย่าว่าลูกต่อหน้าคนอื่น ลูกจะต่อต้านไม่ยอมทำ เมื่อเอาขาลง แม่ชื่นชม เขาจะจำได้และจะค่อยๆ ปรับพฤติกรรม แต่ถ้าว่าบ่อยๆ จะเป็นการกระตุ้นให้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
มารยาทเป็นเรื่องของการฝึกสติ รู้จักกาลเทศะ สถานการณ์ไหนได้หรือไม่ได้ เริ่มจากเป็นข้างเดียวกับลูก อยู่บ้านเราอาจจะทำได้ แต่ข้างนอกทำไม่ได้ “มันโป๊” (พูดในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียดเกินไป) เราสามารถเตือนกันได้ ส่งสัญญาณด้วยภาษากายซึ่งจะนำพาไปสู่การรู้ใจกันและกัน
ให้อิสระภายในขอบเขตเวลา ให้เขาได้เลือกว่าจะทำอะไร วางเป้าหมายอย่างไร เขาควรต้องเห็นภาพรวมบางอย่าง
เช่น ถ้าทำสิ่งนี้ช้า จะได้ทำอีกสิ่งน้อยลง
A: เป็นเรื่องที่ดีที่ลูกอยากช่วยเหลือตนเอง ทำให้เสร็จ แต่เขายังขาดทักษะเรื่องเวลา เราต้องเชื่อมไปข้างหน้า ต้องทำอะไรต่อ ตั้งคำถาม ลูกจะทำตรงนี้ต่อไป หรือเราจะทำให้เร็วขึ้นเพื่อไปทำอีกอย่าง ถ้าข้างหน้าไม่ได้เร่งรีบ เราอาจมองคุณค่าของการได้ช่วยเหลือตัวเองและค้นพบว่าตัวเองทำได้เป็นเรื่องใหญ่ก็ให้เวลากับเขา กล้ามเนื้อมืออาจยังไม่แข็งแรง เขาจะไม่ทำช้าเช่นนี้ไปตลอดชีวิต ทำช้าคือสัญญาณว่าหนูต้องการโอกาสทำซ้ำบ่อยๆ แล้วจะค่อยๆพัฒนาทำได้เร็วขึ้น ให้ดูตามสถานการณ์
A: ลูกนอนดึกไหม ตื่นนอนด้วยวิธีไหน อารมณ์ความรู้สึกเป็นอย่างไร 5 นาทีแรกหลังจากตื่นนอนสำคัญมาก หาสาเหตุช้าเพราะอะไร สภาพแวดล้อมชวนเล่นมากไปหรือไม่ หรือปัญหาจากการนอน พ่อแม่ต้องย้อนมองตนเองว่าต้องเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไรบ้าง เมื่อเราเปลี่ยน ลูกจะเปลี่ยน ทำบรรยากาศระหว่างทางให้เป็นเรื่องสนุก ควรเล่นบทส่งเสริม ไม่ใช่กดดัน เมื่อลูกมีปัญหาพฤติกรรม พ่อแม่ควรตั้งคำถามว่า “เราจะช่วยอะไรลูกได้” ไม่ใช่ “จะจัดการลูกอย่างไร” หัวใจคนเป็นพ่อแม่ต้องมี Empathy เข้าใจกันและกันเป็นฐาน ทุกอย่างจะง่าย ผ่อนคลายขึ้น สร้างความพร้อมเริ่มตั้งแต่ปรับเวลานอน เมื่อพร้อมทางกาย ใจก็จะพร้อมตามไปด้วย
เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจมิติของเวลา (Space of time) อาจใช้การนับ 1 – 10 ขณะแปรงฟันเป็นการสอนคณิตศาสตร์ไปด้วย ถ้าเสร็จแล้วเป้าหมายต่อจากนี้จะทำอะไร เช่นอาบน้ำกัน ถ้าหนูมัวแต่เล่นเราก็จะเหลือเวลาอาบน้ำน้อยลง จะช่วยให้ง่ายมากขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นขอบเขตความปลอดภัย ขอบเขตของเวลา เขาจะสามารถวางแผน จัดการตัวเองได้ ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับความรับผิดชอบ และเป้าหมายของชีวิต
เราอยากสั่งลูกไปตลอดชีวิต หรืออยากให้ลูกสั่งตัวเองได้ ให้เขาเห็นขอบเขตเวลา ให้อิสระภายในขอบเขตเวลาให้เขาได้เลือกว่าจะทำอะไร วางเป้าหมายอย่างไร เขาควรต้องเห็นภาพรวมบางอย่าง เช่นถ้าทำสิ่งนี้ช้า จะได้ทำอีกสิ่งน้อยลง ซึ่งเป็นการฝึกให้เด็กได้รับผิดชอบจัดการเวลาด้วยตัวเอง ในที่สุดเด็กจะมีทักษะ EF เรื่องการประเมินและจัดการตัวเองได้ เขาสามารถ ชื่นชม หรือดุตัวเองได้ และอยากจะทำให้ดีกว่านี้ได้ด้วยตัวเอง บทบาทของพ่อแม่คือการชื่นชม ให้กำลังใจ เพราะลูกยังอยู่ในห้วงเวลาของการฝึกฝน
เทคโนโลยีไม่ใช่ผู้ร้าย เป็นเครื่องมือที่ช่วยเราได้มากแต่ต้องมาในเวลาที่เหมาะสม จังหวะที่พอดีกับวัย
A: ควรหน่วงเวลาการดูหน้าจอไว้ให้นานที่สุดเพราะเด็กสามารถเข้าถึงได้ง่ายอยู่แล้ว 2 ขวบควรปลอดจากหน้าจอ ควรชวนให้ลูกอยู่กับกิจกรรม Active ได้ใช้ประสาทสัมผัส (Sense) มากๆ เพื่อไวต่อการรับข้อมูล ให้สมองได้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เป็นเด็กที่ช่างสังเกต ช่างสงสัย “ดูจอ น้อย Sense จะมาก ดูจอมาก Sense จะน้อย” สมองรับสัมผัสเข้ามาและเกิดการตอบสนองจะแข็งแรงติดตัวไปได้ยาวนานหรือไม่ก็วัยนี้
สำหรับเด็กวัยนี้ Sensing คืออาหารหลัก การใช้จอสามารถใช้ได้บ้างสั้นๆ น้อยๆ ผ่านจอที่ใหญ่อย่างไอแพดโดยต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยเสมอ เช่น เพื่อพบหน้า ปู่ย่าตายาย โดยพ่อแม่สามารถกำกับลูกได้ และเป็นลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ ไม่ใช่สื่อหรือเกม สร้างกิจวัตรการพบหน้าผ่านจอเป็นเวลา เทคโนโลยีไม่ใช้ผู้ร้าย เป็นเครื่องมือที่ช่วยเราได้มากแต่ต้องมาในเวลาที่เหมาะสม จังหวะที่พอดีกับวัย มีสติใช้เป็นเครื่องมือเพื่อรับใช้หัวใจของเรา
A : วัยนี้เป็นวัยทดลอง การออกแบบกิจกรรมยังมีการฉีก ตัด แปะ เพื่อให้เด็กได้พยายามใช้มือ สร้างความมั่นใจว่ามือทำอะไรได้หลายอย่าง เมื่อเข้าใจธรรมชาติ จึงสร้างโอกาส พร้อมๆ กับกาลเทศะและขอบเขต เช่นหากระดาษที่ไม่ได้ใช้ฉีกใส่ตระกร้า (กระดาษอื่นฉีกไม่ได้) เมื่อฉีกแล้วก็นำมาติด ให้ลูกทำด้วยตัวเอง เกิดการทดลอง เรียนรู้
ว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ ควรตอบสนองในเชิงบวกเพื่อให้เป็นการพัฒนาเขา และสะท้อนผลให้ลูกเห็นด้วย
การฉีกของเด็กแต่ละช่วงวัยก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจแยกเฉดสีของกระดาษที่ฉีกโดยสามารถทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ถ้าเด็กเริ่มเคยชินกับการเล่นของเขา คิดวิธีเล่นที่ซับซ้อนและต่อยอดของเล่นของเขาได้เรื่อยๆ เด็กจะอยู่กับงานตรงหน้าได้นาน และกำกับเป้าหมายการเล่นด้วยตัวเขาเอง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อลูก เมื่อทำเสร็จ พ่อแม่อาจจะท้าทายความคิด ด้วยการให้โจทย์ต่อโดยเตรียมอุปการณ์ให้เด็กได้เลือก หลังจากนั้นให้เด็กสะท้อนความรู้สึก สนุกไหม อยากทำอะไรต่อ ถ้าเรามองเห็นโอกาสในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ เราจะรู้สึกเบา เราไม่ต้องเป็นเพื่อนเล่นตลอดเวลา หรือเป็นครูอยู่ข้างๆ หรือไปกำกับการเล่นของเขา
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564