เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
คนไทยนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักและส่งออกให้คนทั่วโลกได้รับประทาน ข้าวถือเป็นอาหารคู่คนไทยมาช้านาน และคนไทยก็มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ผูกพันกับข้าว
โดยเฉพาะชาวนา…อาชีพที่ผลิตข้าวเลี้ยงดูคนทั้งประเทศ จนมีคำกล่าวไว้ว่า “ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” ฟังดูแล้วเหมือนว่าชาวนาไทยจะได้รับเกียรติและการยกย่อง แต่ในสภาพความเป็นจริง ชาวนาไทยประสบกับปัญหามากมายที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
ในฐานะคนที่กินข้าว และอยู่ในวัฒนธรรมที่ข้าวเป็นอาหารหลัก เด็ก ๆ ชั้น 5 จึงได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับ “ภูมิสังคม – วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของข้าว” ในวิชามานุษและสังคมศึกษา นักเรียนได้รับรู้ถึงวิถีชีวิตของชาวนาในสังคมไทยที่เปลี่ยนไป จากการผลิตเพื่อบริโภคมาผลิตเพื่อจำหน่าย ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
จากการเรียนรู้ในชั้นเรียนมาสู่การเรียนรู้ในภาคสนามที่นักเรียนจะได้ไปลงพื้นที่เรียนรู้เรื่องราวจากชาวนาตัวจริง ปัญหาที่ชาวนากำลังเผชิญ ผ่านโจทย์วิจัย “จะใช้หลักการของวิสาหกิจที่ยั่งยืนเพื่อคืนความมั่งคั่งและมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมสู่คนปลูกข้าวได้อย่างไร”
เมื่อเข้าสู่การเรียนรู้ สัปดาห์ที่ 6 นักเรียนก็จะออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน ณ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนไร่ส้ม-เวียงคอย ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เพื่อปรับปรุง เติมเต็ม ยืนยันสมมติฐานของตนเอง เด็ก ๆ ได้เตรียมตัวพร้อมทั้งการเรียนรู้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การศึกษาวิธีการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากกรณีตัวอย่างในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการเรียนรู้อัตลักษณ์ทางภูมิสังคม-วัฒนธรรมของท้องที่ต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ นักเรียนได้ทดลองนำความเข้าใจนั้นไปก่อร่างสมมติฐานเพื่อตอบต่อคำถามวิจัย และในที่สุดก็พร้อมแล้วที่จะเป็นทั้งนักท่องเที่ยวและนักเรียนรู้ เพื่อปรับปรุง เติมเต็ม ยืนยันสมมติฐานของตนเองในการไปภาคสนามครั้งนี้
ภาคสนามวันแรก : เด็ก ๆ ไปเรียนรู้วิถีชีวิตชาวนาดั้งเดิม ผ่านการสัมภาษณ์ พูดคุยกับวิทยากรที่เป็นชาวนา ผู้มีประสบการณ์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการทำนา ได้ประสบการณ์จากการดำนาในพื้นที่จริง และเรียนรู้ผ่านการสำรวจระบบนิเวศในนาข้าวที่มีวิธีการปลูกแตกต่างกันเช่น แบบนาดำ และนาหว่าน ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของข้าวที่แตกต่างกัน เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วิถีชีวิตตามความเชื่อที่เกี่ยวกับข้าวของชาวนาในช่วงเวลา 12 เดือน ในช่วงกลางวันเด็ก ๆ ได้ฝึกการเป็นผู้ให้ในการห่อข้าวใบบัว และใช้ความงามทางภาษาในการแต่งกลอนเพื่อมอบให้กับเพื่อนหรือครูที่ได้รับข้าวห่อใบบัวที่ตนเองได้ห่อให้โดยเป็นหารหยิบสุ่ม ได้เห็นรอยยิ้มระหว่างทานอาหารกลางวันของเด็ก ๆ ผ่านการจำลองการห่อข้าวไปกินในทุ่งนา ส่วนในช่วงเย็นเป็นกิจกรรมหาอยู่ หากิน มื้อเย็นกลางนา เด็ก ๆ จะทำอาหารทานเองจากวัตถุดิบที่มีอยู่ เหมือนการจำลองวิถีชาวนาที่ทำอาหารทานเองในช่วงเย็นหลังจากกลับจากการทำนาทำให้เด็ก ๆ ได้เข้าไปเห็นถึงวิถีชีวิตและสังคมชาวนาในตลอดทั้งวัน
ภาคสนามวันที่สอง : เด็ก ๆ ได้ไปเรียนรู้การตั้งกลุ่มวิสาหกิจศูนย์ข้าวชุมชนไร่ส้มเวียงคอย เพื่อเข้าใจถึงที่มาของการรวมกลุ่ม จุดประสงค์ การดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม หลังจากนั้นเด็ก ๆ ได้ไปพูดคุย สัมภาษณ์พูดคุยกับคนปลูกข้าวเป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตของครอบครัวชาวนาในเชิงลึก กระบวนการทำนาในขั้นตอนต่าง ๆ การเข้าอยู่ในกลุ่มวิสาหกิจ รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันซึ่งข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งเด็ก ๆ ได้เตรียมคำถามจากการเรียนรู้ในห้องเรียน และตั้งคำถามสัมภาษณ์ชาวนาด้วยตนเองโดยมีการแบ่งกลุ่มเพื่อสัมภาษณ์ชาวนา แต่ละกลุ่มจะได้สัมภาษณ์ชาวนา 2 คน หลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นการเก็บตกความรู้ ของตนเอง เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ชาวนา เพื่อหาปัญหาที่มีร่วมกันของชาวนา ในช่วงกลางคืนก่อนนอนคุณครูจะพาเด็ก ๆ เขียนไดอารี่ผ่านเรื่องเล่าประจำวันที่ได้จากการเรียนรู้ในภาคสนามที่จะทำให้นักเรียนได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตภายในตนเอง โดยมีเป้าหมายให้เด็ก ๆ สุขง่ายทุกข์ยาก อดทนไม่ย่อท้อ เป็นครูของตนเอง เพียรพยายามในการแก้ปัญหา และ คนเก่งที่แท้จริง ไม่เคยทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ภาคสนามวันที่สาม : ในตอนช่วงเช้าเด็ก ๆ ได้นำปัญหาที่มีร่วมกันของชาวนามาจัดกลุ่ม ว่าปัญหาที่พบส่งผลกระทบในด้านใดบ้าง ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม เพื่อจะนำมายืนยันสมมติฐานของตนเอง โดยเด็ก ๆ ได้อ่านงานของเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ เพื่อเป็นการทบทวนและเก็บตกข้อมูล จากนั้นเด็ก ๆ จะมาร่วมกันแลกเปลี่ยนปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวนาโดยมีครูเป็นคนช่วยจัดระเบียบความรู้ลงในกระดาษน้ำตาลที่อยู่ด้านหน้าเพื่อให้ทุก ๆ คนได้เห็นข้อมูลที่แลกเปลี่ยนร่วมกัน ซึ่งการยืนยันปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นการช่วยให้เด็ก ๆ นำไปยืนยันเพื่อปรับปรุง เติมเต็ม ยืนยันสมมติฐานของตนเอง ที่จะกลับไปใช้ในการทำโครงงานวิจัยของตนเองหลังจากกลับจากภาคสนาม และในภาคเรียนวิมังสาต่อไป ในช่วงปิดท้ายภาคสนามนักเรียนได้ไปเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยในแขนงต่าง ๆ เชื่อมโยงกับที่เรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย โดยเดินชมวัดใหญ่สุวรรณาราม ชื่นชมกับจิตกรรมฝาผนัง สถาปัตยกรรม-ศิลปกรรมยุคอยุธยาตอนปลาย และทำกิจกรรมวาดภาพลงรักปิดทอง จากนั้นเดินทางกลับโรงเรียนเพลินพัฒนา
ขอให้ติดตามการเติบโตของเด็ก ๆ ต่อในภาคสนามวิมังสา ที่เราจะได้เห็นเด็ก ๆ ปลุกพลังของความสงสัยใฝ่รู้ไปสู่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายในการหาวิธีพิสูจน์สมมติฐานการวิจัย ทำการออกแบบวางแผนกระบวนการพิสูจน์ วางลำดับขั้นตอนในการเก็บข้อมูล โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตนเอง
เด็ก ๆ จะได้รับประสบการณ์ “มือหนึ่ง”(First-hand experience) เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นตามบริบทจริงในพื้นที่ภาคสนามจากการทำงานวิจัยเพื่อนำข้อมูลมาพิสูจน์สมมติฐานจากงานวิจัยของตนเอง มาร่วมติดตามการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ชั้น 5 ในภาคสนามของภาคเรียน ไปด้วยกันนะคะ
บันทึกโดย วิสาขา ข่าทิพย์พาที (ครูวิ)
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2567