จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
บันทึก : อยู่กับลูกวัยอนุบาลในช่วง COVID
วิทยากร: พญ. เบญจพร ตันตสูติ – หมอมิน จากเพจ…เข็นเด็กขึ้นภูเขา
Positive Parenting : โรงเรียนเพลินพัฒนา
Zoom Meeting : อังคารที่ 1 มิถุนายน 2564
เริ่มต้นจากดูพัฒนาการแต่ละช่วงวัยกันคร่าวๆ ก่อนนะคะ
>> เป็นวัยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ หากพ่อแม่ตอบสนอง ไม่ละเลย จะทำให้เกิดความไว้วางใจ (basic trust) มีความผูกพันกับผู้ดูแล
>> อารมณ์มั่นคง มองโลกในแง่ดี พร้อมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
>> เป็นวัยที่ต้องการรู้จักตัวเองมากขึ้น อยากรู้ว่าตัวเองสามารถทำอะไรได้ อยากทำอะไรเองทุกอย่าง เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมก็อาจเกิดพฤติกรรมร้องดิ้น อาละวาดได้ หากพ่อแม่ไม่บังคับมากเกินไป หรือไม่เพิกเฉยจนเกินไป
>> เด็กจะมี Autonomy (ฉันเป็นฉันเอง)
>> เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบเล่น แข่งขันเอาชนะ มีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อและภาษา หากเด็กได้รับการตอบสนองที่ดี เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นภายใต้กฎและกติกาที่เหมาะสม >> จะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การมีฝันและเป้าหมายของตนเอง
>> เป็นวัยที่คิดเชิงตรรกะมากขึ้น นึกถึงคนรอบข้างมากขึ้น แต่การเรียนและความคาดหวังจากผู้ใหญ่/พ่อแม่ บางครั้งอาจกดดันจนทำให้เด็กเครียด เพราะเด็กทุกคนอยากทำให้คนที่ตนเองรักพึงพอใจ
พัฒนาการทางระบบความคิดในเด็กเล็กอายุ 2-7 ปี ให้คุณพ่อคุณแม่เห็นภาพว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของเด็กวัยนี้
ชอบเล่นบทบาทสมมติ มีจินตนาการ (Imaginative Play)
ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric)
คิดว่าสิ่งของต่างๆ มีชีวิต (Animistic Thinking)
คิดว่าพ่อแม่สามารถดลบันดาลทุกอย่างได้ (Omnipotence)
ยังคิดเชิงเหตุผลไม่ได้ ทำได้คือการเชื่อมโยงเหตุการณ์ คิดว่าสิ่งนี้เกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เกิดก่อนหน้า (Phenominalistic Causality) เช่น ฝนตกเพราะกบมันร้อง
คิดว่าเรื่องไม่ดีต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเพราะตัวเขาเองทำอะไรผิดไป (Immanent Justice) เช่น หากแม่ป่วยเข้า รพ. เด็กจะคิดว่าเป็นเพราะตัวเขาหรือเปล่าที่ทำให้แม่ต้องเข้า รพ. เป็นต้น
จากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อทุกคน ไม่เว้นแม้แต่กับเด็กๆ แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเริ่มมีภาวะเครียด?
เด็กอาจจะแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าวขึ้น ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีปัญหาการกิน ปัสสาวะราด ฯลฯ
พัฒนาการถดถอย อะไรที่เคยทำได้ก็กลับทำไม่ได้ ติดและไม่ยอมแยกจากผู้ดูแลใกล้ชิด
ความเครียดอาจจะแสดงออกทางกายภาพ เช่น ปวดท้อง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน โดยไม่พบสาเหตุชัดเจน เมื่อ COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเด็ก ๆ …
พ่อแม่คงต้องพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกอย่างตรงไปตรงมา หากต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปจากเดิม ให้ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
อาจลองใช้พวก animation ที่ทำขึ้นมาเกี่ยวกับโควิดให้เด็กๆ ดูเพื่อทำความเข้าใจ แต่ควรให้ดูพอประมาณ ไม่ควรให้เด็กเล็กรับข่าวสารข้อมูลมากจนเกินพอดี
สร้างความคุ้นเคยกับเด็กในการทำอะไรใหม่ๆ เช่น การเรียนออนไลน์ การไม่ได้ออกไปเล่นกับเพื่อนข้างบ้าน ไม่ได้ออกไปเที่ยว การหากิจกรรมทดแทนเมื่อต้องอยู่ในบ้านมากขึ้น ฯลฯ
คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ เช่น เมื่อไรจะได้ไปโรงเรียน >> อาจตอบในเชิงว่า “แม่ก็ยังไม่รู้เหมือนกันลูก แต่ทุกฝ่ายจะพยายามช่วยกันทำทุกทางให้หนูได้กลับไปเรียนที่โรงเรียนนะ ลูก”
หากิจกรรมที่ทำร่วมกับเด็ก โดยให้มีช่วงเวลาคุณภาพที่ใช้ร่วมกัน! แปลว่า มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เล่นด้วยกัน สื่อสารกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟน!
จัดตารางเวลาทำกิจกรรมต่างๆ จะทำให้คุยกันง่ายขึ้น (ว่าเวลานี้เด็กๆ ควรทำอะไร) ให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย มีการออกกำลังกายด้วย
….เพราะจากเดิมที่เด็กๆ ได้ไปโรงเรียน ได้เล่นกับเพื่อนๆ ได้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากเด็กต้องเปลี่ยนมานั่งเรียนออนไลน์ + มีภาวะติดจอหรือใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป อาจส่งผลต่อร่างกายได้ เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ >> อารมณ์หงุดหงิดง่าย >> ร้องไห้งอแง >> สมาธิไม่ดี >> วงจรชีวิตเปลี่ยน >> ระบบการกินเปลี่ยน (อาจมีภาวะโรคอ้วน) ฯลฯ
นอกจากนี้ พ่อแม่ที่ต้องใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้น อาจเกิดภาวะเครียด อีกทั้งบางบ้านประสบปัญหาเศรษฐกิจ หนี้สิน พ่อแม่ทะเลาะกันเอง และ/หรือ พ่อแม่ทะเลาะกับลูก เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการหลั่งสารฮอร์โมนต่างๆ ระยะสั้นอาจส่งผลให้เครียด เบื่อ เซ็ง อารมณ์เปลี่ยนไป >> กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน หากดำเนินต่อไปในระยะยาว ในเด็กเล็กอาจทำให้สมองพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หรืออาจทำให้กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ ก็เป็นได้
เมื่อต้องใช้เวลาอยู่ร่วมกันมาก การกระทบกระทั่งย่อมเกิดขึ้นได้ หากพ่อแม่รู้สึกโกรธ จัดการความโกรธอย่างไร?
หายใจเข้า-ออก ลึกๆ ยาวๆ จะช่วยดึงสติไว้ก่อนที่จะพูด
ออกจากสถานการณ์ตรงหน้า หากมีพื้นที่ปลอดภัย เช่น สวนนอกบ้าน ขอเวลานอก 5-10 นาที
หากลูกเล็กร้องไห้ไม่หยุด เราสามารถปล่อยให้ลูกร้องอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยได้จนกว่าเขาจะสงบ อาจจะคอยเดินมาเช็คทุกๆ 5 นาที
อย่าคลายเครียดโดยใช้วิธีที่ไม่ถูกต้อง
หากโกรธหรือเครียดจนเกรงว่าอาจใช้ความรุนแรง ขอความช่วยเหลือให้คนในบ้านช่วยดูแลลูกแทนสักพักหนึ่งจนกว่าเราจะสงบใจถ้าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ดี…
ไม่ตำหนิที่ตัวตนของเขา ไม่ประชด ไม่เปรียบเทียบและตีตรา
บอกถึงพฤติกรรมไม่ดีที่เด็กทำนั้นว่า..เรารู้สึกเป็นห่วงเขาในเรื่องนี้อย่างไร
หยุดหรือเบี่ยงเบนความสนใจเขาให้ทันก่อนที่พฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นจะเกิดขึ้น เช่น ถ้าเรารู้ว่าจังหวะนี้ลูกเริ่มจะอารมณ์ไม่ดี และกำลังจะทำพฤติกรรมนั้น เราชิงพูดหันเหความสนใจไปเรื่องอื่น หรือชวนลูกทำกิจกรรมอย่างอื่นเสียก่อน เป็นต้น
อ่านหนังสือด้วยกัน
วาดรูป ระบายสี
ร้องเพลง เต้นรำ
ทำงานบ้าน ทำอาหาร
ทำกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกับลูก
โดย ส่วนสื่อสารองค์กร
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2564