เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567
เปิดหมวก #1 มหกรรมดนตรีและศิลปะ2567เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานเล่น โรงเรียนเพลินพัฒนา “IN OUR DREAM” ของนักเรียนชั้น 9
ในช่วงเวลาปิดภาคเรียนของเด็กๆ คือช่วงเวลาสำคัญในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาตนเองของคุณครู งานมหกรรม KM หรือ ชื่นใจได้เรียนรู้ภาคครูเพลิน ครั้งที่ 25 นี้ มี Theme งานชื่อว่า “รุ่มรวย ร่องรอย ร้อยเรียง เรียนรู้” ตลอดปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา คุณครูและทีมครูเกิดการเรียนรู้มากมายจากการปฏิบัติบนหน้างานจริง รวมทั้งการเรียนรู้ต่างๆนั้นมีเครื่องมือที่ช่วยจัดระเบียบ และจัดเก็บอย่างเป็นระบบผ่านการทำงานวิจัยชั้นเรียน (Lesson Research – LR) ทำให้ร่องรอยความรู้ปฏิบัติเหล่านั้นปรากฏชัดออกมาเป็นจำนวนมาก ฝ่ายสนับสนุนคุณภาพการศึกษาจึงนำข้อมูลการเรียนรู้จากการปฏิบัติเหล่านั้นมาร้อยเรียงและสะท้อนกลับเพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจต่องานที่คุณครูได้ทำ รวมทั้งขยายผลความสำเร็จไปสู่ตัวครูเจ้าของผลงานและเพื่อนครูทุกคน
เวลาคุณครูต้องทำการสอน ก็จะต้องมีแผนการสอนที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เมื่อแผนการสอนทำหน้าที่ช่วยกำกับให้คุณครูผู้สอนเอื้ออำนวยให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ดังนั้น
จึงเป็นตัวช่วยให้นักเรียนกำกับการเรียนรู้ของตนเองให้บรรลุเป้าหมายได้ และจะต้องมั่นใจว่าแผนนั้นจะทำให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ได้
Quiz เป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน และ แบบฝึกหัด ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป และเสริมความพร้อมในการเรียนรู้เรื่องใหม่ เนื่องจากการเรียนรู้ของมนุษย์มีลักษณะการเรียนรู้ เหมือนกับการเย็บด้นถอยหลัง เมื่อนักเรียนเรียนในชั้นเรียนร่วมกับ Learning Log และ Quiz แล้ว นักเรียนจะทำแบบฝึกนอกชั้นเรียนซึ่งก็จะได้ความรู้ หรือทักษะ ที่จะใช้ในการเรียนครั้งต่อไปด้วย ซึ่งจะเกิดวงจรการปักร้อยความรู้ด้วยการเย็บด้นถอยหลังไปตลอดปีการศึกษา
การออกแบบ learning log จะออกแบบให้ทำงานร่วมกับแบบฝึกและquiz รวมทั้งมีคำถามและพื้นที่ให้นักเรียนบันทึกความรู้ ความคิด และประเมินการเรียนรู้ของตนเอง ทำให้นักเรียนได้มองเห็นการเรียนรู้ของตนเองซึ่งจะนำไปสู่การกำกับ ประเมิน ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นตลอดการเรียนรู้ในชั้นเรียนร่วมกับการใช้ Learning Log และ Quiz รวมถึงการทำแบบฝึกนอกเวลา นักเรียนจะได้ฝึก Metacognition และพัฒนา Construction ของตนเอง
ตนเอง ซึ่งหากคุณครูหน่วยประสบการณ์อื่นลองใช้คำถามนี้ทบทวนกับตัวเอง หรือลองอ่าน Quote ของคุณครูใหม่แล้วแปลงมาเป็นคำถามว่า “แล้วนสาระวิชาของเราคืออะไร” ก็อาจเกิดแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อนักเรียนแบบคุณครูแสนภาษา
ตัวอย่างคำถาม และ Quote “แล้วครูจะเข้าถึงการสอนศิลปะได้อย่างไร”
“ชวนให้เด็กๆ ได้มีช่วงเวลาของการละเมียดละไมไปกับเส้นสาย รูปทรง และสีสัน”
“การเปิดโอกาสให้เด็กๆได้ร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่อภาพผลงานศิลปะอย่างอิสระร่วมกันในชั้นเรียน เป็นกลวิธีที่สร้างการรับรู้ ความงามสุนทรียสัมผัสและเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงานของตนเอง”
เพลินพัฒนามีการจัดช่วงเวลาในการทำงานให้เกิดการไหลเวียนความรู้อยู่แล้วเป็นปกติ งานมหกรรม KM ก็เป็นพื้นที่ไหลเวียนความรู้ขนาดใหญ่พื้นที่หนึ่งเช่นเดียวกันซึ่งจะเป็นความรู้ปฏิบัติที่ตกผลึกแล้ว เป็นความรู้รวบยอดสำคัญ แต่จะเกิดขึ้นเพียงปีละสองครั้งซึ่งอาจจะไม่ทันท่วงทีในการปรับปรุงหรือพัฒนางาน ในขณะทำงานเองก็มีการไหลเวียนความรู้ระดับคู่บัดดี้ ระดับทีมหน่วยประสบการณ์และช่วงชั้นเดียวกัน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ ครูและทีมครูได้ความรู้จากการปฏิบัติของเพื่อนที่อยู่ในบริบทเดียวกัน อยู่ในสาระใกล้ๆกัน ทำให้ครูและทีมครูสามารถปรับปรุงคุณภาพงานได้ตรงและเร็วมากกว่าทำเองคนเดียว แต่เป็นเพียงภายในช่วงชั้น และในสาระเดียวกัน ในปีการศึกษา 2566 นี้ มีวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็นการแลกเปลี่ยนข้ามสาระ และข้ามช่วงชั้น คือ ทีมคณิศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ทีมภูมิปัญญาภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 ซึ่งมีเงื่อนไข และความต่างที่มากขึ้น
ในบางครั้งอยู่ในบริบทเดียวกันนานๆ อาจมองไม่เห็นวิธีที่แตกต่าง แต่ถ้ามีอีกสายตาที่อยู่คนละบริบทเข้ามาช่วยมองก็ช่วยให้มีแนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งกำลังใจและพลังที่จะช่วยนำพากันและกันบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
( LR – Lesson Research / OLE – Objective Learning Evaluation / KLR – Knowledge Management Lesson Research )
หน้างานปกติของคุณครูคือการทำงานในระบบ OLE และ PLC ซึ่งระบบ OLE หมายถึงการทำงานใน ระบบหลักสูตร การนำหลักสูตรสู่การเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล ส่วนการทำงานในระบบ PLC คือ การทำ LR และ KLR ซึ่งการทำ LR คือกาทำวิจัยชั้นเรียนมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง และพัฒนางานในระบบ OLE และการประชุม KLR มีวาระหลักคือการแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา LR
ดังนั้นหลักการสำคัญในการทำให้ OLE LR และ KLR เป็นเนื้อเดียวกัน คือ
เมื่อครูทำ LR ตามหลักการสำคัญที่กำหนด ช่วยให้มีเป้าหมายชัดในการปรับปรุงและพัฒนางาน การทำวิจัยชั้นเรียนไม่ใช่งานเพิ่มแต่เป็นงานที่ช่วยสนับสนุนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ OLE อย่างเป็นระบบเพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร นอกจากนี้ยังได้ความรู้ปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักสูตร และในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวง KLR ก็พุ่งตรงไปที่งาน LR ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาตนเองและทีมให้ยกระดับอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
———————
* ความหมายเพิ่มเติม
ระบบ OLE ในที่นี้ หมายถึง ระบบของหลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลที่ทำงานสอดคล้องและยึดโยงกันเป็นวงจรเรียนรู้และพัฒนาที่ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในที่นี้ O = Objective หมายถึงหลักสูตรและองค์ประกอบของหลักสูตรทั้งหมด เช่น โครงสร้างหลักสูตร ประมวลการจัดการเรียนรู้รายภาคเรียน แผนการจัดการเรียนรู้รายครั้ง สื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์และทรัพยากรในการเรียนรู้ ชุดความรู้ แบบฝึก คู่มือครู ฯลฯ L = Learning หมายถึงการนำหลักสูตรสู่การจัดการเรียนการสอน E = Evaluation หมายถึงการวัดและประเมินผล
บทความโดย
นางสาว กุลธิรัตน์ พันธ์สิริเดช (ครูหนู)
หัวหน้าแผนกติดตาม สะท้อน สนับสนุน QM2
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2567