จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
หลังจากการนำเสนอ PBL ในรอบ Oral Presentation บนเวทีจบลงไปแล้ว วันนี้ก็เป็นการแสดงผลงานที่นักเรียนจะได้มานำเสนอ prototype ข้อค้นพบ และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ผู้สนใจได้เข้ามาร่วมพูดคุย ถึงแนวคิดการทำชิ้นงาน ปีนี้เรามีบูธนำเสนอมากถึง 110 บูธ โดยหัวข้อ PBL มาจากความสนใจของนักเรียนจากหลากหลายหัวข้อแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
PBL เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของช่วงชั้นมัธยมจัดให้เป็นการทำงานอิสระ “นอกเวลาเรียน” การทำงาน PBL ครั้งนี้มีระยะเวลาทำงาน 17 สัปดาห์ตลอดภาคเรียนจิตตะ และวิมังสา โดยนักเรียนตั้งโจทย์จากชีวิตจริงและหาคำตอบด้วยตัวเองผ่านกระบวนการ Design Thinking เพื่อให้เกิดกระบวนการที่ชัดเจน และเน้นไปที่ปัญหาหรือการเข้าใจกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้น ทำให้นักเรียนสามารถออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานอย่างแท้จริง อีกทั้งยังช่วยจัดระบบการเรียนรู้และสิ่งที่เรียนรู้ในโครงงานอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ Empathize สำรวจปัญหา Define / Ideate สรุปประเด็นปัญหา หรือวิธีแก้ปัญหา และขั้น prototype จนถึง test สร้างชิ้นงานต้นแบบและทดสอบ
เรียกได้ว่างานนี้คือตลาดนัดไอเดียให้นักเรียนได้นำเสนอความคิดผ่านกระบวนการ Design Thinking ขณะเดียวกันก็ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อน พี่ น้อง เปิดมุมมองใหม่ๆ ต่อปัญหาที่หลากหลายช่วยจุดประกายความคิดให้แต่ละคนได้ไม่น้อยเลย
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566