จากบ้านเล็กสู่บ้านใหญ่
เปิดการเรียนรู้ จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเพลินพัฒนา อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข ที่นำพาให้รู้ถึงเจตนารมณ์ ความสำคัญของสัญลักษณ์ 9 พอดี
คณะผู้บริหารและอาจารย์ ‘โครงการเด็กดีของแผ่นดิน’ เยี่ยมชมโรงเรียนเพลินพัฒนา เมื่อวันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2566 ซึ่งประกอบด้วยคณะจาก
1. มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน
2. โรงเรียนวัดพระเชตุพน
3. โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
4. โรงเรียนภารตวิทยาลัย
6. โรงเรียนวัดมหรรณภาราม
7. โรงเรียนวัดมหาธาตุ
8. โรงเรียนวัดราชนัดดา
9. โรงเรียนวัดราชบูรณะ
10. โรงเรียนวัดสุทัศน์
11. โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
12. โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
13. โรงเรียนวัดปรินายก
รวมถึงผู้แทนผู้อำนวยการเขต รวมทั้งสิ้น 30 ท่าน ได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนเพลินพัฒนา รับฟังการบรรยายในหัวข้อแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวทางการเป็นโค้ช รวมถึงได้ร่วมเข้าสังเกตชั้นเรียนวิชาโครงงานวิจัยประจำภาคเรียนด้วย
ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ เปิดห้องเรียนโครงงานวิจัยฯ ตั้งแต่ระดับชั้น 4 – ชั้น 6 ให้คุณครูได้ร่วมเรียนรู้
ฟังการบรรยาย และ ร่วมสังเกตชั้นเรียน
โดยปกติแล้วขณะที่มีการสังเกตการเรียนการสอน คุณครูที่เข้าร่วมสังเกตการณ์จะไม่รบกวน หรือตั้งคำถามกับนักเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างลื่นไหลโดยคุณครูผู้สอนจะทำหน้าที่ “โค้ช” นักเรียนเป็นรายบุคคล ผู้ร่วมสังเกตการณ์สามารถให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ผ่านครูผู้สอนในคาบเรียนหรือนอกรอบได้
การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้คุณครูจะใช้การตั้งคำถามชวนคิด โดยเริ่มต้นจากง่าย ค่อยๆ ไต่ระดับไปสู่คำถามที่ยากขึ้น จากนั้นจึงชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประมวลสรุป ก่อนออกมาเป็นแนวคิดการเรึยนรู้ สำหรับการตั้งคำถามเพื่อการโค้ชคุณครูจะไม่ตัดสินว่าสิ่งที่นักเรียนสะท้อนนั้นถูกหรือผิด แต่จะใช้การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในห้องเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลในการแสวงหาคำตอบที่ถูกต้อง
ผลงานของนักเรียนในชั้นเรียนจึงเป็นเสมือน “ครูของครู” และยังเป็น”ครูของเด็กๆ” โดยคุณครูจะหยิบยกงานของนักเรียนมาร่วมแลกเปลี่ยนให้เพื่อนได้สังเกตเห็นการเรียนรู้โดยภาพรวมของห้องเรียน
รวมความประทับใจและคำชี้แนะอันมีค่า
สิ่งที่คณะศึกษาดูงานได้สะท้อน เป็นมุมมองที่สร้างการเรียนรู้แก่คุณครูได้ไม่น้อย ในหลายครั้งคุณครูไม่ได้เป็นเพียงผู้สอนเท่านั้น แต่ผู้เป็นครูสามารถเรียนรู้แง่มุมใหม่ๆ จากนักเรียนได้ จากการให้อิสระกับเด็กในการตั้งคำถาม และเรียนรู้จากคำถามที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ตามหาเหตุและผล นำมาสู่กระบวนการคิดที่แก้ปัญหาของคำถามเหล่านั้น สิ่งสำคัญต่อมาคุณครูมีการสร้างสรรค์สื่อการสอนที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนสามารถเห็นภาพได้ชัดเจน โดยร่วมกันทดสอบ ทดลอง และสะท้อนแผนการสอนก่อนนำมาใช้ในห้องเรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เช่นเดียวกันกับการเรียนรู้ในห้องเรียนในขั้นตอนสุดท้ายคือการสรุปสาระสำคัญ และสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ คณะผู้บริหารและอาจารย์ ‘โครงการเด็กดีของแผ่นดิน’ ได้ร่วมสะท้อนความรู้ใหม่ที่ได้รับบางส่วนเพื่อนำไปปรับใช้ในโรงเรียนของตน รวมถึงได้กล่าวชื่นชมโรงเรียนเพลินพัฒนาไว้ ดังนี้
“จากการเรียนรู้เรื่องกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาโครงงานวิจัย ได้เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนของการ check-in โดยให้เด็กๆ เขียนผังเหตุผล ทำให้เด็กมีกระบวนการคิดและแยกแยะได้อย่างดี และมีการบอกเป้าหมายที่ต้องการก่อนเรียน ขอชื่นชมคุณครูผู้สอนที่จัดการชั้นเรียนได้เยี่ยมค่ะ ”
“การจัดการเรียนรู้ที่นี่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทุกอย่าง ทั้ง active learning ส่งเสริมกระบวนการคิด การให้นักเรียนมีส่วนร่วม และเน้นการลงมือทำ แม้บริบทและปัจจัยหลายส่วนของทางโรงเรียนเพลินพัฒนา กับโรงเรียนที่สอนอยู่ จะต่างกัน แต่จะพยายามนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ”
“จากที่เห็น คุณครูที่นี่ active และมีความเป็น expert ครูต้องเตรียมในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ส่วนเด็กๆ เองก็มีความน่ารัก สามารถควบคุมตนเองได้ในชั้นเรียน ไม่วุ่นวาย และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอย่างดี”
“ขอชื่นชมที่คุณครูมีการทำสื่อการสอนที่เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ เด็กสามารถเรียนรู้จากสื่อได้ชัดเจนและสอดคล้องกับเนื้อหาซึ่งช่วยทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย ตอบคำถามได้ตามความเข้าใจของตนเอง เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ”
“จุดเด่นอีกเรื่องคือ เรื่องของการแสดงความคิดเห็นภายในห้องเรียน คุณครูรอคอยคำตอบจากนักเรียน และเปิดรับความคิดเห็นที่หลากหลายของนักเรียน คุณครูพยายามให้เด็กได้พูดและมีส่วนร่วมตลอดการเรียนการสอน”“ขอชื่นชมที่คุณครูมีการทำสื่อการสอนที่เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ เด็กสามารถเรียนรู้จากสื่อได้ชัดเจนและสอดคล้องกับเนื้อหาซึ่งช่วยทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย ตอบคำถามได้ตามความเข้าใจของตนเอง เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ”
“ในมุมมองฐานะผู้สอนเหมือนกัน สังเกตได้ว่า คุณครูของโรงเรียนเพลินเป็นนักตั้งคำถามและเป็นโค้ช ซึ่งช่วยกระตุ้นความคิดของเด็กๆ ในทุกขั้นตอน ไม่ว่าคำตอบของเด็กจะถูกต้องมากน้อยแค่ไหน คุณครูก็จะคอยให้ข้อมูลเสริม หรือเกิดการถามต่อยอดต่อไป ซึ่งการตั้งคำถามและเกิดการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของเด็กๆ เป็นเหมือนเอกลักษณ์ของโรงเรียนเพลินพัฒนา”
การเยี่ยมชมเพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาในวันนี้ พาชวนให้ระลึกถึงคำกล่าวของ ศ.นพ. ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ที่กล่าวไว้ว่า
“การแยกส่วน คือ การแยกว่าชีวิตก็อย่างหนึ่ง การศึกษาก็อย่างหนึ่ง การศึกษาแยกไปเอาวิชาเป็นตัวตั้ง แต่แท้จริงแล้ว ชีวิตกับการศึกษาอยู่ที่เดียวกัน นั่นคือ ‘ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต’”
ดังที่โรงเรียนเพลินพัฒนาได้ร่วมแบ่งปัน ให้เห็นว่า การเรียนรู้นั้น อยู่ในทุกสิ่งรอบตัวและอยู่ในทุกช่วงเวลาของชีวิตเด็กหนึ่งคน และร่วมส่งต่อ สานต่อเจตคติ
โดย ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2566