โลกระหว่างบรรทัด: ภาพชีวิต ผู้คน และสังคม ครั้งที่ 5

เพราะงานเขียนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด มีพลังในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสังคม จึงเป็นที่มาของงานสัมมนาวิชาการ

“โลกระหว่างบรรทัด: ภาพชีวิต ผู้คน และสังคม ครั้งที่ 5” เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 ของนักเรียนรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้มานุษและสังคมศึกษา ระดับชั้น ม.4 – 6 ในรายวิชา Social Issues การพัฒนาที่ยั่งยืน และ Global Issues การนำเสนอบทความในปีนี้จะเห็นความสนใจของนักเรียนที่หลากหลายซึ่งใช้งานเขียนเป็นเครื่องมือสะท้อนตัวตน มุมมอง วิธีคิดที่พวกเขามีต่อเรื่องนั้นๆ ภายใต้การสืบค้นข้อมูลและเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยการนำเสนอครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้ง 3 ท่าน คือ

1. คุณอภินันท์ ธรรมเสนา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

2. คุณชัยธวัช สีผ่องใส ผู้ประสานงานวารสารวิชาการ รัฐศาสตร์สาร-รัฐศาสตร์นิเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. คุณสิริน สถิตวราทร นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มาร่วมให้ข้อคิดเห็นและชวนนักเรียนเปิดมุมมองให้กว้างขึ้น ประเด็นที่นักเรียนทั้ง 3 วิชา เลือกนำเสนอนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 หัวข้อหลัก ดังนี้

  • ครอบครัวจุดเริ่มต้นของสังคม

1. บทความจากแทนย่า ชั้น 10 ในหัวข้อ “พื้นที่ระหว่างครอบครัว”

2. บทความจากเจได ชั้น 10 ในหัวข้อ “สมรสเท่าเทียม ความรักที่รัฐไม่รับรอง”

3. บทความจากป่าน ชั้น 12 ในหัวข้อ “สิ่งที่คิดนำไปสู่การออกเดินทางในโลกกว้าง”

ปรากฏการณ์ที่นักเรียนได้นำเสนอทั้งในระดับปัจเจกบุคคลในด้านของสิทธิไม่ว่าจะเป็นการออกเดินทางค้นหาตัวตน สิทธิที่จะรักที่ไม่ได้จำกัดด้วยเพศ และขยายขอบเขตนิยามความหมายของครอบครัวให้กว้างขึ้น ภายใต้

การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เพื่อตั้งคำถามกับบรรทัดฐานที่มาเป็นกรอบในการจัดระเบียบทางสังคมให้ผู้คนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตาม

  • วิถีชีวิต ความเชื่อ และสุขภาวะ

1. บทความจากไชน่า ชั้น 10 ในหัวข้อ “สุขภาพดีเพราะผีบอก”

2. บทความจากเพลง ชั้น 10 ในหัวข้อ “วัยหวานเจี๊ยบ”

3. บทความจากโอนิ ชั้น 12 ในหัวข้อ “กระแสมูเตลูที่ไม่เคยจางหายไปจากวิถีชีวิต”

จุดร่วมของแต่ละบทความของนักเรียนทั้ง 3 คน คือ “ความเชื่อ” ที่นำไปสู่วิถีปฏิวัติและวัฒนธรรมของผู้คนในสังคม ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าในกระแสโลกาภิวัตน์ที่โลกมีความสลับซับซ้อน มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความรู้

ทางวิทยาศาสตร์ แต่ความเชื่อยังคงเป็นสิ่งที่มอบความหวังต่อผู้คนในสังคม และความเชื่อได้สะท้อนให้เห็นความผกผันกันกับประชาธิปไตยได้อย่างน่าสนใจ

  • ศิลปะ อุตสาหกรรมความบันเทิง

1. บทความจากแทน ชั้น 11 ในหัวข้อ “สื่อบันเทิงสู่เสาหลักเศรษฐกิจจีน”

2. บทความจากปุน ชั้น 11 ในหัวข้อ “พัฒนาการของภาพยนตร์ที่ไม่สิ้นสุด

3. บทความจากบัว ชั้น 11 ในหัวข้อ “กล้องภาพยนตร์ระบบฟิล์มจากจุดเริ่มต้นสู่จุด (ยังไม่) จบ

4. บทความจากน้ำ ชั้น 12 ในหัวข้อ “Art Toy ของเล่นที่เหมือนงานศิลปะ”

ประเด็นที่น่าสนใจและตั้งคำถามกับงานศิลปะและความบันเทิงเหล่านั้น หากงานศิลปะถูกผลิตซ้ำจำนวนมาก (Mass Production) คุณค่าและความหมายของศิลปะยังคงอยู่หรือไม่ บทบาทของสถาบันทางสังคมจะมีส่วนในการสร้าง Soft Power เพื่อเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่วัฒนธรรมและเป็นจุดขายในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างไร และสุดท้ายการพัฒนาของอุตสาหกรรมความบันเทิงสามารถเติมโตไปพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบทบาทในการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมในมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร

  • สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

1. บทความจากเกีย ชั้น 11 ในหัวข้อ “นกกีวี่กับการเข้ามาของมนุษย์”

2. บทความจากซีต้าร์ ชั้น 11 ในหัวข้อ “รถยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคต”

3. บทความจากอิกคิว ชั้น 11 ในหัวข้อ “ประเด็นสิ่งแวดล้อมกับสโมสรลิเวอร์พูล”

เมื่อประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่สำคัญในปัจจุบัน บทความในกลุ่มนี้ได้พาเราสอดส่องวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ล้วนแล้วแต่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ แม้จะมีทางเลือกพลังงานทดแทนอย่างรถยนต์ไฟฟ้า แต่คำถามสำคัญคือกระบวนการผลิตและรักษานั้นถือเป็นความยั่งยืนที่แท้จริงหรือไม่

  • การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

1. บทความจากแป้น ชั้น 10 ในหัวข้อ “คนตกคลอง”

2. บทความจากแพท ชั้น 10 ในหัวข้อ “การหายไปของผู้หญิงในประวัติศาสตร์”

3. บทความจากตั้งเต ชั้น 10 ในหัวข้อ “กระดูกสันหลังหล่อเลี้ยงชาติไทย”

4. บทความจากไหม ชั้น 12 ในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของ My Body My Choice”

5. บทความจากลูกหว้า ชั้น 12 ในหัวข้อ “Beauty Bias สู่วงการศัลยกรรม”

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม จะมีความน่าสนใจมากขึ้นหากเรามองเรื่องราวเล่านั้นทั้งในฐานะของ “คนใน” ที่นำตนเองเข้าไปสัมผัส มีประสบการณ์ร่วมกับวิถีชีวิตของผู้คนในเรื่องที่เราสนใจ หรือแม้แต่ในฐานะของ “คนนอก” ที่แสวงหาข้อมูล สืบค้น สัมภาษณ์จากผู้มีประสบการณ์ตรง จะเห็นได้ว่าตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมามีความพยายามจะช่วงชิงพื้นที่การให้ความหมายในแต่ละประเด็นอยู่เสมอ

การเปิดพื้นที่แห่งการรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเท็จจริงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ด้วยชุดข้อมูล วิธีคิดที่หลากหลาย สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียนได้นำประเด็นที่ตนเองสนใจมาร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันทั้งกับพี่ๆ น้องๆ ในมัธยมปลายและวิทยากร เป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นสร้างให้นักเรียนเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น

โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2566