จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
“ กินดีอยู่ดี วิถีเพลิน ” แนวคิดภาคสนาม ชั้น 2 ที่จัดขึ้นภายในโรงเรียน ภาคเรียนวิมังสา ปีการศึกษา 2564 เพื่อให้เด็กๆ ซึมซับคุณค่าวิถีชีวิตในอดีตและยังคงคุณค่าอยู่ถึงปัจจุบัน ได้เรียนรู้ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิต ลักษะการกิน วัตถุดิบท้องถิ่น เรียนรู้การปรุงอาหารอย่างรู้คุณค่าที่ถ่ายทอดกันมาในชุมชน เพื่อให้เด็กๆเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้น
.
“ลุงพวง” วิทยากรใจดีของเด็กๆ หลายต่อหลายรุ่น ได้มาร่วมบอกเล่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เล่าเรื่องการละเล่นไทยในอดีต และชวนเด็กๆ สนุกกับการละเล่นไทย “อีตัก” ของเล่นจากธรรมชาติที่อาศัยเพียงเมล็ดมะขาม และใบไม้ โดยผู้เล่นต้องโปรยเมล็ดจำนวนเท่าๆ กัน แต่ละคนจะพับใบไม้เป็นรูปช้อนสำหรับตัก จะต้องตักเมล็ดมะขามตามจำนวนที่ตกลงกัน หากช้อนไปกระทบเมล็ดอื่นจะหมดสิทธ์ในการเล่น ต้องเปลี่ยนให้คนอื่นเล่นต่อ ใครตักเมล็ดมะขามได้จำนวนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ขณะที่ “ป้าจู” ก็ได้มาร่วมบอกเล่าลักษณะการกิน วัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อประกอบอาหาร และพาเด็กๆ ทำขนมกล้วย นึ่งร้อนๆเป็นอาหารว่างช่วงสาย
.
ในช่วงบ่ายเด็กๆ ได้สวมบทบาทเป็นพ่อครัว แม่ครัวตัวน้อย ลงมือทำอาหารด้วยตัวเอง โดยวางแผนการทำงานเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่ คิดเมนู เตรียมวัตถุดิบ ลงมือปรุงอาหาร ได้เรียนรู้วิธีการทำอาหารจากวัตถุดิบต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากพืชอย่างคุ้มค่าทั้งยังได้สารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
.
ข้าวไข่ห่อเห็ดนางฟ้า บะหมี่หมูแดงน้ำซุปปลาแห้ง ส้มตําคอหมูย่าง ข้าวผัดหลากสี ผัดกะเพราเต้าหู้ไข่ซุปเปอร์อร่อย สมูทตี้ส้ม… แค่ชื่อก็บ่งบอกถึงคุณค่าและความอร่อยจนน่าลองจบจากการทำอาหาร .. เด็กๆ ได้ร้อยเรียงเรื่องราวอาหารคาวหวาน ผ่านการแต่งคําคล้องจองหรือกลอนสี่ ให้มีความหมาย โดยอธิบายลักษณะของอาหาร ทั้งรสชาติ สีสัน หน้าตา หรือความรู้สึกขณะลงมือทํา ก่อนปิดท้ายด้วยพากันลิ้มชิมรสหลากหลายเมนู เกิดความภาคภูมิใจจากการมีส่วนร่วม ในการสร้างสรรค์เมนูอาหารที่มีคุณค่า
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 10 มีนาคม 2565