จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
ทีมคุณครูฝ่ายมัธยมร่วมนำเสนองานวิจัยในการประชุมนานาชาติ The 8th International conference of school learning community (SLC 2021) ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 5 -7 กุมภาพันธ์ 2564 มีผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คนจาก 30 ประเทศ
การนำเสนอของ ร.ร.เพลินพัฒนาครั้งนี้ ในหัวข้อ “Online Collaborative Active Learning Development by Online Lesson Study based on School as Learning Community” นำทีมโดยคุณครูภูริทัติ ชัยวัฒนากุล หัวหน้าช่วงชั้นมัธยม ร่วมด้วยทีมคุณครูแกนนำฝ่ายมัธยมด้านต่างๆ ร่วมนำเสนอได้แก่ คุณครูวัฒนา พุ่มมะลิ, คุณครูธฤตมน มานะ, คุณครูธนาภรณ์ ศรีศิริพันธุ์, คุณครูธิติ ตั้งจันทร์แสงศรี รวมทั้งคุณครูที่ร่วมบันทึกการสะท้อนกลับในประเด็นต่างๆ ที่ได้ร่วมเรียนรู้ คุณครูชิดชนก แสงชะอุ่ม และคุณครูอินทิพร สดากร
“ รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เยอะมากจากมุมมองของนักวิชาการและครูอาจารย์ทั่วโลก รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติที่ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการต่าง ๆ ได้แนวคิดใหม่ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการกำหนดหลักสูตรและกิจกรรมในชั้นเรียน และทบทวนกระบวนการต่าง ๆ ในแนวทางของ PLC และ SLC ได้เห็นการจัดการปัญหาทางการศึกษาในสถานการณ์โควิดจากทั่วโลก และมองเห็นอนาคตในการศึกษาระดับโลกว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในส่วนของการนำเสนอของโรงเรียนเพลินพัฒนาก็รู้สึกภูมิใจที่มีหลายคนที่ให้ความสนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รู้สึกสนุก และอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มเติมหลังจากที่จบการสัมมนาไปแล้ว และถ้ามีโอกาสหากสามารถเชิญครูอาจารย์และนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมประชุมในครั้งนี้ เข้ามาสังเกตการณ์และร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นที่ช่วงชั้นมัธยมฯ ของเราก็คงจะดีไม่น้อยครับ เผื่อได้แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่สามารถปรับใช้กับนักเรียนและโรงเรียนของเราได้มากขึ้น”
” ได้เห็นการจัดการเรียนรู้แบบ HBLC ของประเทศต่างๆ ค่ะ รวมถึงการทบทวนกระบวนการของเรา การนำเสนอครั้งนี้ครูลูกหว้ากับครูนุกจะพูดในส่วนของพฤติกรรมนักเรียน เช่น การสังเกตนักเรียน การวิเคราะห์นักเรียนด้วย RCA การใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาต่างๆ การทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ตอนนำเสนอไม่ค่อยตื่นเต้นเพราะเราพยายามเตรียมตัวให้พร้อมและมีอาจารย์หลายท่านมาฟังด้วย จึงรู้สึกคุ้นเคยเหมือนนำเสนอให้คนไทยฟังค่ะ”
ขอขอบคุณ รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ รศ.พเยาว์ ยินดีสุข รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา และ ดร.นิภาพร กุลสมบูรณ์ ที่ให้ความกรุณาเป็นที่ปรึกษาและให้ข้อแนะนำต่างๆ รวมทั้งขอขอบคุณ ศ.คลินิก พญ. วินัดดา ปิยะศิลป์ ที่แนะนำกระบวนการช่วยเหลือนักเรียน แบบ RCA & Intervention for exactly no child alone ซึ่งช่วยให้การนำเสนอครั้งนี้ผ่านไปด้วยดี
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 24 มีนาคม 2564