เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
คว้าเหรียญทองแดง ประเภทสแตนดาร์ด ในการแข่งขันกีฬาลีลาศชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2563 ณ ทรูไอคอน ฮอลล์ ไอคอนสยาม
“สิรีณ” เริ่มเต้นลีลาศตั้งแต่ชั้นอนุบาล 3 ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนจากคุณย่า เรียกว่าคุณย่าคือโค้ชประจำตัวเลยก็ว่าได้ แม้คุณย่าจะไม่ใช่นักเต้น แต่ด้วยความชื่นชอบในกีฬาลีลาศ คุณย่าจึงช่วยผลักดันให้สิรีณเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ “สิรีณ” สามารถพิชิตรางวัลในรายการชิงแชมป์ประเทศไทยมาได้สำเร็จ
“หนูเริ่มเรียนลีลาศและแข่งขันมาตั้งแต่ อ.3 ถึงประถมต้นก็ยังแข่งขันมาเรื่อย ๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ เริ่มแข่งขันอย่างจริงจังช่วงประถมปลายค่ะโดยร่วมคัดตัวนักกีฬาในสมาคมลีลาศตั้งแต่ในกรุงเทพ คัดระดับภาค จนถึงระดับประเทศ รายการใหญ่ที่สุดที่หนูเคยเข้าร่วมคือรายการ King Cup เมื่อปีที่แล้ว มีนักกีฬาต่างชาติเข้าร่วมแข่งขันด้วย ทีมของหนูได้อันดับที่ 3 เป็นทีมเดียวจากประเทศไทยที่ได้รับเหรียญรางวัลค่ะ สำหรับรายการชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ทีมหนูคือรุ่น Junior II ได้ลงแข่งกับรุ่นพี่ ถือเป็นอันดับ 1 ของรุ่น และได้อันดับ 3 เมื่อแข่งกับรุ่นพี่ค่ะ”
“ตอนอยู่ชั้น 5 เป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมแข่งขันได้อันดับที่ 6 และได้อันดับนี้ติดต่อกันมาเรื่อยๆ ทำให้เกิดแรงผลักดันให้ต้องซ้อมหนักขึ้น ช่วงนั้นซ้อมเกือบทุกวัน วันละ 2 ชม. … การแข่งลีลาศจะมีการแข่งในรุ่นตัวเองและต้องแข่งกับรุ่นพี่ด้วย เพราะรุ่นหนึ่งอยู่ได้ 2 ปี ถ้าเกิน 2 ปีแล้วเราต้องขยับไปแข่งกับรุ่นพี่ซึ่งมีประสบการณ์ เทคนิคมากกว่า รู้สึกท้อเหมือนกัน กลัวตกรอบค่ะ มีครั้งหนึ่งไปแข่งที่เชียงรายแล้วเริ่มชนะรุ่นพี่ได้ก็รู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น จากนั้นจึงซ้อมอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 3 ชั่วโมงหลังเลิกเรียน และ เสาร์ อาทิตย์อีก 5 – 6 ชั่วโมงค่ะ”
การเต้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือลาตินและแสตนดาร์ด ลาตินเป็นแนวสนุกๆ เต้นแยกคู่ ส่วนแสตนดาร์ด เป็นการเต้นเข้าคู่ แนวเพลงสบายๆ รวม 10 จังหวะ สำหรับเกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาจากหลายส่วน ทั้งการนำเสนอ การแสดงออกทางหน้าตา ความเหมาะสมของคู่ การไปด้วยกันของคู่ การแต่งตัว และท่าพื้นฐานต่างๆ การลงน้ำหนักเท้า การแข่งขันในรอบหนึ่งๆ มีกรรมการร่วม 10 คนหรือมากกว่านั้น โดยแต่ละคนจะให้คะแนนแต่ละเรื่องแตกต่างกัน แล้วจึงนำคะแนนมาประมวลผลรวมกันอีกครั้ง
“เวลาแข่งเพลงหนึ่งใช้เวลา 1.45 นาที แต่เวลาซ้อมหนูต้องซ้อมเพลงละ 2 นาทีหรือมากกว่านั้นค่ะเพื่อฝึกกำลัง เพราะตอนแข่งขันต้องใช้กำลังมาก เช่นจังหวะแรกๆ กำลังเรามาดีแต่เพลงหลังกำลังหมด เราก็จะถูกตัดคะแนนได้ จึงต้องซ้อมหนักๆเพื่อให้แรงยังเหลือจนจบ ถ้าทุกอย่างสูสีกัน สิ่งที่กรรมการพิจารณาคือ กำลังแรงใครดีกว่าค่ะ”
“สังคมเพลินพัฒนาเน้นเรื่องน้ำใจนักกีฬา ทำให้เข้าใจเป้าหมายของการเล่นกีฬา พอไปเจอกับการแข่งขัน หากพลาดได้ตำแหน่งไม่ดีก็ไม่ทำให้หมดกำลังใจค่ะ หนูยังได้เรียนรู้เรื่องการจัดการเวลาด้วยค่ะ เพราะช่วงที่เรียนชั้น 6 ต้องแบ่งเวลาเพื่อซ้อมรักบี้ด้วย และลีลาศด้วย จึงต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อนตั้งแต่ที่โรงเรียน เพื่อฝึกซ้อมได้เต็มที่ไม่ต้องกังวล
การเต้นลีลาศช่วยให้เราได้เจอคนมากขึ้น มีสังคม ทุกคนไม่ได้มีความคิดตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่ของเรา ผู้ปกครองหรือเด็ก เราต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเพราะกีฬาลีลาศเป็นกีฬาที่ดูทางสายตา จึงต้องฟังคอมเมนท์กรรมการ และผู้ชมเพื่อปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา การได้ฝึกนำเสนอบ่อยๆ ที่โรงเรียนทำให้เราไม่ได้รู้สึกอะไรเวลาที่มีเพื่อนให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ทำให้หนูยินดีรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นค่ะ”
“หนูอยากได้ถ้วย King Cup ในรุ่นของตัวเอง (โดยไม่แข่งกับรุ่นพี่) และอยากผ่านการคัดเลือกเป็นนักกีฬาทีมชาติ ซึ่งในระดับทีมชาติขณะนี้ยังไม่มีคัดตัวเยาวชนทีมชาติ ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปค่ะ”
เป็นยังไงกันบ้างคะกับมุมมองความคิดของเด็กหญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง บอกได้เลยว่าหลังจากได้พูดคุยแล้วเห็นพลังความมุ่งมั่นที่แฝงอยู่ในตัวอย่างเต็มเปี่ยมภายใต้ท่าทีสบายๆ ขอชื่นชมในความเพียรฝึกซ้อมของ “สิรีณ” เป็นกำลังใจให้เดินทางไปถึงเป้าหมายสูงสุดที่ตั้งใจไว้นะคะ และขอชื่นชมคุณย่า โค้ชคนสำคัญที่ให้การสนับสนุนหลานสาวคนนี้เสมอมาด้วยค่ะ
การแข่งขันกีฬาลีลาศ และการแข่งขันกีฬาเบรกกิ้งชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๖๓ (TDSA National Championships 2020) วันที่ 21 -22พฤศจิกายน 2563 ณ ทรู ไอคอน ฮอลล์ ไอคอนสยาม
สำหรับคนที่ชื่นชอบการเต้น เตรียมพบการแข่งขันกีฬาลีลาศชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยได้แล้ว ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายนนี้ ที่ทรูไอคอน ฮอลล์ ไอคอนสยาม โดยครั้งนี้จะเพิ่มการแข่งขันกีฬาเบรกกิ้งเข้าไปด้วย
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2563