จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
พานักเรียนไปเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาไทยพร้อมกับภูมิปัญญาขนมไทยผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนได้ใช้พหุประสาทสัมผัสก่อเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
แผนการเรียนการสอนที่ต่อเนื่องจาก “ชิมรสรัก ฟูมฟักไข่” ซึ่งนักเรียนจำลองตัวเองเป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกน้อย(ไข่เป็ด) ระหว่างเรียนอย่างทะนุถนอม จนอยู่รอดปลอดภัยแล้วนำไข่มาสร้างสรรค์ให้งอกงามด้วยความตั้งใจ ใส่ใจ ด้วยจิตที่ประณีตให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่ามากขึ้น ผ่านการทำขนมมงคลชนิดหนึ่งคือ
ครูนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ทำทองหยอดมาแนะนำให้นักเรียนรู้จักพร้อมกับอธิบายและสาธิตวิธีการทำทองหยอดเบื้องต้น ให้นักเรียนช่วยกันทำในขั้นเตรียมส่วนผสม จากนั้นนักเรียนไปนั่งเป็นวงกลมล้อมรอบกระทะทองเหลืองซึ่งวางอยู่บนเตาถ่านกำลังร้อนได้ที่ แล้วร่วมกันหยอดขนมลงในน้ำเชื่อมอย่างประณีต เมื่อขนมสุกค่อยๆ ตักขึ้นมาแช่น้ำเชื่อมพักไว้ จัดใส่จานพร้อมทาน
เมื่อได้ทองหยอดจากฝีมือของนักเรียนแล้ว ให้ส่งจานต่อกัน หยิบทองหยอดคนละ 1 ลูก ค่อยๆ ลิ้มรสทองหยอดพร้อมกัน โดย ดู จับ ดม ชิมทั้งรสชาติและกลิ่น กลืน.. จากนั้นใช้ปฏิภาณไหวพริบคิดคลังคำเกี่ยวกับทองหยอดให้ได้หลากหลายและมากที่สุดตั้งแต่กระบวนเริ่มต้นทำจนถึงชิมลิ้มรสอย่างว่องไว ไม่ให้คำซ้ำกัน
นักเรียนเรียนรู้ผ่านการใช้พหุประสาทสัมผัสด้วยตนเองแล้ว ครูให้โจทย์ท้าทายมากขึ้น : ใช้ภูมิปัญญาทางภาษาไทยมาออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงาน ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากทองหยอด ในรูปแบบใดก็ได้ตามความสนใจ และต้องนำคลังคำเกี่ยวกับทองหยอดจากการแลกเปลี่ยนร่วมกัน มาใช้ในการทำชิ้นงาน
ขอบคุณเรื่องเล่าจากคุณครูนินฤนาท นาคบุญช่วย(ครูกิ๊ก) ค่ะ
ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2563