“รุ่มรวย ร่องรอย ร้อยเรียง เรียนรู้”  ชื่นใจครูเพลิน ครั้งที่ 25

ในช่วงเวลาปิดภาคเรียนของเด็กๆ คือช่วงเวลาสำคัญในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาตนเองของคุณครู งานมหกรรม KM  หรือ ชื่นใจได้เรียนรู้ภาคครูเพลิน ครั้งที่ 25 นี้ มี Theme งานชื่อว่า “รุ่มรวย ร่องรอย ร้อยเรียง เรียนรู้” ตลอดปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา คุณครูและทีมครูเกิดการเรียนรู้มากมายจากการปฏิบัติบนหน้างานจริง รวมทั้งการเรียนรู้ต่างๆนั้นมีเครื่องมือที่ช่วยจัดระเบียบ และจัดเก็บอย่างเป็นระบบผ่านการทำงานวิจัยชั้นเรียน (Lesson Research – LR)  ทำให้ร่องรอยความรู้ปฏิบัติเหล่านั้นปรากฏชัดออกมาเป็นจำนวนมาก ฝ่ายสนับสนุนคุณภาพการศึกษาจึงนำข้อมูลการเรียนรู้จากการปฏิบัติเหล่านั้นมาร้อยเรียงและสะท้อนกลับเพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจต่องานที่คุณครูได้ทำ รวมทั้งขยายผลความสำเร็จไปสู่ตัวครูเจ้าของผลงานและเพื่อนครูทุกคน

เป้าหมายการใช้เครื่องมือแบบบันทึกการเรียนรู้ (learning log)

แบบฝึก quiz  สนับสนุนการทำ Assessment as Learning –  AaLอย่างไร


เวลาคุณครูต้องทำการสอน ก็จะต้องมีแผนการสอนที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เมื่อแผนการสอนทำหน้าที่ช่วยกำกับให้คุณครูผู้สอนเอื้ออำนวยให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ดังนั้น

ดังนั้น learning log ทำหน้าที่ร่วมกับแผนการสอนช่วยกำกับให้นักเรียน สามารถเป็นเจ้าของการเรียนรู้ และสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจาก ภายใน learning log ประกอบด้วยเป้าหมายการเรียนรู้ ความรู้ การประเมินความรู้ และความคิดของตนเอง

จึงเป็นตัวช่วยให้นักเรียนกำกับการเรียนรู้ของตนเองให้บรรลุเป้าหมายได้  และจะต้องมั่นใจว่าแผนนั้นจะทำให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ได้

Quiz เป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน และ แบบฝึกหัด ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป และเสริมความพร้อมในการเรียนรู้เรื่องใหม่ เนื่องจากการเรียนรู้ของมนุษย์มีลักษณะการเรียนรู้ เหมือนกับการเย็บด้นถอยหลัง เมื่อนักเรียนเรียนในชั้นเรียนร่วมกับ Learning Log และ Quiz แล้ว นักเรียนจะทำแบบฝึกนอกชั้นเรียนซึ่งก็จะได้ความรู้ หรือทักษะ ที่จะใช้ในการเรียนครั้งต่อไปด้วย ซึ่งจะเกิดวงจรการปักร้อยความรู้ด้วยการเย็บด้นถอยหลังไปตลอดปีการศึกษา

การออกแบบ learning log จะออกแบบให้ทำงานร่วมกับแบบฝึกและquiz รวมทั้งมีคำถามและพื้นที่ให้นักเรียนบันทึกความรู้ ความคิด และประเมินการเรียนรู้ของตนเอง ทำให้นักเรียนได้มองเห็นการเรียนรู้ของตนเองซึ่งจะนำไปสู่การกำกับ ประเมิน ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นตลอดการเรียนรู้ในชั้นเรียนร่วมกับการใช้ Learning Log และ Quiz รวมถึงการทำแบบฝึกนอกเวลา  นักเรียนจะได้ฝึก Metacognition และพัฒนา Construction ของตนเอง

แรงบันดาลใจสำคัญที่ได้รับจากคุณครูใหม่ – คุณครูวิมลศรี ศุษิลวรณ์ ผู้วางรากฐานงาน KM ของโรงเรียน


“ครูใหม่” สื่อสารผ่านข้อความ / คำถาม ไว้กับคุณครูแสนภาษา ทำให้คุณครูเกิดแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนกระบวนวิธีในการสอนที่เริ่มจากการปรับเปลี่ยน วิธีคิดของตนเอง

ตนเอง ซึ่งหากคุณครูหน่วยประสบการณ์อื่นลองใช้คำถามนี้ทบทวนกับตัวเอง หรือลองอ่าน Quote ของคุณครูใหม่แล้วแปลงมาเป็นคำถามว่า “แล้วนสาระวิชาของเราคืออะไร”  ก็อาจเกิดแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อนักเรียนแบบคุณครูแสนภาษา

ตัวอย่างคำถาม และ Quote “แล้วครูจะเข้าถึงการสอนศิลปะได้อย่างไร” 

“ชวนให้เด็กๆ ได้มีช่วงเวลาของการละเมียดละไมไปกับเส้นสาย รูปทรง และสีสัน”  

“การเปิดโอกาสให้เด็กๆได้ร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่อภาพผลงานศิลปะอย่างอิสระร่วมกันในชั้นเรียน เป็นกลวิธีที่สร้างการรับรู้ ความงามสุนทรียสัมผัสและเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงานของตนเอง”

การไหลเวียนความรู้ก่อเกิดผลลัพธ์อย่างไร


เพลินพัฒนามีการจัดช่วงเวลาในการทำงานให้เกิดการไหลเวียนความรู้อยู่แล้วเป็นปกติ งานมหกรรม KM ก็เป็นพื้นที่ไหลเวียนความรู้ขนาดใหญ่พื้นที่หนึ่งเช่นเดียวกันซึ่งจะเป็นความรู้ปฏิบัติที่ตกผลึกแล้ว เป็นความรู้รวบยอดสำคัญ แต่จะเกิดขึ้นเพียงปีละสองครั้งซึ่งอาจจะไม่ทันท่วงทีในการปรับปรุงหรือพัฒนางาน ในขณะทำงานเองก็มีการไหลเวียนความรู้ระดับคู่บัดดี้ ระดับทีมหน่วยประสบการณ์และช่วงชั้นเดียวกัน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ ครูและทีมครูได้ความรู้จากการปฏิบัติของเพื่อนที่อยู่ในบริบทเดียวกัน อยู่ในสาระใกล้ๆกัน ทำให้ครูและทีมครูสามารถปรับปรุงคุณภาพงานได้ตรงและเร็วมากกว่าทำเองคนเดียว แต่เป็นเพียงภายในช่วงชั้น และในสาระเดียวกัน ในปีการศึกษา 2566 นี้ มีวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็นการแลกเปลี่ยนข้ามสาระ และข้ามช่วงชั้น คือ ทีมคณิศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2  ทีมภูมิปัญญาภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 และ 2   ซึ่งมีเงื่อนไข และความต่างที่มากขึ้น

แต่อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมและระบบเดียวกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการปรับปรุงคุณภาพงานได้ตรงและเร็วมากกว่าทำเองคนเดียวแล้ว  ยังได้รับมุมมองที่แตกต่าง หลากหลาย ได้รับพลังงานใหม่ๆ จากเพื่อนครูต่างสาระวิชา มีเพื่อนช่วยร่วมคิดแก้ปัญหามากขึ้น

ในบางครั้งอยู่ในบริบทเดียวกันนานๆ อาจมองไม่เห็นวิธีที่แตกต่าง แต่ถ้ามีอีกสายตาที่อยู่คนละบริบทเข้ามาช่วยมองก็ช่วยให้มีแนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งกำลังใจและพลังที่จะช่วยนำพากันและกันบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

การทำ LR  OLEและ KLR ให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีหลักการอย่างไร และให้ประโยชน์อย่างไร


( LR – Lesson Research  / OLE – Objective Learning Evaluation / KLR – Knowledge Management Lesson Research )

หน้างานปกติของคุณครูคือการทำงานในระบบ OLE และ PLC ซึ่งระบบ OLE หมายถึงการทำงานใน ระบบหลักสูตร การนำหลักสูตรสู่การเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล ส่วนการทำงานในระบบ PLC คือ การทำ LR และ KLR ซึ่งการทำ LR  คือกาทำวิจัยชั้นเรียนมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง และพัฒนางานในระบบ OLE และการประชุม KLR มีวาระหลักคือการแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา LR

ดังนั้นหลักการสำคัญในการทำให้ OLE LR และ KLR เป็นเนื้อเดียวกัน คือ

  1. นำเป้าหมายของหลักสูตรและเป้าหมายของ QA (Zero Defect at first) มาสร้างขึ้นเป็นเป้าหมายและตัวแปรตามของ LR
  2. นำปรัชญา หลักการ แนวทางของหลักสูตร และ “Input” ต่างๆที่กำหนดอยู่ในหลักสูตรมาเป็นแนวทางในการสร้างสมมติฐานและตัวแปรต้นของ LR
  3. พัฒนาหลักการ แนวทางและเครื่องมือการวัดและประเมินผลของระบบ OLE ให้เป็นเครื่องมือเก็บผลสะท้อนกลับของ LR

เมื่อครูทำ LR ตามหลักการสำคัญที่กำหนด ช่วยให้มีเป้าหมายชัดในการปรับปรุงและพัฒนางาน การทำวิจัยชั้นเรียนไม่ใช่งานเพิ่มแต่เป็นงานที่ช่วยสนับสนุนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ OLE อย่างเป็นระบบเพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร นอกจากนี้ยังได้ความรู้ปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักสูตร และในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวง KLR ก็พุ่งตรงไปที่งาน LR ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาตนเองและทีมให้ยกระดับอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
———————
* ความหมายเพิ่มเติม
ระบบ OLE ในที่นี้ หมายถึง ระบบของหลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลที่ทำงานสอดคล้องและยึดโยงกันเป็นวงจรเรียนรู้และพัฒนาที่ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในที่นี้ O = Objective หมายถึงหลักสูตรและองค์ประกอบของหลักสูตรทั้งหมด เช่น โครงสร้างหลักสูตร ประมวลการจัดการเรียนรู้รายภาคเรียน แผนการจัดการเรียนรู้รายครั้ง สื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์และทรัพยากรในการเรียนรู้ ชุดความรู้ แบบฝึก คู่มือครู ฯลฯ    L = Learning หมายถึงการนำหลักสูตรสู่การจัดการเรียนการสอน    E = Evaluation หมายถึงการวัดและประเมินผล

บทความโดย

นางสาว  กุลธิรัตน์ พันธ์สิริเดช (ครูหนู) 

หัวหน้าแผนกติดตาม สะท้อน สนับสนุน QM2

โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2567