นิทรรศการลมข้าวเบา ๒๕๖๗ ปูรณฆฏะปีที่ ๒ ครอบครัวหล่อหลอมชีวิต
วันนี้เป็นกิจกรรมเรียกน้ำย่อยก่อนถึงงาน ลมข้าวเบา...เงาเดือนเพ็ญ ๒๕๖๗ พาเด็กๆ ร่วมเรียนรู้วิถีการกินแบบไทยๆ กับกิจกรรมที่จะพาเด็กๆ ไปรู้จักกับพืชผักสวนครัวหลากชนิดที่ให้รสชาติต่างๆ
เรียนรู้แบบเพลินๆ .. หน่วยวิชาเพลินเรียนรู้วิจัยพาเพลิน ระดับชั้น ๑ เรื่องเล่าโดยครูโอ่ง – นฤนาถ สนลอย ผู้ช่วยหัวหน้าช่วงชั้นที่ 1
“ตอนแรกไม่คิดว่าตัวเองจะวาดได้ แต่พอทำตามที่ครูกุ้งสอนก็วาดได้”
“ ครูกุ้งเมื่อไหร่จะมาสอนอีก “
“ขอวาดอีกค่ะครู”
ในการเรียนหน่วยวิชาวิจัยพาเพลิน ระดับชั้น ๑ ในภาคเรียนวิริยะเป็นการเรียนรู้ Concept สำคัญคือเรื่อง การเปลี่ยนแปลง โดยผ่านการเรียนเชิงชั้นเรียนในหน่วยวิชามานุษกับโลกผ่านสิ่งมีชีวิตสำคัญคือ “ไส้เดือน” ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยเปลี่ยนซากพืชต่างๆให้เป็นสารอาหารให้กับต้นไม้ และเป็นสิ่งที่มีชีวิตสำคัญที่เชื่อมโยงระบบนิเวศใต้ดิน (การย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ) กับระบบนิเวศบนพื้นดิน (ให้สารอาหารกับต้นไม้ ) ชั้นเรียนหน่วยวิชาจินตทัศน์ในเรื่องของ เหตุ-ผล และชั้นเรียนวิจัยในเรื่อง การสังเกตการเปลี่ยนแปลงและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เพื่อตั้งประเด็นสนใจในการวิจัยการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆที่ตนเองสนใจ
ขณะที่ครูให้โจทย์เด็กๆได้ฝึกฝนพัฒนาตนเองเพื่อเป็นพื้นฐานของงานวิจัย คุณครูพบว่าเด็กบางคนวาดภาพเพื่อบันทึกผลตามความคิดของตนเอง ยังไม่ได้สังเกตผลหรือวาดภาพเพื่อบันทึกข้อมูลจากการสังเกตผลตามความเป็นจริง เช่น รูปร่าง ลักษณะ สี หรือรายละเอียดสำคัญอื่นๆ
คุณครูในหน่วยวิชาวิจัยพาเพลินฯจึงปรึกษากันเพื่อหาวิธีการให้เด็กๆเห็นความสำคัญและมีทักษะในการวาดภาพจากการสังเกตจริงหรือที่เรียกว่า การวาดภาพทางวิทยาศาสตร์
คุณครูโอ่งจึงเสนอให้ “คุณครูกุ้ง ธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์” เจ้าของเพจ บันทึกสีไม้ by ครูกุ้ง ซึ่งเป็นคุณครูที่มีความเชี่ยวชาญในการบันทึกภาพธรรมชาติและเคยเป็นวิทยากรในการอบรมวาดภาพวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมาหลายปี มาช่วยสอนและสร้างแรงบันดาลใจในการสังเกต บันทึกและวาดภาพตามสิ่งที่สังเกตจริง โดยเชิญมาสอนเด็กๆทั้ง ๕ ห้อง
ผลจากการสอนและแนะนำให้เห็นความสำคัญของการบันทึกธรรมชาติและเห็นตัวอย่างบุคคลที่ใช้การวาดภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการบันทึกข้อมูลธรรมชาติ ทำให้เด็กๆรู้สึกประทับใจและอยากจะพัฒนาตนเองในการวาดภาพ จากการสังเกตสิ่งที่จะบันทึกอย่างละเอียดตามจริง ดูน้อยลง