นักคิดค้นนวัตกรรม

ศิษย์เก่าเพลินพัฒนาบนเวทีนานาชาติ วรชิต เกตุรังษี (ชิต) ศิษย์เก่าเพลินพัฒนารุ่นที่ 8 และเพื่อนผู้ร่วมทำวิจัยอีก 2 คน (นายสิปปกร แสงอรุณ และ นายฐณพงศ์ ช่วงยรรยง) นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับเชิญให้ส่งผลงานวิจัย เรื่อง SAM : The development of intelligent medical platform ไปเผยแพร่ผลงานในเวทีระดับนานาชาติ 2nd World Congress on Undergraduate Research (World CUR 2019) ในวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2562 ณ ประเทศเยอรมนี

จากผลงานนี้จึงถือโอกาสพาไปพูดคุยกับ “ชิต” ถึงงานวิจัยชิ้นนี้รวมถึงชีวิตในมหาวิทยาลัยที่กำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 3 วันนี้ “ชิต” เติบโตขึ้นมาอีกขั้น กำลังก้าวสู่การเป็นนักคิดค้นนวัตกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม ผลงานดังกล่าวยังอยู่ในความตั้งใจของชิตที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ใช้ได้จริงอีกด้วย

งานวิจัย เรื่อง SAM : The development of intelligent medical platform มีที่มาอย่างไร ?

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการต่อยอดผลงานจากวิชา Software development ซึ่งเป็นวิชาเรียนในชั้นปีที่ 2 สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีโจทย์ คือ การทำระบบเว็บไซต์ที่สามารถสื่อสารออนไลน์กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ประกอบกับเราเห็นถึงปัญหาของการขาดแคลนหมอเฉพาะทางในชนบท ในประเทศไทย เราจึงได้ทำ platform SAM ขึ้น โดยมันสามารถช่วยวิเคราะห์ความน่าจะเป็นที่จะเป็นโรคต่างๆได้ โดยการวิเคราะห์จากภาพถ่าย ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่แพทย์ต้องใช้ในการวิเคราะห์โรคต่างๆ ได้อย่างมาก

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการต่อยอดผลงานจากวิชา Software development ซึ่งเป็นวิชาเรียนในชั้นปีที่ 2 สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีโจทย์ คือ การทำระบบเว็บไซต์ที่สามารถสื่อสารออนไลน์กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ประกอบกับเราเห็นถึงปัญหาของการขาดแคลนหมอเฉพาะทางในชนบท ในประเทศไทย เราจึงได้ทำ platform SAM ขึ้น โดยมันสามารถช่วยวิเคราะห์ความน่าจะเป็นที่จะเป็นโรคต่างๆได้ โดยการวิเคราะห์จากภาพถ่าย ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่แพทย์ต้องใช้ในการวิเคราะห์โรคต่างๆ ได้อย่างมาก

งานวิจัยนี้ชิตรับผิดชอบในส่วนไหนบ้าง ?

ส่วนที่รับผิดชอบหลักๆ คือระบบเว็บไซต์ ซึ่งจะมีตั้งแต่การออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ การทำงานต่างๆของเว็ปไซต์ และการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เช่น ระบบวิเคราะห์ภาพด้วย AI หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งภาพ เป็นต้น

ผลงานของกลุ่มเราก้าวไปสู่เวทีนานาชาติได้อย่างไร ?

เกิดจากการประกวดผลงานในงาน 2nd world congress on undergraduate research ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นการประกวดผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากทั่วโลก โดยผลงานวิจัยของพวกเราก็เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นงานวิจัยที่ดีที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องในเวทีนี้ ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยทำมาเลยครับ

นอกจากผลงานของพวกเราก็มีนักศึกษาจากไทยที่ได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีอีกประมาณ 4 – 5 ทีม และจากสถาบันอื่นอีกประมาณ 2 ทีมครับ

เล่าเรื่องการเรียนบ้าง

การเรียนก็สนุกดีครับ รู้สึกตื่นเต้นเพราะได้เจอเพื่อนๆ และอาจารย์เก่งๆ และความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน มี project ใหม่ๆ ให้ได้ท้าทายทุกเทอม ก็มีรู้สึกเหนื่อย กดดันเป็นบางครั้งครับ พอพูดถึงสไตล์การเรียน ที่ต้องทำ project ทำให้นึกถึงการทำ PBL ที่เป็นการตั้งโจทย์เพื่อแก้ใขปัญหาบางอย่างที่โรงเรียนเหมือนกัน เพียงแต่พอเป็นมหาวิทยาลัยต้องแก้โจทย์ที่มีความเฉพาะทางมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ออกมาดีพอสมควรครับ

เป้าหมายที่อยากทำต่อจากนี้ ?

ในส่วนของโครงงานก็คิดเอาไว้ว่า จะแก้ไขรายละเอียดบางส่วนให้สามารถนำไปใช้งานได้จริง หรือถ้าทำได้ก็อาจจะทำเป็น startup ด้านการแพทย์ ส่วนด้านการเรียน จริงๆ ก็ยังไม่ได้วางแผนอะไรไว้มากครับ แต่ที่คิดไว้คือพยายามทำงานวิจัยเพิ่มอีก เพื่อให้สามารถนำไปใช้ศึกษาต่อได้ง่ายขึ้นครับ