สอนเสวนาสู่การเรียนรู้เชิงรุก
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้แนวทางจัดการเรียนรู้แบบที่เรียกว่า active learning หรือการเรียนรู้เชิงรุก
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้แนวทางจัดการเรียนรู้แบบที่เรียกว่า active learning หรือการเรียนรู้เชิงรุก
การพัฒนางานประจำด้วยการวิจัย โดยคุณครูนำปัญหาหรือสิ่งที่อยากพัฒนาผู้เรียนผ่านกระบวนการวิจัย และนำผลลัพธ์ที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สร้างพลังในการทำงานให้ทีมคุณครูฝ่ายสำนักอำนวยการในช่วงปิดภาคเรียนผ่านเวิร์คช็อปสนุกๆ “Design Thinking” ที่ช่วยฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
ครูสุ - สุภาพร กฤตยากรนุพงศ์ โค้ชหลักในการสอนคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1 โรงเรียนเพลินพัฒนา และคุณครูจากโรงเรียนต่างๆ อีกหลายท่าน เมื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เรียกร้องให้ ‘ครู’ ผันตัวเองจาก ‘ผู้สอน’ มาเป็น ‘ผู้ก่อการ’ (Change Agent) ‘ครูเพื่อศิษย์’
ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง ติดตามเรื่องเล่าการเรียนรู้อีกหลากหลายเรื่องราวจากหนังสือเล่มนี้
ไม่ว่าจะกี่ปีผ่านไปในรั้วเพลินพัฒนาสิ่งหนึ่งที่สัมผัสและรับรู้ได้คือความมุ่งมั่น ตั้งใจของคุณครูที่ไม่เคยหยุดพัฒนา
ชื่นใจ…ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ 18 (28 ตุลาคม 2563) กับธีมงาน N2 KM – New Normal Knowledge Management ใช้การถ่ายทอดสดจากห้องประชุมเพลินพัฒนาไปที่ช่วงชั้นที่ 1 เพื่อลดการรวมตัวกัน เว้นระยะห่างภายใต้มาตรการโควิด -19 ที่ยังคงการเรียนรู้ได้ครบถ้วน เป็นอีกหนึ่งวันเต็มที่คุณครูช่วงอนุบาล และช่วงชั้นประถมร่วมเรียนรู้ สร้างพลังทีม เติมพลังจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูให้กันและกัน เตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนจิตตะ We shall overcome ขับร้องโดยคุณครูช่วงชั้นอนุบาล ประถม “เราจะก้าวถึงชัยแน่นอน เราจะก้าวสู่ชัยร่วมกันวันหนึ่ง” คำร้องแปลไทยโดยครูปาด – ศีลวัต ศุษิลวรณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการเรียนรู้ไปบนความแตกต่างของเด็กแต่ละคน ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช สะท้อนการเรียนรู้โรงเรียนแห่งนี้เรียกว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ (Learning organization) มีการเรียนรู้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติเป็น Interactive learning through action หัวใจสำคัญไม่ได้เรียนอยู่คนเดียว การพัฒนางานไม่ได้ทำเพียงคนเดียว แต่ทำร่วมกันเป็นทีม คุณครูมีลักษณะเป็น “บุคคลเรียนรู้” (Learning person) มีทักษะการเรียนรู้ มี “ฉันทะ” ชอบและมีความสุขกับการเรียนรู้ โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้ของลูกศิษย์ภายใต้ความแตกต่างของแต่ละคนเป็นตัวตั้ง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของความเป็นครู การทำงานที่มีไม้บรรทัดตลอดเวลา ไม้บรรทัดนี้เรียกว่า“ไม้บรรทัดวัดเจตคติ” เพื่อวัดว่านักเรียนอยากเรียนไหม เรียนได้ดีไหมในความรู้สึกของเขา เพื่อเป็น feedback เป็น formative assessment ให้กับครูเพื่อให้ครูนำไปปรับตัว ปรับวิธีการเรียน เป็นเครื่องมือให้ครูได้เรียนรู้ เป็นวงจรของการปรับตัว (PDCA) ทั้งหมดนี้คือการสร้าง platform การทำงาน และมีวิธีการเข้าถึงการเรียนรู้ของเด็กอย่างแท้จริง วิจัยพาเพลิน…สนุกตั้งคำถาม หาคำตอบ รศ.ดร. ชาติชาย กฤตนัย (คุณพ่อน้องจูล ชั้น 11) สะท้อนการเรียนรู้และให้กำลังใจคุณครู เด็กๆ เพลินพัฒนาโชคดีมากที่มีครูที่ตั้งใจ และเอาจริงเอาจังที่จะพัฒนาตัวเอง … คีย์เวิร์ดที่พูดกันบ่อยวันนี้คือคำว่า “วิจัย” ที่ฟังดูซับซ้อน เข้าใจยาก เป็นการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ขณะที่วิจัยที่เพลินฯ เรียกว่า “วิจัยพาเพลิน” ซึ่งเราตั้งใจให้เพลินอยู่แล้ว จึงไม่ซับซ้อนแบบนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สร้างการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถาม และหาคำตอบ หากเรายึดสิ่งที่ง่ายๆ แบบนี้ก็จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย การที่จะโค้ชเด็กก็ไม่ใช่เรื่องยาก การทำวิจัยในโรงเรียนเพลินพัฒนาถือว่ามีความก้าวหน้ามากๆ ในระดับประเทศและระดับโลกเลยที่ทำวิจัยตั้งแต่เล็กๆ เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยสามารถทำให้ทุกคนสามารถสร้างความรู้ได้ตลอดเวลา เป็นความรู้ที่จริง เชื่อถือได้ เป็นกำลังใจให้คุณครูทุกคนที่กำลังทำสิ่งที่ก้าวหน้ามากๆ ในวงการการศึกษาบ้านเรา หากรู้สึกเครียด และเหนื่อย ให้คิดว่าวิจัยพาเพลินจะได้รู้สึกสบายใจขึ้น เพราะคำถามวิจัยจริงๆ มีอยู่ตลอดเวลา คำตอบจึงไม่จำเป็นต้องซับซ้อน เพียงแต่กระบวนการในการหาคำตอบต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้องก็จะตอบคำถามวิจัยได้ ============== ชื่นใจ…ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ 18 28 ตุลาคม 2563 I 8.00 -17.00 น. • ร้องเพลง “ให้” ร่วมกัน • ข้อค้นพบจาก Home-Based Learning Community (HBLC) • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ • ส่วนงานวิชาการนำเสนอภาพรวมเจตคติครึ่งปีแรกของปีการศึกษา 2563 • ความเพียรของครูนัท • นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ : กรณีศึกษาโครงงาน “หนังสือเดินทาง” หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ชั้น ๖ • กระบวนการแก้ปัญหาเจตคติผ่านกระบวนการ PDCA : กรณีศึกษาหน่วยวิชาพัฒนาชีวิต ช่วงชั้นที่ 2 • การเอาชนะปัญหาและข้อจำกัดของการเล่นกีฬา เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางกายในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 : กรณีศึกษาหน่วยวิชากีฬา ช่วงชั้นที่ 1 • ความรู้และข้อค้นพบจากงาน KM ของช่วงชั้นอนุบาล • แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสร้างหัวข้อวิจัยและการออกแบบวิธีวิจัย ที่จะเริ่ม ดำเนินการในภาคเรียนจิตตะ – วิมังสา • อ.วิจารณ์ กล่าวสะท้อนการเรียนรู้ • ตัวแทนกลุ่ม R2R สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ • ครูบันทึกการเรียนรู้ของตนเองลงในสมุดบันทึก KM • สะท้อนการเรียนรู้ และความประทับใจในวันนี้ จากห้องย่อย • ร้องเพลง “ We shall overcome” ร่วมกัน โดย ส่วนสื่อสารองค์กรข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2563
ชื่นใจได้เรียนรู้...ภาคครูเพลินครั้งที่ 15 เมื่อ 25 - 27 มีนาคม 2562 มีเป้าหมายเพื่อให้คุณครูเห็นภาพห้องเรียนที่เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้อย่างแท้จริง
เปิดชั้นเรียน “หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย” ชั้น ๕ โดยคุณครูสาธิตา รามแก้ว เพื่อให้เพื่อนครูได้ร่วมสังเกตวิธีจัดกระบวนการเรียนการสอนในงานชื่นใจ...ได้เรียนรู้(ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ ๑๒
“ตามความเห็นของผมการเดินทางของการเรียนรู้ของคณะครูเพลินพัฒนา (ประถม) ปีนี้เกิดการเรียนรู้แบบก้าวกระโดด ”ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวสะท้อนการเรียนรู้ งาน “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้” (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ ๑๑
มื่อคุณครูต้องลองไปนั่งในใจเด็กให้ได้ผ่านห้องเรียนสาธิตคณิตศาสตร์ ชั้น ๓ ของคุณครูสุภาพร กฤตยากรนุพงศ์ คูณครูวิชาการโดยมีเพื่อนครูเป็นผู้เรียน
ช่วงเวลาดีๆ ที่คุณครูได้สะท้อนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน)” ครั้งที่ ๘ ในช่วงปิดภาคเรียนวิริยะ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ คุณครูปาด - ศีลวัต ศุษิลวรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ได้ชวนคิดชวนมององค์ประกอบหลักสูตร