เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาคือช่วงเวลาของการนำเสนอ PBL – Problem based learning หรือโครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของพี่ๆ มัธยมทั้งการนำเสนอรูปแบบ Oral Presentation และการออกบูธให้ผู้สนใจได้มาร่วมพูดคุย และสัมผัสกับผลงาน นวัตกรรม หรือการทดลองใหม่ๆ โดยบูธในรอบนี้มีมากถึง 84 บูธแบ่งเป็น หมวดกีฬา สุขภาวะ อาหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปะและดนตรี สังคมและจิตวิทยา การงานอาชีพ และ การศึกษาพิเศษ หัวข้อโครงงานที่นักเรียนเลือกไม่ใช่เรื่องไกลตัว ส่วนใหญ่ล้วนมาจากปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวัน แต่เรื่องเหล่านั้นอาจถูกกมองข้ามไป เช่น
นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายโครงการที่น่าสนใจให้เด็กๆ ได้แสดงไอเดีย
กระบวนการ PBL (Problem-Based Learning) เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของช่วงชั้นมัธยมจัดให้เป็นการทำงานอิสระ “นอกเวลาเรียน” การทำงาน PBL ครั้งนี้มีระยะเวลาทำงาน 17 สัปดาห์ โดยนักเรียนตั้งโจทย์จากชีวิตจริงและหาคำตอบด้วยตัวเองผ่านกระบวนการ Design Thinking เพื่อให้เกิดกระบวนการที่ชัดเจน การทำ PBL นั้นจะใช้ปัญหาเป็นตัวตั้งต้น และพี่มัธยมจะนำมาคิดหาทางแก้ไขปัญหานั้นตามกระบวนการจนออกมาเป็นโครงงานที่ได้เห็นมากมายภายในงาน
ความน่าสนใจในการออกบูธ PBL ในปีนี้ ไม่ได้อยู่ที่โครงงานนำเสนอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ร่วมงานด้วย เพราะปีนี้มีน้องๆ ชั้น 5 และ ชั้น 6 ได้มาร่วมเดินชมงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ PBL กับพี่มัธยมรวมถึงยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ฉันพี่น้องผ่านการเรียนรู้ความสนใจของพี่ๆ และร่วมถาม ตอบกับน้องๆ นอกจากน้องๆ ชั้นประถมแล้ว น้องเล็กสุดอย่างน้องอนุบาลก็มีโอกาสได้มาร่วมดูงานในครั้งนี้ด้วย คุณครูอนุบาลพาน้องๆ เรียงแถวกันมาเพื่อดูงานประดิษฐ์ ชิมอาหาร ทำกิจกรรม และรับขนมปิดท้ายตามกลุ่มโครงงานต่างๆ ที่น้องๆ ได้แวะเวียนไป ถือเป็นภาพที่น่ารักน่าชมเป็นอย่างยิ่ง เพราะน้องได้เรียนรู้จากพี่ ส่วนพี่ก็ได้แบ่งปันกับน้อง และอีกหนึ่งความพิเศษคือ ภายในงานครั้งนี้มีหลายกลุ่มที่นำเสนอโครงงานเป็นภาษาอังกฤษที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาให้ทั้งเจ้าของโครงงานและผู้ชม
เมื่อมีปัญหา เราก็ต้องหาทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น นี่คือสิ่งที่กระบวนการ Problem-based Learning สอนเรา แต่มากไปกว่านั้นคือ ความรู้ส่งต่อกันได้ เพื่อขับเคลื่อนคนทุกกลุ่มในสังคมให้เกิดการพัฒนาและก้าวไปสู่โลกอนาคตที่ยั่งยืน
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2566