เปิดมุมมองสร้างสรรค์สื่อยุคใหม่
นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในมิติต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนและสังคมอยู่ตลอดเวลา ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเด็นที่ตนเองสนใจ
ชื่นใจ…ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ 18 (28 ตุลาคม 2563) กับธีมงาน N2 KM – New Normal Knowledge Management ใช้การถ่ายทอดสดจากห้องประชุมเพลินพัฒนาไปที่ช่วงชั้นที่ 1 เพื่อลดการรวมตัวกัน เว้นระยะห่างภายใต้มาตรการโควิด -19 ที่ยังคงการเรียนรู้ได้ครบถ้วน เป็นอีกหนึ่งวันเต็มที่คุณครูช่วงอนุบาล และช่วงชั้นประถมร่วมเรียนรู้ สร้างพลังทีม เติมพลังจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูให้กันและกัน เตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนจิตตะ
ขับร้องโดยคุณครูช่วงชั้นอนุบาล ประถม
“เราจะก้าวถึงชัยแน่นอน เราจะก้าวสู่ชัยร่วมกันวันหนึ่ง” คำร้องแปลไทยโดยครูปาด – ศีลวัต ศุษิลวรณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการเรียนรู้ไปบนความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช สะท้อนการเรียนรู้โรงเรียนแห่งนี้เรียกว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ (Learning organization) มีการเรียนรู้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติเป็น Interactive learning through action หัวใจสำคัญไม่ได้เรียนอยู่คนเดียว การพัฒนางานไม่ได้ทำเพียงคนเดียว แต่ทำร่วมกันเป็นทีม
คุณครูมีลักษณะเป็น “บุคคลเรียนรู้” (Learning person) มีทักษะการเรียนรู้ มี “ฉันทะ” ชอบและมีความสุขกับการเรียนรู้ โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้ของลูกศิษย์ภายใต้ความแตกต่างของแต่ละคนเป็นตัวตั้ง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของความเป็นครู
การทำงานที่มีไม้บรรทัดตลอดเวลา ไม้บรรทัดนี้เรียกว่า“ไม้บรรทัดวัดเจตคติ” เพื่อวัดว่านักเรียนอยากเรียนไหม เรียนได้ดีไหมในความรู้สึกของเขา เพื่อเป็น feedback เป็น formative assessment ให้กับครูเพื่อให้ครูนำไปปรับตัว ปรับวิธีการเรียน เป็นเครื่องมือให้ครูได้เรียนรู้ เป็นวงจรของการปรับตัว (PDCA) ทั้งหมดนี้คือการสร้าง platform การทำงาน และมีวิธีการเข้าถึงการเรียนรู้ของเด็กอย่างแท้จริง
รศ.ดร. ชาติชาย กฤตนัย (คุณพ่อน้องจูล ชั้น 11) สะท้อนการเรียนรู้และให้กำลังใจคุณครู
เด็กๆ เพลินพัฒนาโชคดีมากที่มีครูที่ตั้งใจ และเอาจริงเอาจังที่จะพัฒนาตัวเอง … คีย์เวิร์ดที่พูดกันบ่อยวันนี้คือคำว่า “วิจัย” ที่ฟังดูซับซ้อน เข้าใจยาก เป็นการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ขณะที่วิจัยที่เพลินฯ เรียกว่า “วิจัยพาเพลิน” ซึ่งเราตั้งใจให้เพลินอยู่แล้ว จึงไม่ซับซ้อนแบบนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สร้างการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถาม และหาคำตอบ หากเรายึดสิ่งที่ง่ายๆ แบบนี้ก็จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย การที่จะโค้ชเด็กก็ไม่ใช่เรื่องยาก การทำวิจัยในโรงเรียนเพลินพัฒนาถือว่ามีความก้าวหน้ามากๆ ในระดับประเทศและระดับโลกเลยที่ทำวิจัยตั้งแต่เล็กๆ เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยสามารถทำให้ทุกคนสามารถสร้างความรู้ได้ตลอดเวลา เป็นความรู้ที่จริง เชื่อถือได้
เป็นกำลังใจให้คุณครูทุกคนที่กำลังทำสิ่งที่ก้าวหน้ามากๆ ในวงการการศึกษาบ้านเรา หากรู้สึกเครียด และเหนื่อย ให้คิดว่าวิจัยพาเพลินจะได้รู้สึกสบายใจขึ้น เพราะคำถามวิจัยจริงๆ มีอยู่ตลอดเวลา คำตอบจึงไม่จำเป็นต้องซับซ้อน เพียงแต่กระบวนการในการหาคำตอบต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้องก็จะตอบคำถามวิจัยได้
==============
ชื่นใจ…ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ 18
28 ตุลาคม 2563 I 8.00 -17.00 น.
• ร้องเพลง “ให้” ร่วมกัน
• ข้อค้นพบจาก Home-Based Learning Community (HBLC)
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้
• ส่วนงานวิชาการนำเสนอภาพรวมเจตคติครึ่งปีแรกของปีการศึกษา 2563
• ความเพียรของครูนัท
• นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ : กรณีศึกษาโครงงาน “หนังสือเดินทาง” หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ชั้น ๖
• กระบวนการแก้ปัญหาเจตคติผ่านกระบวนการ PDCA : กรณีศึกษาหน่วยวิชาพัฒนาชีวิต ช่วงชั้นที่ 2
• การเอาชนะปัญหาและข้อจำกัดของการเล่นกีฬา เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางกายในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 : กรณีศึกษาหน่วยวิชากีฬา ช่วงชั้นที่ 1
• ความรู้และข้อค้นพบจากงาน KM ของช่วงชั้นอนุบาล
• แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสร้างหัวข้อวิจัยและการออกแบบวิธีวิจัย ที่จะเริ่ม ดำเนินการในภาคเรียนจิตตะ – วิมังสา
• อ.วิจารณ์ กล่าวสะท้อนการเรียนรู้
• ตัวแทนกลุ่ม R2R สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้
• ครูบันทึกการเรียนรู้ของตนเองลงในสมุดบันทึก KM
• สะท้อนการเรียนรู้ และความประทับใจในวันนี้ จากห้องย่อย
• ร้องเพลง “ We shall overcome” ร่วมกัน
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2563