จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
การเรียนรู้ของเด็กๆ ชั้นอนุบาล 3 ในภาคเรียนนี้ คุณครูให้ทบทวนถึงประโยชน์ของข้าวและเมนูอาหารที่เด็กๆได้ลงมือทำ พร้อมเล่นเกม “ทายภาพอาหาร” และคาดเดาว่าอาหารนี้มาจากภาคใด โจทย์ถัดไปคุณครูให้เด็กๆ สำรวจสมาชิกในบ้านว่าเป็นคนจังหวัดไหนกันบ้างก่อนบันทึกลงใบงาน จากนั้นนำข้อมูลมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนหาคำตอบว่าจังหวัดนี้อยู่ส่วนไหนของประเทศไทย
คือสมาชิกในบ้านคนสำคัญที่ใกล้ชิดกับหลานตัวน้อย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะชวนท่านมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตวัยเยาว์ ภูมิลำเนาของแต่ละท่านให้เด็กๆ ได้ฟัง
ซึ่งล้วนแล้วแต่มีบ้านเกิดอยู่ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง เด็กๆจึงได้รับความรู้ในหลากหลายแง่มุมทั้งการใช้ชีวิตประจำวันในสมัยนั้น การเล่นในวัยเด็ก ประเพณีต่างๆ อาหาร ภาษา วัฒธรรม ความเชื่อ ฯลฯ
โดยเรื่องราวและกิจกรรมต่างๆ ที่เด็กๆได้ฟัง ได้รู้ ได้ลอง เป็นเหมือนสะพานเชื่อมให้ปู่ย่าตายายและหลานตัวน้อยได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น อีกทั้งเด็กๆยังได้ซึมซับวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่การเรียนรู้ในภาควิมังสานี้ด้วย
ขอขอบคุณ “ปู่ย่าตายาย รวมถึงคุณพ่อ” ที่สละเวลามาสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ ชั้นอนุบาล 3 ดังนี้
วิทยากร อ.3/1 (ภาคใต้)
คุณยายกฤษณา วิเชียรไชย (ยายมาดี)
คุณย่าสุจินต์ มละโยธา (ย่าจัง)
วิทยากร อ.3/2 (ภาคเหนือ)
นพ.ทรงยศ ชัยชนะ (ปู่ดีน)
นาง สายสุนีย์ ชัยชนะ (ย่าดีน)
นาย คนันท์ ชัยชนะ (พ่อดีน)
วิทยากร อ.3/3 (ภาคกลาง)
คุณยายวันเพ็ญ จุลิกพงศ์ (ย่าปุญ)
คุณยายศรีบังอร จุ้ยศิริ (ยายแจ็ค)
วิทยากร อ.3/4 (ภาคใต้)
นายจือจ่าย แซ่หือ(ตาฟอง)
นางอาม้วย แซ่หือ(ยายฟอง)
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566