เปิดจอมาเจอกัน

ขอแบ่งปันบทความดีๆ จากวงพูดคุยสบายๆ “เปิดจอมาเจอกัน” เมื่อ 10 ก.ค. 64 โดยคุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จาก SCG สรุปประเด็นการเรียนรู้โดยแม่บิว (พุฒิ พีค พราว) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาลูกๆ นะคะ

หลังจากที่แม่บิวเคยเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาแล้ว 2 ครั้ง จาก Lego Serious Play และ Mindset : How to be more effective เป็นการเจอในบรรยากาศแบบเป็นกันเอง(เหมือนเดิม) เกือบ 2 ชม.เต็มอิ่มพอดีๆ แม้จะผ่านหน้าจอก็ตาม😊

ครั้ง Mindset นั้น คุณกอล์ฟถามว่า “อะไร คือ จุด click ที่ทำให้เราสร้างพฤติกรรมใหม่ หรือนิสัยใหม่ที่เราไม่คุ้นชินให้เกิดขึ้น?”

Iceberg ภูเขาน้ำแข็ง • สิ่งที่เรามองเห็น (ส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำ) เกิดจากการขับเคลื่อนของฐานที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งประกอบด้วย:

🔵 ความรู้สึก / ความเชื่อ

🔵 คุณค่า

🔵 ความต้องการ / ความกลัว

🔵 Being หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า “ธาตุแท้” 😅

Mindset คือ ส่วนที่เป็นความรู้สึก ความเชื่อ และคุณค่าเป็นสำคัญ ถ้าเราค้นพบ/ใส่ใจ/เข้าใจส่วนด้านล่างของภูเขาน้ำแข็ง เราถึงจะปรับ Mindset ได้ >> แล้วถึงจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | Mindset จึงเป็นเรื่องที่ต้องค้นหา เพราะ Mindset แต่ละคนไม่เหมือนกัน

ครั้งนี้กลับมาเน้นย้ำ Timothy Gallwey’s Performance :

Performance = Potential – Interference

ผลการปฏิบัติงาน • เท่ากับ • ศักยภาพ • ลบ • ตัวกวน (หรือบางครั้งก็คือ “ข้ออ้าง” นั่นเอง

เราใช้ 3 ส่วนนี้ ในการผ่านเหตุการณ์ทั้งดีและไม่ดีของเรา แต่มันจะดีกว่าหรือไม่ หากเราไม่ต้องรอจนเกิดแรงบีบคั้นเสียก่อน เราถึงจะยอมทำ เช่น ไม่ต้องรอจนป่วยหนัก ถึงจะเริ่มดูแลสุขภาพหรือออกกำลังกาย😩

ตัวกวน (Interference) มีทั้งตัวกวนที่ควบคุมได้ เช่น ความขี้เกียจ ผัดวันประกันพรุ่ง ความเหนื่อย ใจร้อน ไม่มีแรงจูงใจ การตามใจตัวเอง การไม่เห็นความสำคัญ ฯลฯ เป็น Internal Factors และตัวกวนที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเจ็บป่วย สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพการจราจร เป็น External Factors รวมไปถึงการโทษคนอื่นมากกว่าโทษตัวเองด้วย!

ในองค์กรจึงต้องพยายามลดตัวกวนลงให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะดึงศักยภาพของมนุษย์ออกมาให้มากที่สุด ให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

เหตุการณ์ในชีวิตที่เราตั้งใจว่าจะทำ หรือเปลี่ยนนิสัยบางอย่าง เช่น จะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก / จะเล่นสมาร์ทโฟนให้น้อยลง / เลิกเหล้า บุหรี่ ฯลฯ เมื่อเราตระหนักรู้แล้ว ในขั้นต่อมาเราต้องแสวงหาองค์ความรู้ด้วย หาทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น อยากลดน้ำหนัก แต่ไม่ถนัดไม่ชอบออกกำลังกาย ก็อาจจะไปเน้นด้านการควบคุมอาหารเป็นหลัก ดูแลเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมกับตัวเอง คล้ายๆ กับ stages การสร้างทักษะให้กับตนเอง :

● Unconsciously unskilled – we don’t know that we don’t have this skill, or that we need to learn it.

● Consciously unskilled – we know that we don’t have this skill.

● Consciously skilled– we know that we have this skill.

● Unconsciously skilled – we don’t know that we have this skill, but we don’t focus on it because it’s so easy.

….ซึ่งไม่ควรกระโดดข้ามขั้น เช่น ทำไปโดยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วทำไปเพื่ออะไร? เป้าหมายคืออะไร? เพราะฉะนั้น ถ้ากระโดดข้ามขั้น Performance ที่ได้ อาจจะไม่เท่ากับ Potential คือ ไม่ใช่ศักยภาพที่แท้จริง!

การเพิ่ม Potential โดยที่ไม่รู้ Why? มันจะไม่ยั่งยืน การที่จะให้ Effective behaviors นั้นยั่งยืนได้ ต้องเล่นที่ตัวกวน (Interference) แล้วถ้าเป็นลูกๆ หรือนักเรียน เราก็ต้องหาแนวทางปฏิบัติที่เอื้อต่อองค์กรที่เราอยู่ด้วย ตกลงร่วมกันว่าจะใช้วิธีไหน? พูดง่ายๆ คือจะช่วยกันลดตัวกวนด้วยวิธีใด? เช่น ระหว่างการ Feedback หรือ Coaching

ความแตกต่างของ Feedback กับ Coaching อยู่ที่… ถ้าตัวเขายังไม่ได้ในสิ่งที่ควรจะได้/จะเป็น/จะมี (unexpected) ให้เริ่มจาก feedback ก่อน จะชื่นชม ส่งเสริม หรือ Corrective Feedback *ก็ได้* ฟีดแบ็กประเภทนี้ไม่ใช่การกล่าวโทษ แต่เป็นการชี้แจงในสิ่งที่คนถูกฟีดแบ็กทำผิด พร้อมแนะนำวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง

แต่ความท้าทายคือ เรารับการ feedback นั้นได้จริงหรือไม่? ในขณะที่ฝรั่งมองการ feedback เป็นธรรมชาติมากๆ ไม่มีอะไรติดค้างจริงๆ หลัง feedback จบ แต่เรายังมี culture แบบไทยๆ เจือปน!

ส่วนถ้าหากเราเห็นว่าเขามีต้นทุนอยู่แล้ว แต่อาจจะมีตัวกวนเล็กๆ น้อยๆ เช่น เขาแค่งอแง เขาไม่อยากโดนพูดเปรียบเทียบ อยากเรียกร้องความสนใจนิดๆ หน่อยๆ + เราต้องการยกระดับเขา ให้ใช้ coaching ขจัดตัวกวนพวกนั้นเสียก่อน

(จากครั้งที่แล้ว – คุณพ่อคุณแม่ต้องสามารถช่วยโค้ชลูกได้ ช่วยเขาค้นหาตัวกวน ตัวกวนบางอย่างเป็นข้อเท็จจริง แต่บางครั้งก็เป็นแค่ข้ออ้าง บางครั้งเราก็ชี้โทษทุกอย่างรอบตัว โทษเจ้านาย โทษระบบ โทษการบริหารจัดการ แต่ไม่เคยโทษตัวเอง ทั้งๆ ที่ตัวกวนอยู่ที่ตัวเรา เราควบคุมมันได้!)

Skill set ที่สำคัญต่องานในยุคนี้ที่องค์กรส่วนใหญ่ต้องการ คือ Collaboration ซึ่งเอาเข้าจริงๆ โรงเรียนจำนวนมาก ไม่ได้ฝึกทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง (บางองค์กร กำหนด collaboration เป็น KPIs ด้วยซ้ำ) เด็กรุ่นใหม่ยังคงมีความ “เก่งคนเดียว” อยู่มากจริงๆ แต่การทำงานร่วมกับผู้อื่น/ทำงานเป็นทีม กลับมีปัญหา!

คุณครูต้องช่วยมองหาศักยภาพที่แท้จริง / หาข้อดีของแต่ละคน / ชื่นชมในความสามารถ และกำหนดเป้าหมายของการทำงานเป็นทีมให้ชัด เช่น วัดผลสำเร็จของการทำงานร่วมกันด้วย นอกเหนือจากผลงาน อาจให้มีการเขียนเป็น success story ก็ได้ >> ถึงตรงนี้ บิวเลยนึกไปถึงการที่โรงเรียนชอบให้เด็กๆ เขียนเล่าประสบการณ์ “ความเพียรของฉันคือ….” “ความภาคภูมิใจของฉันคือ…” ต่อไปเราอาจต้องเพิ่ม “การทำงานร่วมกับผู้อื่น ส่วนที่ฉันทำได้ดีคือ….” “ฉันทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีโดย…”

อย่าลืมว่า… หากเปรียบครอบครัวเป็นเสมือนองค์กรหนึ่ง ระบบการบริหารจัดการภายในครอบครัวก็ต้องมีเช่นกัน เพื่อให้ลูกได้ปล่อยศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่ ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องมีการสร้างขวัญและกำลังใจ มีการให้รางวัลหรือคำชมเชย ที่สำคัญผู้นำต้องเปลี่ยนด้วย!

เราจะไม่เป็นพ่อแม่แบบ NATO: No Action, Talk Only นะคะ เพราะ Children are educated by what the grown-up is and not by his talk ค่ะ

ขอขอบคุณแขกรับเชิญ คุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์ ที่สละเวลามาร่วมแบ่งปันความรู้ให้ครอบครัวเพลินพัฒนา และขอขอบคุณแม่บิวที่สรุปการเรียนรู้ได้อย่างละเอียด ครบถ้วนให้พวกเราได้ติดตามอ่านอย่างสม่ำเสมอนะคะ🥰

โดย ส่วนสื่อสารองค์กร

ข้อมูล ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2564