จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC – School as Learning Community) ห้องเรียนและโรงเรียนจึงเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครอง รวมถึงเครือข่ายทางการศึกษา โดยทุกคนให้ความเคารพและรับฟังเสียงของกันและกัน เด็กทุกคนล้วนมีความแตกต่างสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพตามแนวทางของตนเอง
จากแนวคิดดังกล่าวช่วงชั้นมัธยมจึงมีการเปิดชั้นเรียนร่วมเรียนรู้เพื่อรับฟังการสะท้อนกลับ และข้อแนะนำต่างๆ ขณะเดียวกันก็พร้อมแบ่งปันกระบวนการอันเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจมาอย่างต่อเนื่อง
งาน Open Class ของช่วงชั้นมัธยม โรงเรียนเพลินพัฒนา เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2565 มีเพื่อนครู และนักการศึกษาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก 17 หน่วยงานรวม 45 ท่าน ได้แก่ สช. , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), โรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ), โรงเรียนวัดจุกเฌอ(สมณราษฎร์วิทยาคาร), โรงเรียนบ้านสองพี่น้อง สพป.ระยอง 2, โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ, โรงเรียนสาธิตบางนา, โรงเรียนสุจิปุลิ, โรงเรียนจำรัสวิทยา, โรงเรียนเมืองพัทยา 5 , โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย, อปท. ,โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ, โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย 1 (โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาราม),โรงเรียนกวดวิชาสมาร์ทนครศรีธรรมราช และ สภาครอบครัวเพลินพัฒนา
การจัดงานครั้งนี้มี Parallel Session ต่างๆ และเปิดชั้นเรียนให้ผู้ร่วมงานเลือกเข้าตามความสนใจมากกว่า 10 ห้องโดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก Model Teacher – Buddy และนักเรียนที่มีการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ หลังจากนั้นได้ร่วมสะท้อนคิดซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาชั้นเรียนเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงท้ายได้ร่วมรับฟังสัมมนา “โรงเรียนคุณภาพ มาจากห้องเรียนคุณภาพ” จาก ศ.ดร.เอสึเกะ ไซโตะ ที่ช่วยตอกย้ำการพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพสูงสุด และเป็นก้าวสำคัญสู่การสร้างโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) พัฒนาครูให้สร้างการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบรวมพลัง (Collaborative Learning) ให้นักเรียน ดูแลเอาใจใส่กันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2565