จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
ก้าวเล็กๆ บนคานไม้ทรงตัว การข้ามผ่านตาข่ายใยแมงมุม หรือแม้แต่การเคลื่อนตัวไปกับพื้นเพื่อรอดสิ่งกีดขวาง และสัมผัสพื้นผิวที่แตกต่าง ฯลฯ ก่อนจบลงด้วยกิจกรรมสร้างสมาธิอย่างการร้อยลูกปัด หรือต่อจิ๊กซอว์
บางส่วนจากฐานกิจกรรมยามเช้าสำหรับเด็กๆ ช่วงชั้นอนุบาลที่ให้อะไรมากกว่าที่คิด… สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยของอาจารย์หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา ซึ่งมีแนวคิดถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมของร่างกาย ใจความตอนหนึ่งว่า…
ในวัยอนุบาลการประมวลข้อมูลของระบบรับความรู้สึก (Sensory Integration : SI) เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ช่วยกระตุ้นระบบรับประสาทสัมผัสเพื่อให้ฐานกายมีความมั่นคง และรับรู้ให้คมชัด ฉับไว เชื่อมโยงต่อการทำงานของสติปัญญา และทักษะภาษา มีองค์ประกอบสำคัญ เช่น
หากเด็กๆ ได้สัมผัสกับผิวสัมผัสต่างๆ ที่หลากหลาย จะช่วยส่งเสริมให้การรับรู้พัฒนาได้สมบูรณ์มากขึ้น ส่งผลต่อความมั่นคงทางอารมณ์ รู้จักการควบคุมอารมณ์
ช่วยสร้างสมาธิในการจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนที่ดีด้วย
ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเอง ขณะเล่นไม่ล้มง่าย กระโดดได้อย่างคล่องแคล่ว ส่งผลให้เด็กๆ เกิดความมั่นใจในการเล่นร่วมกับเพื่อนๆ
สนุกเรียน… สนุกเล่น…
ในขณะทำกิจกรรม SI คุณครูได้บูรณาการการเรียนรู้เพื่อเสริมประสบการณ์ให้เด็กๆ อาทิ เรียนรู้พยัญชนะ โดยเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว “ให้เด็กๆ กระโดด ๆ ตามหาพยัญชนะต้นของชื่อตัวเอง” พยัญชนะที่มีผิวสัมผัสตะปุ่มตะป่ำจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือ ตา ประสานสัมพันธ์ หรืออาจให้จับคู่พยัญชนะกับวัตถุ จับคู่ภาพกับภาพ จับคู่ภาพกับคำ จับคู่คำกับคำ เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อพัฒนาความคิดของเด็กๆ ตามช่วงวัย
*SI หรือ Sensory Integration