เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
บันทึก : การพาลูกเล็กทำกิจกรรมในแต่ละวันกับการฝึก Resilience
วิทยากร : รองศาสตราจารย์นายแพทย์วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาศักยภาพเด็กไทย สาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Zoom Meeting : วันที่ 15 มิถุนายน 2564
Positive Parenting : โรงเรียนเพลินพัฒนา
เป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาๆ บางครั้ง “VUCA world” เลยถูกเรียกว่า “The New Normal” หรือ ความเป็นปกติแบบใหม่นั่นเอง สถานการณ์หนึ่งที่เป็นตัวอย่างของ VUCA World ที่ชัดเจนที่สุด ณ ตอนนี้ คือ COVID-19 Pandemic ซึ่งทักษะหนึ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตบนโลกแบบนี้คือ “Resilience” : ความยืดหยุ่น / ความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิม
RESILIENCE เป็นความสามารถที่จะยืนหยัดเมื่อเจอความทุกข์ยาก แม้เราจะไม่ได้แข็งแกร่งตลอดเวลา แต่เมื่อเจออุปสรรคเราก็พร้อมจะปรับตัว และสามารถที่จะเยียวยาตัวเองกลับมาสู่สภาพเดิมได้ ไม่แย่ไปจนถึงจุดที่ลุกกลับขึ้นมาไม่ได้ (หรือจนซึมเศร้า หรือกลายเป็นปัญหาทางจิตเวชไปเสียก่อน)
RESILIENCE เป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ได้แก่
▶️ พันธุกรรม
▶️ พื้นอารมณ์ของเด็ก เช่น เด็กเลี้ยงยาก vs. เด็กเลี้ยงง่าย | เด็กปรับตัวง่าย vs. เด็กปรับตัวยาก
▶️ ความรู้และทักษะต่างๆ
▶️ การสนับสนุนจากครอบครัว คนรอบข้าง เพื่อน และสังคม ว่ามีมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงการมีแหล่งทรัพยากรทางสังคม
งานวิจัยเมื่อปี 98 ที่แคลิฟอร์เนีย ได้ศึกษาถึงประสบการณ์อันยากลำบาก/ไม่ดี 10 อย่าง ที่พบเห็นได้ เช่น
เหล่านี้มีผลต่อ Lifestyle เมื่อเด็กโตขึ้น มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพตามมา เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความเสี่ยงติดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด เป็นต้น
ประสบการณ์ในวัยเด็ก ส่งผลต่อพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่
นอกจาก ACEs ใหญ่ๆ ข้างต้น ยังมี ACEs เล็กๆ ที่มองข้ามไม่ได้อีก เช่น การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม สุขนิสัยการนอนที่ไม่ดี การไม่ปฏิสัมพันธ์กับลูกมากพอ ไม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง การที่ยอมให้ลูกติดจอ/สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป
คุณภาพของการเลี้ยงดูตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต สามารถทำนายรูปแบบทางอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กเมื่อโตขึ้นได้ อย่างไรก็ดี แม้เด็กจะอาศัยอยู่ในภาวะที่มีความเครียดและไม่เหมาะสม แต่หากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็กมีคุณภาพสูง จะทำให้เด็กยังคงพัฒนา Resilience ได้ เช่น เด็กที่มาจากครอบครัวยากจนในสลัม ก็ยังจะสามารถมีชีวิตที่ดีได้ สิ่งนี้เป็นตัวที่ Make a Difference!
นอกจากนี้ความเครียดเรื้อรัง (เช่น เด็กที่โดนดุด่าเป็นประจำ) ส่งผลให้สมองส่วนอารมณ์ทำงานหนัก และมีผลต่อความจำของเด็ก
(แม่บิวขออนุญาตยกตัวอย่าง : Amygdala Hijack เช่น เวลาที่ลูกถูกคุณพ่อคุณแม่ปรี๊ดใส่ในชั่วพริบตา…😅
การทำงานของ Amygdala จะทำงานก่อนที่สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex = PFC) ที่ใช้ในการประมวลด้านเหตุและผลจะทำงาน เสมือนกับว่าได้ปล้นการกระทำไปจากสมองส่วนเหตุผล ส่งผลให้ลูกมีการกระทำในรูปแบบอื่นแทน เช่น หนี (Flight), สู้ (Fight) หรือ นิ่ง (Frozen) คราวนี้เจ้า Amygdala มีส่วนที่ทำให้มนุษย์เรามีความอ่อนไหวในเรื่องเศร้าๆ หรือความคิดในด้านลบได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เรามีความคิดแย่ๆ เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไปจนถึงมีอาการของโรคซึมเศร้าได้ ถ้าเราปล่อยให้ปรากฏการณ์ Amygdala Hijack เกิดขึ้นบ่อยครั้งเข้า ระบบประสาทก็จะเชื่อมโยงกันแข็งแรงมากขึ้น เหมือนกล้ามเนื้อที่ใช้บ่อยมากก็จะแข็งแรงมาก อันจะนำไปสู่การลดประสิทธิภาพและความสามารถในการคิด พิจารณา ไตร่ตรองหาทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ และยังจะสร้างผลกระทบต่อความจำระยะยาว (Long term memories) ในสมองส่วน (Hippocampus) ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างพฤติกรรมและอุปนิสัยในอนาคตอีกด้วย)
กล่าวโดยสรุป คือ ความเครียดเรื้อรังและ ACEs มีผลต่อวงจรชีวิต ต่อฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพ
หากพ่อแม่ไวกับอารมณ์ของเด็ก มีการเลี้ยงดูแบบตอบสนอง ไม่ได้หมายความว่าต้องตามใจลูกทุกอย่าง! แต่รับรู้ เข้าใจ support อารมณ์และความรู้สึกของลูกได้อย่างเหมาะสม มี family functioning ที่บ้านยังคงเป็นบ้าน + พ่อแม่ประคับประคองลูก ➜ เราสามารถช่วย shape สมองลูกได้จากการเลี้ยงดู ➜ เด็กยังไปต่อได้ตามพัฒนาการ 👍✌
▶ คนเราต้องเจอความยากลำบากในชีวิต การที่เราคอยช่วยลูก ทำให้เขาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต ทำแทนในสิ่งที่เขาควรจะทำได้ตามวัย มีผลต่อความภูมิใจของเขา ➜ “ฉันทำได้ไม่ดีใช่หรือไม่” “ตัวฉันไม่ดีพอใช่หรือไม่”
▶ หากความสามารถทางด้านสังคมดี (มีพี่น้อง ญาติ หรือเพื่อนคอย support) เป็นสิ่งที่ช่วยดึงเรากลับมาสู่สภาพเดิมได้ง่ายกว่าคนที่มีความสามารถด้านสังคมไม่ดี (ขาดเพื่อนคู่คิด ไม่มีที่ปรึกษา)
▶ ต้องรู้จักควบคุมตนเองจากภายในให้เป็น หากเราควบคุมข้างในไม่ได้ เราจะกลับมาได้อย่างไร
▶ ต้องมี Cognitive Flexibility ปรับความคิดจาก negative มา positive ได้ ลดการโทษตัวเองและพร้อมที่จะให้อภัยตัวเอง
▶ มุ่งมั่นตั้งใจแม้จะเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ (ในเด็กเล็ก บางครั้งพ่อแม่อาจคิดว่าเรื่องนี้ยังไกลตัวลูก แต่หากเขาแสดงความสนใจในสิ่งใด เราพร้อมส่งเสริมสนับสนุน) หรือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด มุ่งมั่นมองหาหนทางแก้ไข
▶ ความสามารถในการตรวจสอบใหม่ เมื่อเราล้มลง เรากลับมาคิด เฝ้าติดตาม/ทบทวนตัวเองว่าตรงไหนที่เราผิดพลาดไป แล้วจะแก้ไขอย่างไรต่อไป
ทักษะทางสังคมที่ดี จะช่วยในการทำงาน/ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ➜ การทำงานในแต่ละวันจะส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา + พ่อแม่ที่รู้จักอดทนรอคอย ไม่รีบร้อนช่วยเหลือ/ทำแทน ➜ ลูกได้ฝึกแก้ปัญหาหลากหลาย เมื่อแก้ปัญหาซับซ้อนได้มากขึ้น = ได้ฝึกคิดหลายมุมมอง ➜ ช่วยให้มีความตระหนักรู้อย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งต้องใช้มากขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่
ในวัยเด็กเล็ก เมื่อเขาอยากทำให้ได้ด้วยตนเอง พอแม่รอได้หรือไม่ หากเขาทำได้ ความมั่นใจเกิด ความภูมิใจมา พ่อแม่อาจตั้งเป้าหมายด้วยว่า กิจกรรมที่ทำนี้มีเป้าหมายเพื่ออะไร ให้ลูกช่วยฝึกตั้งเป้า เมื่อสิ่งที่เขาทำมีความหมายกับตัวเขา เช่นนั้นฉันจะมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
ยกตัวอย่างการฝึกตั้งเป้าหมายจากเรื่องง่ายๆ ก่อน : ถ้าลูกทำความสะอาด จัดโต๊ะเรียน ➜ โต๊ะจะสะอาดขึ้น ไม่รก ➜ หาของง่าย ➜ น่านั่งเรียน🥳
▶ การ feedback เชิงบวก ➜ แม้ลูกจะไม่ได้มีคุณสมบัติครบทุกอย่าง แต่เราพร้อมส่งเสริมด้านที่เขาเด่น
▶ การมี sense of humor สำคัญ ➜ ชีวิตนี้ยากลำบากแน่ๆ หากมีอารมณ์ขันบ้าง จะช่วยให้มองสิ่งต่างๆ ในมุมที่แตกต่างออกไปได้
▶ จิตอาสา ➜ บางคนไม่ได้เก่งมาก แต่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง/เพื่อน ➜ ชีวิตไปได้ดี
▶ เราสามารถเฝ้ามองลูกอยู่ห่างๆ ได้หรือไม่ คอยสนับสนุน แต่ให้อิสระเขามากพอที่จะทำด้วยตนเอง
▶ สามารถควบคุมตนเองจากภายใน รับรู้ว่าตัวเองสามารถทำงานต่างๆ จนสำเร็จ เช่น การดูแลช่วยเหลือตัวเอง การทำงานบ้าน ➜ รับรู้ว่าตนเองมีประสิทธิภาพ (self-efficacy) ➜ ความภาคภูมิใจในตนเอง
ทั้งนี้ เด็กจะมี Lifelong Resilience ได้ เด็กจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับคนเลี้ยงหลักอย่างน้อยหนึ่งคนที่คอยใส่ใจ ห่วงใย เกื้อหนุนเขาเพื่อให้เขามีความไว้วางใจต่อโลกใบนี้ (Basic Trust) และต้องเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกที่ต่อเนื่องยาวนาน และสม่ำเสมอ เป็น Supportive Relationships ➜ พ่อแม่มีความคาดหวังที่เหมาะสมกับลูกได้ มีกฎกติกาที่สมเหตุสมผลได้ มอบหมายความรับผิดชอบ ฝึกระเบียบวินัยให้แก่ลูกได้ และเมื่อเขาให้ความร่วมมือ เราเน้นย้ำบอกกับเขา ชื่นชมที่กระบวนการมากกว่าผลลัพธ์❤
พ่อแม่จะทำสิ่งเหล่านี้ได้ พ่อแม่ต้องมีสติก่อน วางงานลง และให้ความสำคัญกับเขา🥰 แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ขอให้มีคุณภาพและสม่ำเสมอ
ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริม Resilience เช่น การมองมุมบวก ซึ่งต้องผ่านการฝึกฝน จากเรื่องราวที่ไม่ดีนี้ เรามองหาข้อดีเจอหรือไม่ ต้องฝึกคิดและรู้สึกแบบนั้นได้ด้วยตนเอง แล้ว manage กับความยากลำบากนั้น เช่น หากลูกวัยอนุบาลถูกเพื่อนอาเจียนใส่ ลูกทำอย่างไร? เมื่อลูกกลับมาเล่า เรามี feedback อย่างไร?
"ใช้ได้เหมือนกันนะเราที่ไปบอกคุณครูว่าเพื่อนไม่สบาย ดีนะเนี่ยที่ลูกรู้จักพกชุดสำรองไปโรงเรียน"
การมองแบบ positive ต้องฝึก เหมือนกับการคิดนอกกรอบ แล้วเรายังต้องควบคุมกำกับตัวเองให้ได้ด้วยเมื่อเจอกับความผิดหวัง หรือไม่ได้ดั่งใจ
นอกจากนี้ พ่อแม่ควรมีสุขภาวะโดยรวมดี ส่งเสริมกิจวัตรประจำวันที่คงเส้นคงวา (เหมือนกันทั้งช่วงเปิดเรียนและปิดเทอม หรือช่วงเรียนออนไลน์) เพื่อทำให้เขารู้สึกปลอดภัย โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ กิจวัตรที่ดี จะส่งเสริมการกำกับควบคุมตนเอง แต่การวางแผนกิจวัตรนั้น ควรต้องสื่อสารกับลูกให้ชัดเจนก่อนด้วยเช่นกัน😊
▶ โรงเรียนเน้นย้ำเรื่อง…การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับเพื่อนๆ
▶ เมื่อเด็กมีจิตอาสา ➜ ชื่นชมพฤติกรรม
▶ พฤติกรรมเด็กในห้องเรียน ➜ ต้องเรียนรู้การทำงานกลุ่มร่วมกัน ➜ การแบ่งปันทรัพยากรที่มีจำกัด
▶ เน้นการทำงานที่เชื่อมโยงกัน ➜ ช่วยให้ทักษะอารมณ์ สังคมที่พัฒนามากยิ่งขึ้น
● การตั้งใจจดจ่อ (focus) ไม่วอกแวก (not distract)
● การรู้จักอดเปรี้ยวไว้กินหวาน (delayed gratification)
● การบริหารความจำใช้งาน (working memory)
เด็กจะทำสิ่งใดได้ดี ก็ต่อเมื่อมีความตื่นตัว (alert) และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เวลาที่เด็กทำอะไรตามความเคยชิน เช่น โกรธแล้วชกเลย หากว่า EF เขาพัฒนา เขาจะไม่ทำแบบเดิม
🥇 Life and Career Skills
🥈 Learning and Innovations Skills
🥉 Information, Media and Technology Skills
⛳ Environmental Literacy
⛳ Global Awareness
⛳ Financial Literacy
⛳ Healthy Literacy
⛳ Civic Literacy
หาก 3-11 ปี กำกับควบคุมตนเองได้ดี สามารถทำนายสุขภาพ การทำผิดกฎหมาย การติดสารเสพติด ฯลฯ เมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้
ACEs ที่เราพูดไปข้างต้น สามารถทำลาย EF ได้ จะให้ EF กลับมา ต้องอาศัยพ่อแม่!
● พื้นอารมณ์เป็นเด็กเลี้ยงยากหรือง่าย
● มีปัญหาพัฒนาการร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการด้านภาษาล่าช้า
● ความผูกพันนี้จะคงทนถาวร ทอดยาวออกไป “ฉันยังมีความหมาย” , “ยังมีแม่ที่รักฉันอยู่” ➜ Internal Security ➜ ใช้เป็นฐานก่อนที่ลูกจะออกไปสำรวจโลก หรือเริ่มต้นลงมือทำอะไรต่อไป ➜ เป็น foundation ก่อนนำไปสู่ความสัมพันธ์หรือความผูกพันในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป
● รับรู้ว่าตนเองสามารถทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ บรรลุเป้าหมายได้
● มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเอง เช่น การที่เขาล้างแก้วได้ เขาต้องกำกับตัวเองให้ยืน ➜ ล้างน้ำยา ➜ ล้างน้ำจนสะอาด ➜ คว่ำแก้วตาก (บรรลุเป้าหมาย)
● เด็กที่รับรู้ว่าตนเองไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ จะมีปัญหาทางอารมณ์มากขึ้น
การชมที่กระบวนการเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องฝึก ให้พูดออกมาได้จากใจ ฟังแล้วสมเป็นตัวเรา ถ้าไม่เคยฝึกมาก่อน จะพูดไม่ชินปากและไม่เป็นธรรมชาติ😅
❌ ทำไมไม่หัวไวแบบพี่เลย
❌ ทำไมไม่เก่งแบบแม่เลย
✅ ให้เด็กได้มีบทบาททำงานต่างๆ ให้เสร็จได้ด้วยตนเอง
● การใช้สื่อเร็วเกินไป
● เนื้อหาหรือบริบทไม่เหมาะสม
● เปิดทิ้งไว้ทั้งวัน
● ใช้หลาย ๆ สื่อในเวลาเดียวกัน
👆👆 หลายงานวิจัย ➜ พบว่ามีผลให้ EF ลดลง
แก้ไขโดย ➜ พ่อแม่ไหวตัวให้ทัน มีปฏิสัมพันธ์กับลูกมากขึ้น ตั้งกฎกติการ่วมกันและบังคับใช้ได้จริง ฝึกระเบียบวินัยสม่ำเสมอ
● กิจกรรมกลางแจ้ง การออกแรง ต้องมีและเหมาะสมตามวัย
● ต้องมีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ คุณภาพการนอนที่ดีสำคัญมาก ถ้าเด็กนอนหลับกลางคืนได้ดี แนวโน้ม EF มีปัญหาน้อยกว่า เด็กอนุบาลที่มีปัญหาการนอน พบว่าความจำในการทำงาน และการควบคุมยับยั้งตนเองลดลง
● ส่งเสริมกิจกรรมการเล่นตามวัย สำหรับวัยเด็กเล็ก เช่น การเล่นที่…ถ้าบอกว่าหัวให้จับเท้า บอกเท้าให้จับไหล่ บอกไหล่ให้จับขา ➜ ส่งเสริมความจำใช้งาน และการกำกับควบคุมตนเอง
● การฝึกสติช่วยเรื่องการกำกับควบคุมตนเองได้
ถ้าเรามี EF ดี มีสติ = เรามีทางเลือกมากกว่า ไม่ต้องทำตามสมองส่วนสัญชาตญาณเสมอไป (เช่น โวยวาย ทำร้ายผู้อื่น)
A : บางครั้งคุณพ่อคุณแม่มีงานบ้านเยอะมาก หรือคุณหมอเคยเจอคุณแม่ Perfectionist บางท่าน ต้องซักผ้าเอง คนอื่นซักไม่ได้ แล้วต้องซักกับมือ คุณหมอแนะนำว่า..ซื้อเครื่องซักผ้าดีๆ ซักเครื่อง😅 สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ให้ซื้อเลย เพื่อให้เรามีเวลากับลูกมากขึ้น แต่ไม่ใช่มองหาตัวช่วยทุกอย่าง แต่ก็ยังส่งต่อลูกให้พี่เลี้ยง แล้วเราก็ไม่ได้มีเวลาให้เขาเหมือนเดิม😢
A : การที่คุณแม่ยอมรับและกล้าพูดออกมา นับว่าเป็นการตรวจสอบตัวเองใหม่ เป็นหนึ่งในลักษณะของคนที่มี Resilience ที่ยอมรับว่าตัวเองผิดพลาด พร้อมที่จะปรับตัว แก้ไขตรงจุดที่เราด้อย แต่เราต้องมีสติ บางครั้งหน้างานมีหลายรูปแบบ แถมบางบ้านครอบครัวใหญ่ (มากคนมากความ) เราต้องยิ่งสร้างสัมพันธ์เชิงบวกกับลูก และลูกจะมี Resilience ได้ เราต้องฝึกให้มีก่อน เพื่อเป็นแบบอย่าง😊
A : อย่างแรกแม่ต้องดูแลตัวเองก่อน ในด้านจิตใจ หา balance ของเราให้เจอ เราก็ต้องมีชีวิตของเราเองด้วย แต่ช่วงปีแรกของเด็กคือช่วงที่เลี้ยงง่ายที่สุด คุณแม่ยังสามารถให้ความสำคัญกับพี่คนโตได้มากอยู่ ใช้เวลาในมุมเชิงบวกกับลูกคนโตให้มากขึ้น หลังจากนั้นค่อยๆ จัดตารางคนโตและคนเล็กให้ลงตัว อาจคุยตกลงกับคุณพ่อว่าจะเข้ามาแบ่งหน้าที่กันอย่างไร เพราะ Teamwork ก็สำคัญ
A : นอกจากแม่ได้ทดลองจัดคิววนแล้วก็ดี หรือนั่งคุยตกลงกับลูกๆ แล้วก็ดี หากมีลูกคนที่ยอมเสียสละ แม่อาจจะเพิ่มคำชื่นชม “ขอบคุณที่หนูยอมเสียสละ แม่จะเพิ่มชั่วโมงเล่นกับหนูให้มากขึ้นแทนนะคะ” หรือ ลองเล่นเป็นเกมส์ วันนี้ใครคือผู้เสียสละ! กิจกรรมแยกแต่ละคน คนละ 15 นาที/วันนั้น มีได้ แต่ไม่จำเป็นต้องแยกออกไปทำนอกบ้าน เราสามารถทำในบ้านได้ บางครั้งเกิดเหตุการณ์ เช่น ฝนตก ตอนช่วงเวลาของลูกอีกคน อาจทำให้เกิดประเด็นว่า “ทำไมพอถึงคิวหนู แล้วหนูไม่ได้ออกไป” กลายเป็นปัญหาตามมาแทน😅
A : เพิ่มระเบียบวินัยที่เหมาะสมให้ คุยสื่อสารให้เข้าใจเมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่น “อันนี้ที่ลูกจะทำเองน่ะดีแล้ว แต่จะรบกวนคุณยายมากเกินไปนะคะ” ไม่ใช่ว่าเพราะเป็นเด็ก เลยจะทำอะไร อย่างไรก็ได้ ต้องสอนอะไรควรไม่ควร เน้นย้ำเรื่องกาลเทศะ ส่งผลต่อไปเมื่อเข้าสู่สังคมนอกบ้าน ➜ สนามเด็กเล่น โรงเรียน ไม่ใช่มั่นแต่ไม่มีเพื่อนเลย😣
สุดท้ายนี้ คุณหมอฝากว่า…
Parenting is a process learned through trial and error.
(ขยายความ : เราเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก จากการตัดสินใจที่ผิดพลาด หรือไม่ดีพอ หรือแม้แต่สงสัยในความสามารถที่จะเป็นพ่อแม่ของเราเอง แต่นั่นก็เป็นหนทางที่เราเรียนรู้การเป็นพ่อแม่…ที่จะดีขึ้นในทุกๆ วันนะคะ😊)
...ไม่มีแม่ที่เพอร์เฟค มีแต่แม่ที่ดีพอ…
ขอขอบคุณบันทึกจากแม่บิว (ุพุฒิ ชั้น 6 /พีค พราว ชั้น 3)
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2564