เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
เปิดห้องเรียนร่วมเรียนรู้รายวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ชั้น 9 ผ่านการรวมพลังของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) คาบเรียนนี้ “คุณครูอัญชุลี นาสา (ครูป๊อป)” มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องโครงสร้างของบทละคร จึงเลือกหยิบยกตัวอย่างคลิปละครยอดนิยมมาให้เด็กๆ วิเคราะห์ จัดแบ่งองค์ประกอบร่วมกัน
แม้ครูป๊อปจะมีเวลาเตรียมแผนการสอนนี้ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนการสอน แต่ก็มีความกังวลในการจัดการเรียนรู้อยู่ไม่น้อย เพราะไม่มั่นใจว่านักเรียนจะสามารถถอดองค์ประกอบของบทละครออกมาได้หรือไม่ จึงเป็นความท้าทายในการออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อ และกิจกรรมที่ครูจัดให้ กว่าจะถึงวันสอนครูป๊อบมีการปรับเปลี่ยนแผน 3 – 4 ครั้ง แต่ด้วยพลังทีม มีเพื่อนครูคู่ buddy ครูรุ่นพี่ที่พร้อมช่วยเหลือสนับสนุนคอยให้คำแนะนำจึงทำให้ครูป๊อบคลายกังวลขึ้นมาก
นอกจากทักษะความรู้ที่คาดหวัง ความท้าทายอีกเรื่องหนึ่งของการสอนแบบ HBLC คือการสร้างบรรยากาศให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน แผนการสอนนี้จึงมีการใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างหลากหลาย ในหนึ่งคาบเรียนจึงวางความต่อเนื่องของเนื้อหาว่าส่วนไหนควรใช้โปรแกรมใดให้เหมาะสม เช่น
mentimeter ให้นักเรียนทุกคนในห้องได้แชร์ความสงสัย ตั้งคำถามด้วยตนเอง และทำให้เขาเห็นข้อความของเพื่อนด้วย
padlet ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย แชร์ความรู้ร่วมกันในกระบวนการกลุ่ม โดยคุณครูสามารถตั้งค่าให้นักเรียนเห็นการทำงานเฉพาะกลุ่ม หรือจะตั้งให้เพื่อนกลุ่มอื่นเห็นด้วยก็ทำได้เช่นกัน
google slide คือโปรแกรมการทำงานนำเสนอออนไลน์พร้อมกัน นักเรียนสามารถทำงานร่วมกันได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งสะดวกในการทำกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างมาก
และสุดท้าย google classroom ในการโพสต์งาน หรือการโพสต์ลิงค์การทำกิจกรรมไว้ให้นักเรียน รวมไปถึงการให้นักเรียนส่งงานตามวัน เวลาที่กำหนด โดยครูป๊อปได้ทบทวนและซักซ้อมกับคุณครูคู่ buddy ในการลำดับการทำกิจกรรม และเตรียมการในการเปิดสื่อต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ไว้ตามลำดับ
หลังจบการสอนในคาบเรียนนี้ครูป๊อบรู้สึกดีใจมาก เพราะทุกอย่างที่วางแผนไว้เป็นไปตามลำดับ นักเรียนสามารถไปถึงเป้าหมายการเรียนรู้ที่วางไว้ได้ ….
ขอบพระคุณ รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ ที่ให้แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co – 5 STEPs) และขอขอบคุณเพื่อนครูที่ร่วมสังเกตการณ์จากโรงเรียนจำรัสวิทยา และโรงเรียนบ้านปากพนัง 2 ที่มาช่วยเติมเต็มให้คำแนะนำดีๆ เพื่อการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นด้วยนะคะ
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564