เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
วิชา: Digital Arts ชั้น 9
เนื้อหา: การไดคัท การทำคอลลาจ
โจทย์: Digital collage ห้ามวาด ทำได้แค่ปรับแต่งรูป และไดคัท
ความท้าทาย: การหารูป การจินตนาการ
สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้โดยไม่รู้ตัว: ความเข้าใจเรื่องการจัดวาง ระยะ สัดส่วน
“ เป็นวิชาที่จะง่ายก็ง่าย จะยากก็ยากเลย การที่ให้นักเรียนได้เจอการใช้งานยากก่อนการไดคัทง่ายๆ จะทำให้นักเรียนคิดว่าแม้เครื่องมือบางอย่างจะยากแต่ก็มีบางสิ่งที่ง่าย แต่ความง่ายมันก็ถูกแทนที่ด้วยการใช้จินตนาการที่มากขึ้น ต้องให้เวลานักเรียนเยอะๆ ในการหารูปที่จะมาจัดวาง บางอย่างที่เราจินตนาการไม่ได้ เด็กสามารถแต่งเติม ดูแล้วรู้สึกว่าสนุกไปกับงานของนักเรียนมากแบบคิดไม่ถึง เหมือนได้รู้ว่านักเรียนชอบอะไร สนใจอะไร มีอิสระในการเลือกรูป ซึ่งเป็นข้อดีในการทำงานดิจิตอล ”
ครู(พี่)มิลค์ จบ ป.ตรี สาขาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว. และกำลังศึกษาต่อ ป.โท สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล
“การออกแบบการสอน พยายามจะให้นักเรียนได้ create และได้ฝึก life skills สำหรับชั้น 9 เทอมนี้ได้เรียน Photoshop ซึ่งการไดคัทใน photoshop ก็มีหลายแบบซึ่งครูมิลค์สสอนไป 2 แบบ หรือใครที่สนใจโปรแกรมอื่นก็สามารถทำได้ไม่จำกัด ความท้าทายในการทำชิ้นงานนี้คือการใช้จินตนาการ ความเข้าใจในการจัดวางภาพและการคัดเลือกหาภาพให้ได้ตามจินตนาการ รวมทั้งการใช้เทคนิคไดคัทให้เหมาะสมกับภาพก็เป็นความท้าทายเช่นกัน การไดคัทยังช่วยฝึกสมาธิได้ด้วย เพราะนักเรียนไม่มีเมาท์ปากกาที่จะเก็บละเอียดได้ ความสนุกในการที่จะเล่าเรื่องราวที่เหนือจริงผ่านภาพครู(พี่)มิลค์มองว่าตรงนี้เด็กน่าจะสนุกไปกับจินตนาการค่ะ”
ขอบคุณแหล่งข้อมูลภาพต่างๆ ที่ช่วยสร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนด้วยค่ะ